เวชกรรมไทย๑๑: ปรัชญาพื้นฐานเวชกรรมไทย


ปรัชญาพื้นฐานของเวชกรรมไทย
การแพทย์แผนไทยมีความเป็นศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์(Sciences) อธิบายด้วยหลักเหตุผลและความเชื่อมโยงส่งผลซึ่งกันและกัน การแพทย์แผนปัจจุบัน(Western medicine) อธิบายด้วยหลักทางกายวิภาคอธิบายโครงสร้างลักษณะอวัยวะ (Anatomy) สรีรวิทยาอธิบายหน้าที่การทำงานของอวัยวะ(Physiology) ชีวเคมีอธิบายปฏิกริยาเคมีกลไกการสันดาปและการทำงานระดับเซล(Biochemistry) พยาธิวิทยาอธิบายพยาธิสภาพ/พยาธิกำเนิด (Pathogenesis) และกลไกการเกิดโรค(Pathology) ขณะที่การแพทย์แผนไทย(Thai traditional medicine) เรามีเรื่องธาตุที่ประกอบกันเป็นเบญจมหาภูตรูป(Body)และนาม/Mind (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)เป็นร่างกายมนุษย์ที่สมบูรณ์เรียกว่า เบญจขันธ์ (Human being) เป็นเหมือนกายวิภาค เรียนรู้การทำงานของธาตุ ๔ เป็นเหมือนสรีรวิทยา เรียนรู้การขับเคลื่อนการทำงานภายในของธาตุแต่ละธาตุคือตรีธาตุเป็นเหมือนชีวเคมี และเรียนรู้ความวิปริตแปรปรวนของธาตุและตรีธาตุ(ระบบปิตตะ ระบบวาตะ ระบบเสมหะ)ทำให้เกิดโรคหรือพยาธิสภาพ(Disease)ขึ้นมาจากกำเริบ/หย่อน/พิการเป็นสมุฏฐานวินิจฉัย(พยาธิกำเนิด)เหมือนเรียนพยาธิวิทยา ในขณะที่ธาตุแต่ละธาตุก็แสดงคุณสมบัติเป็นสถานะของสารได้เป็นของแข็ง(ดิน/Solid) ของเหลว(น้ำ/Liquid) ก๊าซหรือการเคลื่อนไหว(ลม/Gas) และพลังงาน(ไฟ/Energy) เหมือนที่เรียนวิชาเคมี(Chemistry) การแพทย์แผนไทยจึงเป็นองค์ความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นวิทยาศาสตร์แผนไทยหรือแผนตะวันออก(Thai sciences) ตามแนวพุทธศาสตร์ (Budhism) ที่กล่าวว่า สรรพสิ่ง (Matter) ล้วนไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง เกิดขึ้น(ชาติ) ตั้งอยู่(จลนะ) ดับไป(ภินนะ) ไม่หยุดนิ่ง(พลวัต) หมุนเวียนเป็นวัฏจักรตามหลักวัฏสงสาร มีเหตุ ก็มีผล สิ่งหนึ่งเปลี่ยนย่อมกระทบอีกสิ่งหนึ่ง ตัวตั้งต้นเปลี่ยน ตัวตามก็เปลี่ยน ตัวกำกับการทำงานเปลี่ยน(ตรีธาตุ) ตัวทำงาน(ธาตุ)ก็เปลี่ยน สิ่งภายในกายจะสมดุลกันเองตามกาลเวลา(ธาตุ อายุ มูลเหตุเกิดโรค)และปัจจัยยังชีพหรืออาหารธาตุ(อาหาร/น้ำ/อากาศ) แต่เมื่อสิ่งภายนอก(กาล สถานที่ ฤดู)เปลี่ยนก็กระทบสิ่งภายในกายให้เปลี่ยน ถ้าปรับให้สมดุลได้ก็ปกติ(สถานัม/Normal) ถ้าปรับสมดุลไม่ได้ก็ป่วย(ความเจ็บป่วย/illness) ต้องหาคน(แพทย์)หาวิธีการมาช่วยปรับเปลี่ยนให้กลับสู่สมดุลใหม่ด้วยการวิเคราะห์สาเหตุ(สมุฏฐานวินิจฉัย) และวินิจฉัยโรค (Diagnosis) แล้วจึงกำหนดการบำบัดผู้ป่วยเฉพาะราย(รุ ล้อม รักษา บำรุง) สอดคล้องกับสมัยใหม่คือ เวชศาสตร์เฉพาะคน(Personalized medicine) หรือการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine)ที่เขารักษาตามยีน (Gene) แต่เรารักษาตามสมุฏฐานวินิจฉัย (ลางเนื้อชอบลางยา) นี่คือปรัชญาพื้นฐานของเวชกรรมไทย...บางส่วนของการบรรยายวิชาอาการวิทยาและโรควินิจฉัย อนุปริญญาการแพทย์แผนไทย รุ่น ๗ วชช.ตาก
นพ. พท. พิเชฐ บัญญัติ
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย
รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
๑๔/๑๐/๒๕๖๑

หมายเลขบันทึก: 659854เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท