เวชกรรม๑๔: เบญจมหาภูตรูป


เบญจมหาภูตรูป
คือ มหาภูตรูป(ธาตุ ๔) รวมกับ อากาศธาตุหรือช่องว่างต่างๆในร่างกายทั้งที่เห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า (ทวารทั้ง๙ทั้ง๑๐ เช่น ตา หู จมูก ช่องปาก ทวารหนัก ทวารเบา ช่องคลอด) และช่องว่างเล็กๆระหว่างปรมาณูที่ตาเปล่ามองไม่เห็น มหาภูตรู๔ เป็นส่วนหนึ่งของรูปปรมัตถ์๒๘ หรือรูปขันธ์ที่เป็นหลักเป็นที่อยู่อาศัยของรูปปรมัตถ์อีก ๒๔ รูป โครงร่างๆหลักๆที่คงตัวอยู่ได้คือปถวีธาตุหรือธาตุดิน เมื่อรูปขันธ์จะทำงานได้สมบูรณ์ต้องอาศัยนามขันธ์อีก ๔ มาเป็นเครื่องช่วยกำหนด

คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ เมื่อพูดถึงเบญจขันธ์จึงเป็นคนที่สมบูรณ์มีทั้งรูปร่างลักษณะ (กายวิภาคศาสตร์) หน้าที่และความมีชีวิต (สรีรวิทยา) ในส่วนของวีสติปถวีธาตุหรือธาตุดิน ๒๐ ก็จัดเรียงตัวกันเป็น ๕ ชั้นจากนอก (Superficial)เข้าใน (Deep) คือ
ชั้น ๑
เปลือกห่อหุ้มร่างกาย ได้แก่ นขา โลมา เกสา ตะโจ ทันตา
ชั้น ๒
โครงสร้างค้ำจุนให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ ได้แก่ มังสัง นหารู กิโลมกัง อัฏฐิ อัฏฐิมิญชัง 
ชั้น ๓
ระบบการสังเคราะห์ของดี(อุทริยัง) และของเสีย (กรีสัง) ได้แก่ วักกัง ยกนัง ปิหกัง กิโลมกัง (เยื่อหุ้มอวัยวะ เอ็นยึดแขวนลำไส้) อันตัง (หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่) อันตคุณัง
ชั้น ๔
สิ่งที่ทำให้ธาตุดินอยู่ได้ด้วยการนำของดีเข้าและขับของเสียออก ได้แก่ หทยัง ปัปผาสัง 
ชั้น ๕
ระบบควบคุมธาตุต่างๆให้เป็นปกติโดยอาศัยนามขันธ์ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เป็นตัวกำหนด ได้แก่ มัตถเกมัตถลุงคัง
พิเชฐ บัญญัติ, พ.บ., พท.บ., ส.บ.
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 659858เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท