เวชกรรมไทย๘: หมอครอบครัว


แพทย์เวชกรรมไทย หมอครอบครัวที่คู่สังคมไทยมายาวนาน

หมอครอบครัว;แนวคิด(Concept)ทรงคุณค่า แต่อย่าติดโครงสร้าง(Structure)
คำว่า”หมอครอบครัว” เดิมใช้เป็นชื่อเรียกของ “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Familly doctor)” ซึ่งเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง เหมือนเรียก หมอตา หมอเด็ก หมอรังสี เป็นต้น สะท้อนว่า หมอคนนั้นเชี่ยวชาญด้านไหน หมอครอบครัว จึงชำนาญด้านการดูแลสุขภาพครอบครัว (Family health care) ไม่ใช่แค่ตรวจรักษาโรคทั่วไป เพราะนั่นคือ หมอทั่วไป (Generalist) และก็ไม่ใช่ตรวจโรคบุคคลเฉพาะทาง (Specialist) ระบบบริการปฐมภูมิ(Primary care) มีปรัชญาที่ตรงกับหลักการทางเวชศาสตร์ครอบครัว(Family Medicine) ที่ต้องดูแลทั้งระดับบุคคล ระดับครอบครัว และระดับชุมชน โดยจุดเน้นเริ่มจากครอบครัว (Family center) แล้วจึงลงลึกสู่แต่ละคนในครอบครัว (Individual) และขยายออกไปหลายๆครอบครัวเป็นชุมชน (Community) เมื่อต้องวางระบบบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมกับประเทศ ระบบบริการปฐมภูมิจึงเป็นคำตอบที่ใช่ แต่ต้องไม่ลืมว่า ระบบบริการปฐมภูมิที่สมบูรณ์มี 2 ขาหรือ 2 ด้าน คือ ด้านที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community based) หรือการสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care; PHC) อีกด้านคือ ด้านที่ใช้สถานพยาบาลเป็นฐาน(Hospital based) หรือการแพทย์ปฐมภูมิ (Primary Medical care; PMC) ดังนั้นเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Primary Care Cluster; PCC) จึงต้องทำงานสองด้านโดยมีครอบครัวเป็นตัวตั้ง ลงไปที่ครอบครัว ค้นหาปัญหาสุขภาพของครอบครัว(Home visit for Family health assessment) เข้าใจวงจรชีวิตของแต่ละครอบครัว เข้าถึงข้อมูลพื้นฐานและความเป็นจริงของแต่ละครอบครัว (Family Health System) แล้วจึงพัฒนาสุขภาวะครอบครัว(Family Health Development)ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน (Community-based care) ระบบดังกล่าวนี้ไม่สามารถทำคนเดียวหรือโดยหมอครอบครัว(Family doctor) เพียงลำพัง แต่ต้องช่วยกันหลายๆวิชาชีพ เป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ จึงเรียกว่า ทีมหมอครอบครัว (Family care team; FCT) เมื่อFCT เข้มแข็ง PCCก็เข้มข้น ระบบสุขภาพชุมชน/อำเภอ(District Health System; DHS)ก็พัฒนา ระบบสุขภาวะของชาติ(National Health System) ก็ยั่งยืน...หมอครอบครัว จึงไม่ใช่แค่แพทย์ออกมาตรวจผู้ป่วยนอกในชุมชน(Extened OPD)เท่านั้น การสร้างอาคารใหม่ใหญ่โต เปลี่ยนป้ายให้ดูดี มีจำนวนPCCมากๆ จึงยังไม่สำคัญเท่า การทำหน้าที่ที่แท้จริงตามแนวคิดหลักการของหมอครอบครัวที่รู้จักครอบครัวทุกวงจรชีวิตอย่างแท้จริง ครอบครัวและครัวเรือนจึงเป็นฐานปฏิบัติการที่สำคัญ...หัวหน้าทีมหมอครอบครัวในกาคแพทย์แผนปัจจุบันคือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว (Family physician) ที่มีไม่มากนัก แต่หากเปิดใจให้กว้าง ประเทศเรายังมีแพทย์ที่ดูแลบุคคลและครอบครัวตามวิถีชีวิตแบบไทยๆ มีปรัชญาเป็นการแพทย์เชิงวัฒนธรรม (Bio-cultural) เป็นแพทย์ตามกฎหมายและวิชาชีพ คือการแพทย์แผนไทย ที่มีแพทย์แผนไทย ประเภทเวชกรรมไทย ที่ผมอยากเรียกว่า แพทย์เวชกรรมไทย (Thai-traditional physician) ที่สามารถเป็น “หมอครอบครัว” ในระบบบริการปฐมภูมิได้ ตามร่าง พรบ.ระบบการแพทย์ปฐมภูมิ ฉบับที่เพิ่งผ่าน ครม.ไปวันก่อน
พิเชฐ บัญญัติ, พบ., พท.บ., สม., วว.เวชปฏิบัติทั่วไป, อว.เวชศาสตร์ครอบครัว, อว.เวชศาสตร์ป้องกัน(สาธารณสุขศาสตร์)
เลขาธิการสมาคมเวชกรรมไทย
6/9/2561


หมายเลขบันทึก: 659851เขียนเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2019 09:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท