เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ สายผู้บริหารสถานศึกษา วิทยฐานะเชี่่ยวชาญ (ค.ศ.4)


การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืน

ชื่อเรื่อง   การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

            พอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

ผู้วิจัย        นางสาวจรรยาพร  ศิลาโชติ

โรงเรียน     โรงเรียนบ้านเป้าวิทยา

ปีที่พิมพ์     2561

บทคัดย่อ

                การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) (1971) และต่อมาขยายผลที่ผลผลิตเป็น IEST อีก จึงเป็น CIPPIEST Model เป็นแนวทางในการประเมิน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบท (Context) ของโครงการ (2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) ของโครงการ (3) ประเมินกระบวนการ (Process) ของโครงการ (4) ประเมินผลผลิต (Product) ของโครงการ และส่วนขยายผลผลิต (4.1) ประเมินด้านผลกระทบ (Impact) (4.2) ประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness) (4.3) ประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability ) (4.4) การถ่ายทอดและส่งต่อ (Transportation) (5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (6) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (7) ศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 3 คน ครูจำนวน 53 คน นักเรียนจำนวน 269 คน ผู้ปกครองจำนวน 269 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน เครื่องมือทีใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 สำหรับผู้บริหารและครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85  ฉบับที่ 2 สำหรับนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 ฉบับที่ 3 สำหรับผู้ปกครอง มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81และฉบับที่ 4 สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมิน

            ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวม พบว่ามีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นตรงกันว่าการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ มีงบประมาณที่เพียงพอ บุคลากรมีความพร้อมในการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

           1.ด้านบริบท โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อยเรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเหมาะสมวัตถุประสงค์ของโครงการความต้องการจำเป็น และความพร้อมและทรัพยากร

           2.ด้านปัจจัยนำเข้า โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การจัดสถานที่จัดกิจกรรมเหมาะสมกับการดำเนินโครงการ บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานโครงการ และมีความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีในการดำเนินงาน      

           3.ด้านกระบวนการ โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากทุกด้านย่อย ได้แก่ ช่วงเวลาดำเนินงาน และกิจกรรมการดำเนินงาน

           4.ด้านผลผลิต โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครูเห็นความสำคัญของการดำเนินงาน การดำเนินงานตามโครงการบรรลุเป้าหมายในทุกด้าน และนักเรียนนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักคิด หลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต และผลการประเมินด้านผลผลิตสู่ความยั่งยืน มีรายละเอียดในส่วนขยายด้านผลผลิตในแต่ละด้านดังนี้

               4.1 ด้านผลกระทบ โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีพฤติกรรมขยัน ประหยัด ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกัน และโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ ทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

               4.2 ด้านประสิทธิผล โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ท่านมีความมั่นใจในองค์ความรู้ที่มีอยู่หลังสิ้นสุดโครงการ ท่านมีความรู้ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังสิ้นสุดโครงการ และท่านได้สร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องหลังสิ้นสุดโครงการ   

               4.3 ด้านความยั่งยืน โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีดำเนินงานต่อเนื่องทั้งในชั้นเรียนและภาพรวมทุกปี การดำเนินงานสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน และท่านได้ไปอบรมในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆจากการดำเนินโครงการไปสู่การทำงาน

               4.4 ด้านการถ่ายโยงความรู้  โดยรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ มีถ่ายทอดองค์ความรู้โครงการไปสู่ผู้อื่น มีการเผยแพร่ผลการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนในสังกัดและโรงเรียนนอกสังกัด และโรงเรียนมีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

            5.นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ จัดกิจกรรมตามโครงการช่วยให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนเข้าใจขั้นตอน/กิจกรรม/รายละเอียด/เป้าหมายโครงการที่จัดขึ้น และครูที่ปรึกษาให้คำแนะนำเบื้องต้นและให้การช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับการถอดบทเรียน

            6.ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโครงการทุกขั้นตอน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมกับโรงเรียนในติดต่อประสานงานกับชุมชนเพื่อสร้างกิจกรรมภาคีเครือข่ายพอเพียง และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนำความรู้ด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชน

            7.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความยั่งยืนของโรงเรียนบ้านเป้าวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมอยู่ในระดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการนี้ช่วยส่งเสริมทำให้ครู ผู้เรียนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตนไม่หวั่นไหวต่อกระแสนิยมในยุคไร้พรมแดน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการกำกับติดตามการใช้วิทยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น และโครงการนี้สอดคล้องกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

    

20190212010759.pdf

หมายเลขบันทึก: 659823เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2019 01:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2019 01:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท