ปฏิรูปการศึกษา ยังไปไม่ถึง root cause



ผมได้รับแจกเอกสาร สะท้อนวิกฤตสู่แนวคิดปฏิรูปการศึกษา แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดย ศ. กิตติคุณจรัส สุวรรณเวลา ประธานกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา จัดพิมพ์โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา    น่าเสียดายที่ไม่ได้ระบุวันเดือนปีที่พิมพ์   

สาระในเอกสารดังกล่าว มีเรื่องต่อไปนี้

  • ที่มาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
  • วิกฤตการศึกษาไทย
  • 1. คุณภาพผลสัมฤทธิทางการศึกษาของคนไทยอยู่ในระดับต่ำมาก
  • 2. ความเหลื่อมล้ำในการศึกษา
  • 3. ความสามารถในการแข่งขันของระบบการศึกษาไทย และความสามารถในการแข่งขันของชาติ
  • 4. การด้อยประสิทธิภาพและธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการระบบการศึกษา
  • 1. ความไม่มั่นคงในนโยบายการศึกษา
  • 2. การบริหารจัดการโดยการสั่งการจากส่วนกลาง
  • 3. การบริหารที่ใช้รูปแบบเดียวเหมือนกันทั้งประเทศ
  • 4. การกระจายอำนาจที่ไปไม่ถึงโรงเรียน
  • 5. การบริหารจัดการที่ดึงครูออกนอกห้องเรียนเกณฑ์เข้าสู่ตำแหน่ง และการเลื่อนวิทยฐานะไม่เอื้อให้เกิดคุณภาพและผลิตภาพ
  • 6. ปัญหาจากการขาดข้อมูลที่ดีในการบริหารจัดการการศึกษา
  • แผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา
  • - ปรับหลักคิด (reset) ด้านการศึกษา  
  • - โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา
  • - หลักสูตร และการเรียนรู้เป็นฐานสมรรถนะ ทักษะของคนยุคใหม่
  • - ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ
  • - ยกเครื่องการผลิตและพัฒนาครู
  • - คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
  • ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ...

นอกจาก พรบ. การศึกษาแห่งชาติแล้ว ยังมีร่าง พรบ. ที่เป็นกลไกปรับหลักคิดอีก ๕ ฉบับคือ

  1. 1. พ.ร.บ. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
  2. 2. ร่าง พ.ร.บ. พัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ...
  3. 3. ร่าง พ.ร.บ. การอุดมศึกษา พ.ศ. ...
  4. 4. ร่าง พ.ร.บ. เขตพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา พ.ศ. ...
  5. 5. พ.ร.ฎ. สถาบันหลักสูตรและการเรียนรู้แห่งชาติ พ.ศ. ...

ที่จริงจะว่าไปไม่ถึงก็ไม่ถูกนะครับ    แต่ขาดการเน้นที่ “จุดกุญแจ” (key issue) ที่จะไขสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง     ซึ่งผมคิดว่ามี ๒ ประเด็น  ได้แก่ (๑) ยกเครื่องกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีคนทำงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไม่เกิน ๑๐๐ คน   โดยให้ศึกษาตัวอย่างประเทศเวียดนาม  จีน  สิงคโปร์  (๒) ยกเครื่องระบบผลิตครู การกำหนดสมรรถนะของครู    ซึ่งที่จริงสองประเด็นนี้ก็มีระบุในเอกสาร    ที่ไม่มีในเอกสารคือ (๓) การทำให้ทุกส่วนของระบบการศึกษา เป็นระบบที่เรียนรู้ (learning systems)

วิจารณ์ พานิช

๑๗ ธ.ค. ๖๑

    

หมายเลขบันทึก: 659389เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2019 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2019 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท