873. การใช้ Appreciative Inquiry ร่วมกับ Mind Map


Appreciative Inquiry (AI) คือศาสตร์ที่เน้นการร่วมกันสืบค้นสิ่งดีๆ มาขยายผล โดยเชื่อว่าทุกคนทุกองค์กรทุกสิ่งแวดล้อม เป็นศาสตร์ที่นำมาพัฒนาองค์กรได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ที่สำคัญสามารถนำไปต่อยอดกับเครื่องมืออื่นๆได้ เสริมจุดเด่นกันได้ เช่น Mind Map ...ใครทำ Mind Map เป็นจะรู้ว่ามันทรงพลัง ผมซื้อหนังสือ Tony Buzan มาอ่าน และทำ Mind Map มาตั้งแต่เกือบ 20 ปีแล้ว เอาเป็นว่าเวลาวางแผนทำปริญญาเอก ผมใช้ Mind Map ตอนนี้ยังเก็บไว้เลย ประมาณสมุดบัญชี  

วิธีการทำ Mind Map นอกจากคุณอ่านแล้ว ยังมีบริษัทรับ Train หรือ Certified Trainer ...ซึ่งผมจะไม่สอนครับ เพราะไม่มี Licensed แต่ในแง่ของการประยุกต์ใช้กับ Appreciative Inquiry ...นี่ทำไม่ยากครับ...อย่างแรกคุณก็ลองดูเลย เช่นตอนนี้ คนบ่นเรื่องขวัญกำลังใจในการทำงานเยอะ คุณอาจลองทำ Mindmap เกี่ยวกับเรื่องความสุข หรือขวัญกำลังใจพนักงานก็ได้ ...ลองทำออกมาว่ามีปัญหาอะไรบ้าง 

เช่นผมทำออกมาได้ดังนี้ 

Mind Map ทำให้เห็นภาพ ในนี้ทำแบบกว้างๆ ...  

คุณอาจจัดเป็นหมวดหมู่ สาเหตุที่ทำให้ คนไม่มีความสุข ...จากบ้าน แผนก เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า ...แล้วเจาะลึกลงไปก็ได้ 

เมื่อเห็นอาการแล้ว...ที่มาคร่าวๆ คราวนี้ก็เริ่มมาทำ Apprecitive Inquiry ได้แล้ว...

ก็เอามาเข้ากระบวนการครับ เลือกเรื่องที่อยากแก้ปัญหาร่วมกัน ...ผมแนะนำว่าทำทีละเรื่อง ทำจนได้คำตอบชัด

มีคนเลือกว่า “ได้เงินน้อย”

เราก็มาตั้งโจทย์แบบ Appreciative Inquiry ทำเร็วๆ ก็ประมาณนี้

Define …การกำหนดปัญหา...เราจะไม่ถามทำไมได้เงินน้อย... เราจะถามว่า “ทำอย่างไรจะได้เงินมาก”

ขั้นต่อมา

Discovery  

Case 1 ให้นึกถึงตอนที่คุณได้เงินมากขึ้น คุณทำอย่างไร หรือ ให้นึกถึง Idol คนที่ได้เงินมากกว่าคุณเขาทำอย่างไร  จัดวงแชร์กัน เล่ามาคนละเรื่อง ...ผมก็เล่าเช่น..มีลูกศิษย์ผมไปที่โรงงานแกะกุ้ง ไปเจอปัญหาว่าคนงานออกกันเยอะ เลยถามหา Idol แล้วใครที่ไม่ออก...ก็เจอกลุ่มหนึ่ง ไม่ออก ไม่ออกเพราะอะไร ... ได้ค่าแรงเยอะกว่าคนอื่น 30%”...อ้าวทำอย่างไร... “ไปเรียนเทคนิคการแกะกุ้งจากรุ่นพี่”  “รุ่นพี่สอนให้ใช้ช้อนแกะ แทนการใช้ถุงนิ้วของโรงงานแกะ”  

Case 2 มีคนหนึ่งแชร์ว่า เขาเข้ามาสามปี ไม่ก้าวหน้าในอาชีพเลย..เลยเริ่มสังเกตว่าคนที่ได้เงินมากกว่าทำอย่างไร ก็เลยทำตามไปเรียนรู้ทักษะ สักพักก็เก่งโปรแกรม เริ่มเป็นที่พึงคนที่ทำงานได้ ไปถึงลูกค้า และที่สุดเงินเดือนก็เพิ่มขึ้น”  

ฟังไปมากๆ เช่นสามสิบคนคือถ้าเข้า Workshop ก็เล่ามันสามสิบคน หาคนจด 

แล้วค่อยสรุปประเด็นกัน ..เป็น Positive Cores...

คุณจะเห็นว่า...คนเก่งได้เงินเดือนมาก คือคนที่ยกระดับความรู้กันด้วยการไปเรียนรู้จากคนเก่ง...

จริงๆ ก็มีประเด็นอื่นๆ อีก แต่ผมจดมาไม่หมด...แต่ภาพรวมๆ ก็คือเรียนรู้จากคนเก่ง..

จากนั้นก็ชวนกันหา Dream ก็ฝันว่าจะมีการเติบโตในหน้าที่มีความภูมิใจนชีวิต ได้ทำสิ่งที่ตนเองรัก ออยู่กับองค์กรอย่างมีความสุข

Design ก็ให้คิดรวมกัน อย่างนี้ก็ลองหา Idol ในองค์กรแล้วลองพัฒนาแผนการทำงานของตนเองดู

Destiny วัดผล หาแบบอย่างเพิ่ม ทำเป็นวงจร แล้วกลับมาทบทวนกัน 

ที่เหลือใน Mind Map ก็เอามาต่อยอดด้วย Appreciative Inquiry ไปได้แบบเต็มๆ

นี่ครับการต่อยอด Appreciative Inquiry จาก Mind Map 

แบบสั้นๆ ลองทำกันดูนะครับ

คุณล่ะคิดอย่างไร 

บทความโดยดร.ภิญโญ รัตนาพันธุ์

www.aithailand.org

คำสำคัญ (Tags): #mind map#appreciative inquiry#ai#od
หมายเลขบันทึก: 659267เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2019 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มกราคม 2019 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท