ชีวิตที่พอเพียง 3337. Exit Strategy ในการทำงานสร้างสรรค์เพื่อสังคม



วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ผมไปร่วมประชุมคณะกรรมการ CSR ของธนาคารไทยพาณิชย์  และคณะกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ซึ่งใช้กรรมการชุดเดียวกัน

มูลนิธิสยามกัมมาจลทำหน้าที่เป็น catalyst และ influencer ด้านการพัฒนาเยาชนให้แก่ประเทศ ในลักษณะของงานอาสาเพื่อสังคม    ไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะสั่งการ   มูลนิธิเสนองานที่จะทำในปี ๒๕๖๒ รวม ๕ ด้าน    ๔ ด้านมีการเสนอ Exit Strategy ด้วย    ตามหลักการของการทำหน้าที่ catalyst และ influencer   

โครงการที่มี exit strategy ได้แก่

  1. 1. โครงการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น ๔ ภาค   เป็นงานสร้างศักยภาพการทำงานของ อบต.    หน่วยงานที่คาดว่าจะรับไปสนับสนุนต่อคือ กสศ. ในปี ๒๕๖๓
  2. 2. พัฒนาเยาวชน active citizen   สกว. และ สสส. รับถ่ายทอดความรู้ไปดำเนินการขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ
  3. 3. เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม   เป็นการพัฒนานักศึกษาด้านนิเทศศิลป์ของ ๑๕ คณะ ใน ๑๒ มหาวิทยาลัย   กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ รับไปสนับสนุนต่อในปี ๒๕๖๒
  4. 4. โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่    เป็นความร่วมมือกับ NECTEC สนับสนุนการต่อยอดผลงานสร้างสรรค์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สู่นวัตกรรม ออกสู่ตลาด    ฝ่าย CSR ของ SCB รับช่วงการสนันสนุน    โดยมูลนิธิสยามกัมมาจลยังคงบริหารกิจกรรมอย่างเดิม

โครงการที่ ๕ เพ่งเริ่ม คือโครงการสนับสนุนเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง ศรีสะเกษ และสตูล    ภายใต้โครงการ ConnextEd ร่วมกับ SCB

คณะกรรมการ CSR ให้นโยบายไว้ตั้งแต่เมื่อกว่าสิบปีมาแล้วว่า     การทำงานของมูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นการพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาเยาวชน เน้นการสร้างบุคลิกลักษณะความเป็นคนดี และมีความสามารถดำรงอยู่ในสังคมสมัยใหม่ได้อย่างดี    ไม่เน้นการให้ทุนสนับสนุนเป็นหลัก    เน้นการร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานพัฒนาเยาวชนแบบใหม่ๆ     เมื่อเริ่มโครงการ ก็ต้องคิด exit strategy ไว้ล่วงหน้า    คือแสวงหาภาคีที่ทำงานเรื่องนั้นๆ หรือมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องนั้นๆ มารับช่วงงาน

เราค้นพบว่า หน่วยราชการไม่มีความสามารถในการทำงานเชิงนวัตกรรม    และเชิง empower หน่วยงานอื่นอย่างที่ SCBF ทำ     หน่วยงานรับช่วงจึงมักเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีความเป็นอิสระ ไม่เป็นหน่วยราชการ

 วิจารณ์ พานิช

๒๐ ธ.ค. ๖๑


หมายเลขบันทึก: 659051เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2019 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2019 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท