10 วิธีในการเรียนรู้คำใหม่ๆในฐานะเป็นผู้เรียนรู้ภาษา


ครูและผู้ฝึกหัดครู ชื่อ Svetlana Kandybovich ที่เป็นผู้ชนะการแข่งขันบล็อกการสอนภาษาอังกฤษของเราได้แบ่งปันกลเม็ดขั้นสุดยอดเพื่อการจำคำศัพท์ใหม่ๆ

ในฐานะที่เป็นผู้เรียนรู้ภาษา เธอต้องพยายามอย่างมากในการขยายคำศัพท์ของเธอ เธอเจอคำศัพท์ใหม่ๆทุกวัน, สร้างคำศัพท์ใหม่เป็นหาง และฝึกปฏิบัติด้วยกระดาษคำ (flashcards) อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องพูดจริงๆ คำศัพท์เหล่านั้นก็ดูเหมือนจะหายไปจากสมอง และแล้วเธอก็ต้องเจอกับเพื่อนเก่า-ซึ่งก็เป็นคำที่รู้ดีอยู่แล้ว และได้ใช้มาแล้วหลายครั้ง-ซึ่งต้องทำแบบนี้ต่อไป และต่อไป (กล่าวคือนึกและจำไม่ได้ พอมาทบทวนจึงรู้ความหมาย แต่พอใช้อีกก็ลืมอีก-ผู้แปลไทย)

การจำและการใช้คำศัพท์ใหม่ๆในการพูดดูเหมือนจะเป็นข้อท้าทายของผู้เรียนภาษา นี่คือ 10 ยุทธวิธีในการช่วยให้คำศัพท์เหล่านั้นติดอยู่กับตัวและใช้พวกมันในบทสนทนา

1. ต้องไม่มีคำแบบสุ่ม

พวกเราจะจำคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับเรา การสร้างบัตรรายการหรือบัตรบ่งชี้กับคำศัพท์แบบสุ่มไม่ใช่ทางที่มีประสิทธิภาพในการจำคำศัพท์ และนำคำศัพท์นี้มาใช้ในการสื่อสาร บัตรรายการหรือบัตรบ่งชี้จะมีประโยชน์ในการทบทวนคำศัพท์ที่เธอเรียนไปแล้ว แต่ถ้าหากจะทำให้คำศัพท์นั้นติดตัว ลองเชื่อมคำนั้นกับบางสิ่งที่มีความหมายกับคุณ เธอมีแนวโน้มที่จะจำคำศัพท์ใหม่ หากเห็นบริบทที่เธอเห็นว่าน่าสนใจหรือหลงรักมัน เช่น เช่น หากเธอเป็นแฟนฟุตบอล มีโอกาสที่จะจำคำศัพท์ว่า unstoppable (ซึ่งไม่ท้อถอยง่ายๆ) ในประโยคว่า Messi ไม่ท้อถอยง่ายๆ กว่าการจำคำศัพท์เป็นคำๆ เช่น คนบางคนไม่ท้อถอยง่ายๆ

กลเม็ด The British Council จะมีเวปไซค์ชื่อ LearnEnglish websiteซึ่งในนั้นจะมีวิดีโอที่เราสามารถโต้ตอบกับเราได้, เกม, และ podcast (Podcast คือ การเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต) ไม่ว่าหัวข้อใดที่ทำให้เธอสนใจ เธอสามารถหาสิ่งต่างๆได้ที่นั้น จะมีหน้าการอภิปรายภายใต้กิจกรรมต่างๆ ดังนั้นเธอสามารถแบ่งปันความคิดกับผู้เรียนคนอื่นๆได้

2. เรียนรู้ด้วยวลีที่ชาวต่างชาติใช้ และสคริปต์

เราจะจำคำได้ดียิ่งขึ้น หากเราจำเป็นวลีเล็กๆที่เจ้าของภาษาใช้กัน เช่น แทนที่เราจะจำวลีว่า to come with แต่จะจำได้ดียิ่งขึ้นหากจำว่า to come with an idea และแทนที่จะจำ 33 วิธีการในการใช้การทักทายว่า hello แต่หากจำแบบสคริปต์ (script)นี้ Hello, how are you?-I’m fine, thank you จะจำได้ง่ายกว่า

คำแนะนำ: หากเธอกำลังเรียนผ่านวิดีโอ, โทรทัศน์, และหนัง ให้ลอง FluentU สิ จะมีแคปชั่นโต้ตอบเราอยู่มากมาย หากเธอจี้ไปที่คำใดคำหนึ่ง เธอจะเห็นภาพ, นิยาม, และตัวอย่างที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้เธอยังค้นหาแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจ โดยเห็นคำในบริบท เช่น ใช้ SpeakSmart' collection on Instagram จะมีฉากจากซีรี่โทรทัศน์ที่มีชื่อเสียง และยังเห็นคำเฉพาะ และวลีที่เป็นประโยชน์อีกต่างหาก หากเธอรักการอ่าน พยายามอ่านบทอ่านที่มีตัวบทขนาดเล็ก เช่น การตัดต่อการ์ตูน มีเรื่องตลกออนไลน์อยู่มากมาย รวมทั้งที่เกี่ยวกับภาษาด้วย เช่น Grammarmanซึ่งจะให้คุณได้ทั้งฟังและอ่านเลย

3. จงใช้เสียงที่อยู่ภายใน

การเรียนรู้จริงๆแล้วเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใน การเรียนรู้คำนั้น เธอลองสมมติให้คำนั้นปรากฏขึ้นในโลกภายใน (ก็คือนึกในใจ-ผู้แปลไทย) ลองทำสิ่งต่างๆดังนี้ จงตั้งใจฟังคำหรือวลีในครั้งแรก ต่อมาให้ฟังโดยการใช้หัวหรือให้พูดในหัว และสุดท้ายให้พูดออกมาดังๆ บันทึกเสียงของเธอเวลาพูด และฟังเสียงที่บันทึกเอาไว้ เสียงที่ฟังเหมือนกับที่พูดอยู่ในใจหรือไม่?

กลเม็ด: ในเว็ป Forvo เธอสามารถฟังเสียงเจ้าของภาษา และไม่ใช่เจ้าของภาษา จากหลายๆส่วนในโลกใบนี้ เพียงแค่พิมพ์คำ และเลือกผู้พูด และฝึกปฏิบัติตามเท่านั้น

4. จงสร้างคำหรือวลีเป็นรูปภาพ

การวาดภาพความหมายของคำ ซึ่งอาจอยู่ในกระดาษหรือจินตนาการของเธอก็ได้ การวาดภาพนั้นจะช่วยให้เธอจำความหมายของคำเมื่อใดก็ตามที่ได้ยินมัน วิธีการนี้จะใช้ได้ดีหากเป็นสำนวน เช่น to keep one’s mouth shut จะแปลว่า ไม่พูดอะไร

คำแนะนำ: นอกจากจะใช้ภาพลักษณ์เป็นความหมายแล้ว จงค้นหาคำที่เกี่ยวเนื่องกันในพจนานุกรมภาพ และคำเหมือนจาก Visuwords

5. จงสร้างสิ่งที่จะช่วยในการจำ

จงสร้างวลี หรือเรื่องราวที่สนุกชวนฮาที่เชื่อมโยงระหว่างคำและความหมายมันให้ได้ (ที่เรียกกันว่าการใช้ mnemonic) ฉันพบว่าเทคนิคนี้จะได้ผลดี หากคำๆนั้นสะกดยาก

ข้างล่างนี้คือเทคนิคการจำได้ง่ายๆจากนักเรียน

‘career’ – car and beer

‘island’ – is land

‘to lose’ – uh-oh, I’ve lost an ‘o’

คำแนะนำ: จะมีเทคนิคในการจำง่ายๆเต็มหมดในอินเตอร์เน็ท เช่น หาใน Memrise  แต่ถ้าจะให้ดี ต้องลองสร้างการจำด้วยตนเองจะดีที่สุด

6. จงใช้ spaced repetition

การทำซ้ำ หรือการกล่าวอะไรซ้ำจะทำให้คำๆนั้นติดอยู่กับความทรงจำของเรา อย่างไรก็ตาม การทำอะไรซ้ำกันเป็นเวลาหลายร้อยครั้งต่อวันไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการทำซ้ำประมาณ 2-3 ครั้งในระยะเวลาหลายวันหรอก ซึ่งเราเรียกมันว่า การทำซ้ำแบบมีระยะเวลา spaced repetition

จงใช้คำศัพท์ใหม่ที่เข้าใจได้ในทันที ต่อมาพยายามนึกมันให้ได้ในหนึ่งชั่วโมง ต่อมาทบทวนมันก่อนไปนอน จงใช้มันหนึ่งวันต่อมา ในที่สุดทบทวนมันใน2-3 วันต่อมา

กลเม็ด: นอกเหนือจากในรูปแบบ (platform) การทำซ้ำแบบมีระยะเวลาแล้ว สมควรใช้การทบทวนแบบใช้อินเตอร์เน็ทอีกด้วย (เช่น การใช้ Ankiซึ่งเป็นที่ที่เราสามารถทบทวนได้เป็นประโยค) และเธอสามารถวางแผนการทบทวนของเธอได้ด้วยตัวของเธอเอง พยายามทำ index cards กับคำของเธอ (จงใช้คำที่อยู่ในประโยคที่ด้านหน้า และนำนิยาม/การแปล/ภาพลักษณ์ไว้อีกด้าน) ต่อมาให้กำหนดตารางการทบทวนว่าจะทำกับมันเมื่อไร จงสลับคาร์ดและจัดแจงคาร์ดให้เป็นระบบ เช่น สีเขียว คือคำที่อาจเจอน้อยในอนาคต, สีเหลือง คือคำที่อาจจะเจอในอนาคต และสีแดง คือคำที่พบเจอกันบ่อยในปัจจุบัน (index card คือ กระดาษแผ่นเล็กๆ โดยมากมีขนาดกว้าง 5-7 ซ.ม. และยาวเท่ากับ 7-10 ซ.ม.-ผู้แปลไทย)

7. ศึกษาให้ลึกซึ้งด้วยนิรุกติศาสตร์

ก่อนที่จะหาความหมายของคำในพจนานุกรม พยายามเดาว่าคำนั้นแปลว่าอะไรก่อน เมื่อเปิดพจนานุกรมแล้ว ให้หารากศัพท์, ตัวเติมหน้า และตัวเติมท้าย หากคุณรู้ภาษาสัก 2-3 ภาษาแล้วหละก็ เธอจะสามารถนึกถึงศัพท์คำนั้นว่ามีรากศัพท์มาจากคำๆใดด้วย การวิจัยเกี่ยวกับรากศัพท์ของคำใหม่จะช่วยให้เธอนึกถึงมันได้ง่ายขึ้น

เช่น เธอเคยรู้ไหมว่าคำภาษาจีนคือคำว่า 't'e' สอดคล้องกับคำภาษาแมนดารีนว่า 'ch'a'? คำภาษาอังกฤษว่า tea (ปรากฏวในภาษาฝรั่งเศส, ภาษาสเปน, และภาษาเยอรมัน) มาจากรูปของภาษา Amoy (โดยผ่านภาษาบริษัทอินเดียตะวันออกของชาวดัชต์ที่ผ่านไปทั่วยุโรป) ในขณะที่ภาษารัสเซียนคือคำว่า chai (ปรากฏขึ้นในภาษาเซอร์เบียน, เปอร์เซียน, กรีก, อาหรับ, และเตอร์กิช) ทั้งหมดมาจากรูปภาษาแมนดารีนทั้งสิ้น เมื่อใดก็ตามที่เธอได้ยินคำว่า tea หรือ chai เธอจะเห็นถ้วยที่มีชาร้อนๆอยู่ภายใน และรู้ว่ามาจากประเทศใดด้วย

คำแนะนำ: ไม่ว่าเธอจะหารากศัพท์ของสำนวน หรือคำใดก็ตาม จงหาใน Online Etymology Dictionary สิ อาจมีประโยชน์กับเธอได้ไม่มากก็น้อย

8. จงท้ายเธอด้วยเกมคำ

การท้าทายจะกระตุ้นสมอง เกมต่างๆที่ช่วยให้เธอค้นพบคำใหม่ๆ และคำใหม่ก็มีความสนุกจนขยายคำศัพท์ใหม่ๆของเธอ

กลเม็ด: เธอสามารถค้นหาแบบทดสอบ และเกมได้เป็นร้อยๆพันๆได้ที่  Quizlet.com

9. ลองเขียนมันดู

จงเขียนคำศัพท์ใหม่ (หรืออาจเป็นประโยคที่ใช้ประกอบกับคำใหม่นั้น) จะช่วยให้เธอจะได้ทั้งความหมายและการสะกดในความทรงจำของเธอเอง จงสร้างประโยคที่เป็นจริงสำหรับเธอ และคนอื่นๆที่เธอรู้มาแล้วเป็นอย่างดี

คำแนะนำ: แทนที่เธอจะสร้างประโยคนี้สำหรับตัวเธอเอง เธอสามารถใช้คำนี้กับเกมการเขียน (writing games) เช่น Folding Story ได้ นี่เป็นเกมการเขียนที่มีชื่อเสียงในอินเตอร์เน็ท ที่คนเข้าร่วม (เขาเรียกมันว่า player) เขียนหนึ่งประโยคของเนื้อเรื่องและให้คนอื่นๆมาต่อ ในการเล่นเกม ผู้เล่นแต่ละคนมีเวลาให้ 3 นาทีในการเขียน และคะแนนจะได้โดยการกดไลค์ที่คนอื่นๆให้ในแต่ละบรรทัด

10. จงพูดคำศัพท์ในสถานการณ์จริง

มันไม่ใช่เรื่องง่ายในการระลึกคำศัพท์ใหม่ๆ หรือวลีที่กำลังจำอยู่ในปัจจุบัน หรือแม้แต่ที่เธอจำมันได้แล้วก็ตาม ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้ จงบันทึกด้วยตัวเองในการพูดคำศัพท์ใหม่นั้นประมาณ 2-4 นาทีโดยไม่มีการหยุด เธอสามารถจินตนาการถึงโลกรอบข้างๆเธอ หรือให้ความคิดของเธอกับเรื่องบางเรื่อง ต่อมาจงฟังการบันทึกของเธอ ศึกษาการพูด และสังเกตคำต่างๆที่เธอใช้ เธอได้ใช้คำใหม่ที่เธอต้องการที่จะใช้มันหรือไม่? เธอใช้คำที่เธอคุ้นเคยที่สามารถแทนที่ด้วยคำศัพท์ใหม่หรือไม่? หลังจากนั้น ให้ทำการบันทึกอีกครั้ง คราวนี้มันดีกว่าเดิมหรือไม่?

กลเม็ด: พยายามเข้าร่วมสังคมที่ผู้ใช้ภาษาโดยทั่วไปใช้ เช่น The Polyglot Club ในนั้นเป็นที่ที่เธอสามารถถามคำถาม และฝึกปฏิบัติกับผู้ใช้ภาษาที่ใช้ภาษานั้นจริงๆจากทั่วโลก

มี 10 กลเม็ดหรือคำแนะนำในที่นี้ แต่เธออาจพบว่าเทคนิคอื่นๆอาจเข้ากันได้สำหรับเธอ พยายามทดลองกับกลเม็ดเหล่านี้ เพื่อดูว่าเทคนิคอะไรที่ไปกันได้สำหรับเธอ จงคิดบวกและมีความสุขเถิด

จาก Svetlana Kandybovich. Ten ways to learn new words as a language learner

https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/ten-ways-learn-new-words-language-learner?utm_source=BC_TE_Facebook&utm_medium=social&utm_campaign=voices

หมายเลขบันทึก: 659047เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2019 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2019 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท