ดูเหมือน กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราชกำลังจะได้เพื่อนร่วมทีมขับเคลื่อนเรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน


ทำไมต้องไปประเมิน...ทำไมไม่ลงไปชวนเขาให้ทำ...พาตัวเราลงไปเลยร่วมกันเลยกับ อบต. / อปท. มันก็จะเกิดความร่วมมือจริง ๆ

        จากผังความคิดในบันทึกก่อนหน้านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายครู กศน. พอสมควรในการที่จะดำเนินการให้งานบรรลุตามภารกิจ...ไม่เฉพาะแต่งานที่ทำโดยหน้าที่  แต่เป็นงานโดยหน้าที่ที่ไปคล้องอยู่กับนโยบายของสำนักงาน กศน. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายพัฒนาจังหวัด ซึ่งเป็นงานที่ครู กศน. ต้องรับภาระงานของกระทรวงหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาทำข้อตกลง MOU ในการทำงาน 

        ผมคิดถึงทีม คุณอำนวย เดิมที่เรามีอยู่ (เพื่อนเก่า) ที่เคยทำงานลุยงานในพื้นที่ด้วยกัน...ไม่มีแล้ว...หายหมด ย้ายไปต่างอำเภอหมดแล้ว...มองหาคนใหม่ก็มองไม่เห็นในพื้นที่...จาก 4 กระทรวงหลักตอนนี้เหมือนเหลือ 2 กระทรวง ที่เกาะติดพื้นที่อยู่กับชาวบ้านคือ  ครู กศน. และ  รพ.สต.  จะเคลื่อนกันไหวมั๊ย...เขยื้อนภูเขาน้ำแข็ง...

        วันนี้ผมเริ่มเห็นทางสว่าง...เมื่อเจอกับ พี่สุภาพ  ทรัพย์แก้ว  นักวิชาการสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช หนึ่งในทีมคุณอำนวยที่ขับเคลื่อนชุมชนอินทรีย์สมัยท่านผู้ว่าวิชม  ทองสงค์  พี่สุภาพ  ทรัพย์แก้ว มานั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ซึ่งเป็นที่ตั้งของ กศน. อำเภอเมืองนครศรีะรรมราช  ผมลงไปเจอเข้าพอดีก็ได้นั่งคุยกัน...พูดถึงการเคลื่อนงานในอดีต...แล้วพูดถึงภาระงานของปีงบประมาณ 2562 ที่กำลังจะทำ พูดไปพูดมาก็มาจบที่กองขยะเมืองนครที่เป็นปัญหาหนักของจังหวัดอยู่ในขณะนี้...

        ผมบอกว่า...โครงการจัดการขยะ และสิ่งแวดล้อมชุมชน ของ กศน. ได้ถูกบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี  และเป็นหน้าที่ของครู กศน. ที่จะต้องขับเคลื่อนกิจกรรมในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน...พี่สุภาพ บอกผมว่า ทางกลุ่มเวชกรรมสังคมของโรงพยาบาลมหาราช ก็กำลังขับเคลื่อนเรื่องนี้ ...กำลังวางแผนที่จะลงประเมิน อบต. / อปท. ในเรื่องนี้...ผมถามว่าทำไมต้องไปประเมิน...ทำไมไม่ลงไปชวนเขาให้ทำ...พาตัวเราลงไปเลยร่วมกันเลยกับ อบต. / อปท. มันก็จะเกิดความร่วมมือจริง ๆ เป็นผลดีต่อทางจิตใจ  ทั้งเขาและเรา  ผมบอกว่า  กศน. เราลุยกันขับเคลื่อนในทุกตำบล...ส่วนหากโรงพยาบาลมหาราชจะทำตำบลนำร่อง  ก็ไม่แปลก  ทำไปพร้อม ๆ กัน  

        แนวคิดของเราสองคน ในวันนี้คือ  กศน. ขับเคลื่อนทุกพื้นที่  และร่วมทีมขับเคลื่อนตำบลที่ถูกเลือก 1 หรือ 2 ตำบล ที่เป็นพื้นที่นำร่อง ของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช  และหากเลือก 2 ตำบล เป็นพื้นที่นำร่อง ตำบลก็จะได้มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน  และ พื้นที่ตำบลที่ กศน. ดำเนินการที่เหลือ ก็จะมีแหล่งเรียนรู้ และสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษากระบวนการ วิธีการขับเคลื่อนกิจกรรมกันได้

        การได้เจอ...และได้คุยกันในวันนี้...ทำให้เรามองเห็นช่องทางในการเคลื่อนงานแลัว...พี่สุภาพ  บอกผมว่า..จะนำเรื่องที่เราคุยกันในวันนี้ไปเข้าที่ประชุมของกลุ่มงานเวชกรรมสังคมของโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช...เพื่อที่จะสร้างทีมขับเคลื่อนการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมชุมชน...โดยร่วมด้วยช่วยกันกับ กศน. อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช... พี่สุภาพ  บอกว่า อาจต้องเชิญผมไปเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อเสนอแนะ...ผมบอกว่าได้ด้วยความแต็มใจ...แต่คิดในใจว่า...ต้องเรียน ผอ. ให้เข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อที่จะได้ให้ กศน. ขับเคลื่อนกิจกรรมนี้ในทุกตำบลอย่างมีคุณภาพ....

หมายเลขบันทึก: 658698เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2018 10:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2018 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท