เปลี่ยนแปลงเร็ว ปรับคิดบวก เปิดใจรู้ ปราชญ์ทำดี


กราบขอบพระคุณคุณทัสพร จันทรี และ รศ.ดร.เสรี วงษ์มณฑา ที่มอบความรู้การบริหารคนโลกยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อสถาบันการศึกษาไทย และ รู้จักและเข้าใจการบริหารบุคลากรต่าง GEN ตามลำดับ ในงานมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล: ปัญญามหิดล คุณภาพคน คุณภาพงาน เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2561
  1. เปลี่ยนแปลงเร็ว 
  • เทคโนโลยีที่มีการผลิตรวมกันจาก 2 ใน 4 อย่าง ได้แก่ Internet of Things, Mobile Phone, Sensors, & Machine Learning จะส่งผลให้คนเราปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างก้าวหน้า คือ รวดเร็วมากขึ้น ราคาถูกลงยิ่งขึ้น อายุยืนนานขึ้นถึง 100 ปี (คาดการณ์ในปี 2015) นั่นคือ Disruptive Innovation ใช้แทนที่ Disruptive Technology แล้วในปี 1995 คือ การสร้าง New Market of Business's Model & Value Network ในรูปแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurs/Startups) มาแทนที่การทำงานแบบบริษัทและองค์การต่างๆ  
  • ข้อมูลมากมายถูกสร้างขึ้นมาอย่างอิสระถึง 90% ไม่ได้รับการคัดกรองจนถึงวิเคราะห์ความเหมาะสมของการนำมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิต 
  • คนทำงานอยากได้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ อยู่เสมอ ชอบความอิสระไม่ทางการ ชอบไม่อยู่นิ่งเพราะจะล้าหลังจากผู้อื่น สังเกตว่า ทุก 100 ชม. ข้อมูลใน Youtube จะเปลี่ยนแปลงเร็ว คนทำงานจึงทนทำงานได้เพียง 4 ปี เพราะทักษะการทำงานที่สมดุลชีวิตของคนรุ่นใหม่เรียนรู้ 1 ครั้งจะนำมาใช้ได้จริงแค่ 4 ปีครึ่ง จึงกระหายที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Continuous & On Demand Learning) 
  • เมื่อ Machine Learning มีการพัฒนาข้อมูลตลอดเวลาจนตัดสินใจแทนเราได้อัตโนมัติ คนทำงานจีงประชุมงานแบบ Face to Face ลดลง 44% แล้วทำงานบน Social Media ถึง 70% จึงทำให้ปี 2017 คนจะทำงานแบบ Freelance มากขึ้นถึง 35% และเพิ่มเป็น 51% ในปี 2027 เกิดสัญญาจ้างงานกว่า 100 ประเภท เพราะมีความสนใจในงานที่หลากหลายและต้องการกระบวนการทำงานที่รวดเร็ว ปราศจากระเบียบบังคับที่ซับซ้อน เช่น ทำงาน 4 บริษัท แต่ละบริษัท (มีไม่เกิน 3-5 คนหุ้นส่วน หรือ ทำทุกอย่างคนเดียวบวกมี AI ช่วย) ทำ 1-3 วัน เข้าไปให้คุณค่าของตนเองสู่คุณค่าของงานที่บริษัทควรได้รับตามเวลาและค่าตอบแทนที่บริหารจัดการเองอย่างยุติธรรม 
  • ประเทศไทยถือเป็นเมืองหลวงแห่ง Internet เฉลี่ยใช้ Social Media ถึง 9 ชม.ครึ่ง แต่เข้าถึงข้อมูลที่สนุกสนาน ไม่ชอบอ่านความรู้ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์มากนัก 

2. ปรับคิดบวก

  • ทีมผู้บริหารรวมถึงคนทำงานที่มีภาวะผู้นำตามธรรมชาติทุกท่าน ควรเพิ่มคุณค่าแห่งตน จาก "รอบรู้ทุกเรื่อง" เป็น "ยอมรับฟังด้วยความเมตตา" และ ควรเพิ่มทักษะการเจรจาต่อรองด้วยความโปร่งใส ใส่ใจผู้รับสารเป็นศูนย์กลาง มีอารมณ์มั่นคง ฝึกคิดยืดหยุ่น และสื่อสารแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีทางเลือก เพราะคนรุ่นใหม่จะเข้าถึงข้อมูลแบบนิติธรรม (ถูกต้อง เรียกร้องสิทธิ์ ทำทุกอย่างที่ตำรวจไม่จับ ค้นข้อมูลลับมาเปิดเผย คุยกันในกลุ่มคนที่โดนเอาเปรียบเหมือนกัน) และมีอำนาจการตัดสินใจที่จะลาออกจากงานได้ทันที
  • องค์การควรจัดองค์กร (Organ of Organization) ให้มีการใช้เทคโนโลยีที่พร้อมต่อ Life & Work Balance เช่น มีห้องทานอาหารสุขภาพ มีห้องพักสมองงีบหลับ มีห้องการจัดการความรู้ และเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยตนเองแบบไม่ทางการ ไม่ต้องรอองค์การจัดอบรม ไม่ใช้เวลาประชุมเยอะ โดยเฉพาะเน้นการพัฒนาคนทำงานที่มีทักษะคิดวิเคราะห์วิจัยข้อมูลว่า จะนำข้อมูลมากมายมาใช้ชีวิตให้มีสุขภาวะได้อย่างไร
  • คนที่จะ Disruptive Creation ได้ควรฝึกมองสิ่งรอบตัวให้เกิด Productive Change ที่มีผลลัพธ์ให้ปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบ Creative Destruction ตั้งแต่ปี 1950 คือ ทำลายสิ่งเก่าๆ ที่ไม่มีการปรับตัว ให้สร้างสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้องคำนึงถึงกำไร แต่ "ทำอย่างไรให้ Digital Marketing เป็น the First Commercial Innovation ให้เร็วที่สุด" 
  • เราควร Innovate ตัวเองตลอดเวลา เมื่อเรา Disrupt อะไรได้ ไม่ควรหยุดนิ่ง เราต้อง Address PAIN POINT ของคู่แข่งให้เร็ว หาอะไรใหม่ๆ ตลอดเวลาทุกๆวัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆให้ยั้งยืนในการใช้ชีวิตระยะยาว เราควรมองข้ามสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ลองผิดลองถูกได้ แต่เมื่อผิดพลาดก็ปรับให้ดีขึ้นจะเกิดสิ่งใหม่ๆ เอง ไม่ควรผิดซ้ำซากจำเจ ไม่ต้องรอความสำเร็จที่ใหญ่โต ทำวันนี้ให้ Small Success 

3.   เปิดใจรู้

  • คนมีความเชื่อความเป็นตัวเองมากขึ้นในชาตินี้ มีทางเลือกกำหนดชีวิตด้วยตนเอง รู้ว่าทำไปแล้วจะได้ความสุขให้กับตัวเองอย่างไร ดังนั้น Gen BB (อายุ 54-72 ปี) กับ Gen X (อายุ 42-53) ควรเปิดใจยอมรับความจริง เพื่อเข้าใจ "ความต้องการที่แท้จริงของ Gen Y (อายุ 24-41) กับ Gen Z (อายุ 9-23 ปี)" แล้ว "ให้คุณค่าความเป็นตัวเองของ Gen นั่นๆ - มองปัญหาให้เกิดปัญญา" 
  • Gen ฺBB เชื่อในชะตาชีวิต อดทน เสียสละ กับ Gen X เชื่อข้อความใน Internet มีจิตมุ่งมั่นใน Sense of Excellence แต่ Gen Y&Z เชื่อคนใน Internet มีจิตมุ่งมั่นใน Sense of Survival 
  • คนทำงานในอนาคต คือ Gen Z ชอบเรียนรู้ทุกอย่างแบบโลกเสมือน ไม่ชอบทางการ (ชอบแต่งตัวฮิบปี้ - ยาว ยืด ยีนส์ ยาว ย่าม) ชอบหนังโป้ ไม่ชอบเป็นผู้ฟัง ชอบกรีดใช้อารมณ์ ชอบความเร็วใจร้อน คิดว่า "ฉันเป็นเด็ก ทุกคนต้องฟังฉัน" ต้องการความช่วยเหลือ ต้องการชีวิตมั่นคง ทำตามเพื่อน อาศัยกับพ่อแม่แต่อึดอัดเมื่ออยู่ใกล้พ่อแม่ มีโอกาสเรียนเก่งพ่อแม่โอบอุ้ม
  • เมื่อนายจ้างเป็น Gen ฺBB บ้าเรียนบ้างาน ก็จะมีพฤติกรรมตรงข้าม Gen ํY & Z ก็จะเห็นว่า Gen X จะลาออกก่อนเกษียณ บางคนไม่พอใจระบบงานแต่ทนอยู่ด้วยความภักดี บางคนเริ่มสนใจเทคโนโลยีแล้วเปลี่ยนเป็นผู้ประกอบการ สนใจสุขสนุกสนานอิสระเวลายืดหยุ่น ส่วน Gen Y ไม่สนใจนายจ้าง ไม่พอใจลาออกเลย เปลี่ยนงานได้เรื่อยๆ เรียกร้องผลประโยชน์เสมอ ต้องการเป็นที่หนึ่ง ไม่เก็บอารมณ์ ชอบของแปลก หลงรูปร่างหน้าตา ระแวง Ego สูง ห่วงภาพลักษณ์ ทุกคนคือเพื่อน ไม่มีคนไทย มีแต่มนุษย์โลก 
  • ถ้าไม่สนใจอายุ เราคือ C - Gen ได้แก่ ดูแลทุกคนเป็นปัจเจก มิใช่ภาพรวม เราติดต่อในชุมชนที่มีแต่สิ่งอำนวยความสะดวกแบบ Connection & Community  Online Browsing) มีข้อมูลมากมายสร้างสรรค์ (Creativity & Content Creation) ทำให้ชอบความสบายๆ ควบคุมด้วยตนเองแบบดูแลฉันในสิ่งที่ฉันเป็นในทุกเรื่อง (Casual Controlling Customization) เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค (Co-Production e.g. City Car แชร์ใช้รถประหยัด) ชอบติดตามดารา (Celebrity) 

4. ปราชญ์ทำดี

  • จงสร้างวิสัยทัศน์แห่งการสร้างแรงบันดาลใจให้โอกาสแก่คนทุกคน ได้แก่ เวลาทำงานยืดหยุ่น ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ชักจูงสื่อสารแบบกัลยาณมิตรมากกว่าแบบบังคับบัญชา มีสวัสดิการที่สร้างสรรค์พอเหมาะด้วยไอเดีย We Make Life to The World Better
  • จงพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล พร้อมๆ กับสร้างจิตวิญญาณแห่งการทำงานเป็นทีม (Team Spirit) ที่มีความสัมพันธ์และรักษาสัมพันธภาพแบบสุจริตชนสู่ไว้ใจชน (Integrity to Trust)
  • จงออกแบบกลยุทธ์ที่มีแนวทางการจัดการทักษะชีวิตที่สมดุลทั้งการทำงานต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองกับการดูแลสุขภาพตนเองพร้อมมีความสุขกับคนรัก-ครอบครัว (Dual Life Management) ทั้งนี้มีการพัฒนาเส้นทางแห่งการได้กำไรทางการเงินและทางสังคมควบคู่กันไป (Development of Financial & Social Profitability)    

หมายเลขบันทึก: 658369เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2018 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท