โรคธาลัสซีเมีย





20181126231728.pdf

 บทที่ 2

วรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง


ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาวรรณกรรมและเอกสารที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้

  2.1. ความหมายและลักษณะทั่วไปของโรคธาลัสซีเมีย

  2.2. อาการของโรคธาลัสซีเมีย

  2.3. ประวัติและความเป็นมาของโลกธาลัสซีเมียในประเทศไทย

  2.4. การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย

  2.5. อาหารสำหรับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

2.1 ความหมายและลักษณะของโรคธาลัสซีเมีย

       โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางที่เกิดจากสาเหตุพันธุกรรม“ธาลัสซีเมีย”คำว่ามาจาก ภาษากรีก“ธาลัสสา” แปลว่าทะเล เพราะแต่เดิมพบว่าผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมาจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน

    ธาลัสซีเมียเป็นกลุ่มโรคผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดงก่อให้เกิดพยาธิสภาพแท อวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมีย มีทั้งผู้แสดงอาการและไม่แสดงอาการของโรค อาการของโรคธาลัสซีเมียก็จะแตกต่างกันไป ตั้งแต่อาการโลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมากะ แล รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่กี่นาทีโดยทั่วไปโรคธาลัสซีเมียมีอาการที่ สังเกต ดังนี้ (วาสิกา สิงหโกวินท์ และคณะ, ม.ป.ป.)   ลักษณะทั่วไปของธาลัสซีเมีย เป็นเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มีอาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่ปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดงแต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติอยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากรทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัดๆ มีประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิดซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันไป


2.2. อาการของโรคธาลัสซีเมีย 

    อาการของธาลัสซีเมียจะปรากฏลักษณะของอาการและระดับความรุนแรงแตกต่างกันไปตามประเภทธาลัสซีเมียที่เป็น ทารกบางคนอาจแสดงอาการตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่เด็กบางคนจะแสดงอาการในช่วง 1-2 ขวบ และสำหรับผู้ที่มีธาลัสซีเมียเพียงยีนเดียวหรือเป็นธาลัสซีเมียแฝงจะไม่ปรากฏอาการป่วยใด ๆ โดยธาลัสซีเมียแต่ละประเภทประกอบไปด้วยธาลัสซีเมียแฝงหรือธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor) อัลฟ่าธาลัสซีเมีย(Alpha-Thalassemia)และเบต้าธาลัสซีเมีย(Beta-Thalassemia)ซึ่งแต่ละประเภทมีอาการ ดังนี้(ที่มา:พแพทย์https://www.pobpad.com/ธาลัสซีเมีย/อาการธาลัสซีเมีย) 

 ธาลัสซีเมียแฝงและธาลัสซีเมียไมเนอร์ (Thalassemia Minor) ผู้ที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียแฝงจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ ออกมา หรือหากเกิดอาการก็อาจพบภาวะโลหิตจางเพียงเล็กน้อย 

 อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (Alpha-Thalassemia) ประกอบด้วยธาลัสซีเมียชนิดย่อยอีก 2 ประเภท ได้แก่ โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H Disease) และภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrops Fetalis) ซึ่งธาลัสซีเมียทั้ง 2 ประเภทมีอาการดังนี้ 

 โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H Disease) สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อกระดูก โดยกระดูกตรงโหนกแก้ม หน้าผาก และขากรรไกรจะโตผิดปกติ โดยผู้ที่ป่วยเป็นโรคฮีโมโกลบินเอชจะป่วยเป็นดีซ่านซึ่งทำให้เด็กผิวเหลืองหรือดวงตามีสีขาว ม้ามโตผิดปกติ และประสบภาวะขาดสารอาหาร และมีการเจริญเติบโตผิดปกติ 

 ภาวะทารกบวมน้ำ (Hydrops Fetalis) จัดเป็นภาวะธาลัสซีเมียที่รุนแรงมาก โดยภาวะทารกบวมน้ำจะเกิดขึ้นก่อนเด็กคลอดออกมา เด็กที่เกิดภาวะนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือเสียชีวิตหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน 

 เบต้าธาลัสซีเมีย (Beta-Thalassemia) ประกอบด้วยธาลัสซีเมียย่อยอีก 2 ประเภท ได้แก่ ธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia Major) หรือคูลลี แอนิเมีย (Cooley’s Anemia) และธาลัสซีเมียอินเตอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) ซึ่ง 2 ประเภทมีลักษณะอาการเฉพาะดังนี้ 

 ธาลัสซีเมียเมเจอร์ (Thalassemia Major) หรือคูลลี ธาลัสซีเมีย (Cooley’s Thalassemia) อาการของธาลัสซีเมียชนิดนี้จะปรากฏก่อนเด็กอายุครบ 2 ปี โดยผู้ป่วยจะออกอาการรุนแรงมากจนต้องได้รับการถ่ายเลือดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะโลหิตจางขั้นรุนแรงอันเป็นผลมาจากธาลัสซีเมียชนิดนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต เด็กที่ป่วยเป็นธาลัสซีเมียเมเจอร์มักมีผิวซีด ติดเชื้อบ่อย น้ำย่อยไม่ดี ร่างกายแคระแกร็น มีภาวะซีด เหลือง เป็นดีซ่าน ท้องโตจากตับและม้ามโตผิดปกติ 

 ธาลัสซีเมียอินเตอร์มีเดีย (Thalassemia Intermedia) ธาลัสซีเมียชนิดนี้ถือว่าเป็นอาการของเบต้าธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงน้อย ผู้ที่ป่วยไม่จำเป็นต้องได้รับการถ่ายเลือด

2.3. ประวัติและความเป็นมาของโลกธาลัสซีเมียในประเทศไทย

    ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นกลุ่มของความผิดปกติทางพันธุกรรมของเม็ดเลือดแดงอันสามารถก่อให้เกิดพยาธิสภาพแทบทุกอวัยวะทั่วทั้งร่างกาย ธาลัสซีเมียพบชุกชุมมากในประชากรของประเทศไทย ในเอเชียอาคเนย์ และในส่วนอื่นๆ ของโลกในประเทศไทยมีผู้ที่มีกรรมพันธุ์หรือยีน (Gene) ธาลัสซีเมียกว่า 10 ล้านคน ผู้ที่มียีนธาลัสซีเมียมีทั้งผู้ที่เป็นโรคและไม่เป็นโรค ผู้ที่เป็นโรคมีอาการต่าง ๆ กัน ตั้งแต่มีโลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมาก ไปจนถึงเป็นโรคที่รุนแรงมาก จนเสียชีวิตทั้งหมดตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่กี่นาที ผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดต่างๆ รวมกันมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของประชากร ด้วยจำนวนประชากรขณะนี้จำนวนประมาณ 60 ล้านคน ก็จะมีจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียประมาณ 600,000 คน ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีอาการหนักจะมีความทุกข์ทรมานมากจากการมีโลหิตจางเรื้อรัง ความผิดปกติในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ความพิการ ความป่วย ความเจ็บ ทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งของตนเองและครอบครัว รวมทั้งเป็นภาระหนักกับแพทย์ พยาบาลที่จะต้องให้การดูแลรักษาโรคที่ไม่มีวันหายธาลัสซีเมียจึงเป็นภาระหนักทางการแพทย์ สังคม เศรษฐกิจของประเทศ ในประเทศไทยมีการทำวิจัยเรื่องธาลัสซีเมียมานาน โดยเฉพาะเริ่มต้นที่คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จนกระทั่งถึงระดับเป็นผู้นำทางวิชาการเรื่องธาลัสซีเมียแห่งหนึ่งของโลก บัดนี้ได้มีความก้าวหน้าทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอันมาก จนกระทั่งจากการที่ว่าธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุ์กรรม ไม่มีทางทำอะไรได้ กลับเป็นว่าสามารถป้องกันควบคุมช่วยลดการเกิดของคนเป็นโรคนี้ และมีวิธีรักษาที่ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย หรือถึงกับหายขาดจากโรคธาลัสซีเมียก็ยังเป็นได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น 3ประการ กล่าวคือ

  ประการที่ 1 ประเทศไทยมีผู้เป็นโรคนี้มากจนเป็นภาระหนักของประเทศ 

  ประการที่ 2 ประเทศไทยมีพื้นฐานเป็นผู้นำทางวิชาการด้านนี้ในระดับโลก 

  ประการที่ 3 มีความก้าวหน้าทางวิชาการที่สามารถควบคุมโลกนี้ได้ 

  จึงเป็นการสมควรที่จะมีแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ เพื่อสร้างโครงสร้างทางวิชาการที่เข้มแข็งสามารถพัฒนาวิชาการให้อยู่ในระดับแนวหน้า ผลิตคนที่มีความรู้ความชำนาญให้ครบทุกด้านและมีจำนวนมากพอ เพื่อทำการควบคุมโรคธาลัสเมียทั้งประเทศ และโดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นำในภูมิภาคนี้ ซึ่งมีโรคธาลัสซีเมียชุกชุม แผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ ควรจะรวมถึงแผนที่จะช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านด้วย ธาลัสซีเมียคืออะไร ในเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรมีเม็ดเลือดแดงประมาณ 5 ล้านเม็ด ในเม็ดเลือดแดงแต่ละเม็ดมีสารสีแดงที่เรียกว่าฮีโมโกลบินประมาณ 300 ล้านอณู โครงสร้างของอณูของฮีโมโกลบีน ควบคุมโดยยีน ความผิดปกติที่ยีนแม้น้อยนิดก่อให้เกิดความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน มีความผิดปกติในการสร้างฮีโมโกลบิน 2 ประเภท ประเภทที่ 1 เกิดเป็นฮีโมลโกลบินชนิดผิดปกติ ที่พบแล้วกว่า 1000 ชนิด ในประเทศไทยก็พบหลายชนิด เช่น ฮีโมโกลบิน ศิริราช ฮีโมโกลบินอานันทราช ฮีโมโกลบินสยาม ฮีโมโกลบินธนบุรี ฮีโมโกลบินตาก ฯลฯ แต่ที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ ฮีโมโกลบินอี (Hb E) 2. ฮีโมโกลบินคอนสแตนท์ สปริง (Hb Constant Spring) เดิมเรียกฮีโมโกลบินไทยประเภทที่ 2 ธาลัสซีเมีย หมายถึง การสร้างเส้นโปรตีนอันเป็นส่วนประกอบของอณูของฮีโมโกลบินได้น้อยไป มีชนิดใหญ่ ๆอยู่ 2 ชนิด สุดแล้วแต่เส้นโปรตีนใดที่น้อยไป คือ 1. แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia) 2. เบต้า ธาลัสซีเมีย (β –thalassemia) ทั้งแอลฟ่าและเบต้าธาลัสซีเมีย ยังมีชนิดแยกย่อยลงไปอีกมาก เมื่อกล่าวถึงธาลัสซีเมียจะหมายรวมถึง ทั้งธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินที่ผิดปกติเพราะมีความสัมพันธ์กัน ความชุกชุมของธาลัสซีเมียในประเทศไทย ตารางข้างล่างแสดงความชุกชุมของธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติที่พบบ่อยในประเทศไทย

ตารางที่ 1 ความชุกของธาสัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติในประเทศไทย

ที่มา : ศูนย์ข้อมูลติดเชื้อและพาหะนำโรคhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifcnih/anih1001c.asp?info_id=403)

  แอลฟ่า ธาลัสซีเมีย พบสูงมากในคนไทยภาคเหนือและลาว ที่เวียงจันทร์พบสูงถึง 40% ส่วนฮีโมโกลบิน อี นั้นพบสูงในคนเชื้อสายเขมร ตรงรอยต่อระหว่างไทย-ลาว-เขมร พบฮีโมโกลบินฮีสูงถึง 50-60% ในประชากร ส่วนในคนจีนแท้เกือบไม่พบฮีโมโกลบินอีเลย ในผู้ที่เป็นพาหะของยีน คือมียีนปกติเหล่านี้ตัวใดตัวหนึ่งจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่จะถ่ายทอดยีนปกติให้หลานเรี่อยลงไป แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนผิดปกติ ลูกบางคนจะได้ยีนผิดปกติตั้งแต่ 2 ยีนขึ้นไปซึ่งอาจทำให้เกิดโรคขึ้นได้ โรคธาลัสซีเมียจึงเกิดจากการมียีนผิดปกติบางชนิดอยู่พร้อมกันมากกว่าหนึ่งยีน โรคธาลัสซีเมียที่พบบ่อยในประเทศไทยมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.Hb Bart’s hydrops fetalis 

2.Hb H diseaseHomozygous 

3.β-thalassemia

4.β-thalassemia / Hb E disease

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่ละชนิดที่เกิดในแต่ละปีและจำนวนที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ (ฮบ.อี = ฮีโมโกลบิน อี)

ที่มา : (ศูนย์ข้อมูลติดเชื้อและพาหะนำโรคhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifcnih/anih1001c.asp?info_id=403)

รวมผู้ป่วยธาลัสซีเมียทุกประเภทที่คาดว่ายังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันประมาณ 523,750 คน

2.4. การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย การป้องกันโรคธาลัสซีเมียมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

   การคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ (pregnancy screening) หมายถึงการตรวจเลือดหญิงตั้งครรภ์เริ่งตั้งแต่ว่า ตัวหญิงผู้ตั้งครรภ์เองเป็นพาหะของยีนธาลัสซีเมียหรือฮีโมโกลบินผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้หรือไม่ คือ α-thalassemia1 β-thalassemiaHb E ถ้าไม่พบว่าเป็นพาหะของยีนชนิดใดชนิดหนึ่งดังกล่าวข้างต้น เป็นอันว่าลูกที่อยู่ในครรภ์จะไม่มีความเสี่ยงว่าจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย ไม่ต้องตรวจสามีว่ามียีนธาลัสซีเมียหรือไม่ แต่ถ้าพบว่าหญิงตั้งครรภ์ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นพาหะสำหรับยีนอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ขอตรวจเลือดสามีว่าเป็นพาหะของยีนดังกล่าวหรือไม่ ถ้าสามีปกติ แปลว่าคู่แต่งงานนี้ไม่ใช่คู่เสี่ยง (couple at risk) ที่จะมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย แต่ถ้าสามีเป็นพาหะต่อยีนอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวข้างต้น อาจเป็นคู่เสี่ยงว่าจะมีลูกเป็นธาลัสซีเมียการให้คำปรึกษาหารือ ( counseling) ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม (genetic ounselor) ในกรณีที่เหมาะ คือ พยาบาลที่ได้รับการศึกษาอบรมเกี่ยวกับเรื่องนี้จนเชี่ยวชาญ ขอย้ำคำว่า เชี่ยวชาญ เพราะถ้าไม่เชี่ยวชาญอาจให้คำแนะนำผิดๆ ก่อให้ความยุ่งยากโกลาหลแก่ครอบครัวได้มาก2.คู่เสี่ยงหมายถึงคู่ที่แสดงในตารางที่ 3 ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 3 แสดงคู่แต่งงานที่จะมีลูกเป็นธาลัสซีเมีย

ที่มา : (ศูนย์ข้อมูลติดเชื้อและพาหะนำโรคhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifcnih/anih1001c.asp?info_id=403)

   นี่เป็นการแสดงคู่เสี่ยงที่ง่ายที่สุด อาจมีคู่เสี่ยงที่ยุ่งยากกว่านี้ การที่คู่แต่งงานเป็นพาหะของยีนผิดปกติทั้งสองคนไม่จำเป็นต้องเป็นคู่เสี่ยงหรือ Hb E หรือทั้งคู่เป็นพาหะของ Hb E อย่างนี้ไม่ใช่คู่เสี่ยง ที่แสดงมานี้เพื่อให้เห็นว่าบทบาทของผู้ให้คำปรึกษา ( ounselor) ที่เชี่ยวชาญมีความสำคัญมาก เป็นผู้ที่ต้องรู้เท่าทันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ความหมายของกลุ่มสภาวะธาลัสซีเมียต่างๆ กลไกการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความเข้าใจและความรู้สึกของผู้รับคำปรึกษา ผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมนี้ ยังมีความจำเป็นในกรณีอื่นๆ เช่น คู่แต่งงานที่เคยมีลูกเป็นธาลัสซีเมียมักจะถามว่าถ้ามีลูกอีกจะเป็นโรคนี้อีกหรือไม่ ไม่ควรจะไปตรวจกรองในประชากรทั่วไป (population screening) เพราะจะทำให้เกิดความโกลาหลมาก แต่ควรจะตรวจในกรณีจำเพาะและมีผู้คอยให้คำแนะนำ เช่น ตรวจหญิงตั้งครรภ์ดังกล่าวข้างต้น

  การวินิจฉัยก่อนคลอด สำหรับคู่เสี่ยงว่าลูกในท้องจะเป็นโรคธาลัสซีเมียที่ต้องการให้วินิจฉัยว่าบุตรในครรภ์ เป็นโรคหรือไม่เป็นโรคสามารถทำการวินิจฉัยก่อนคลอดได้ ซึ่งมี 2 ขั้นตอน คือ ก. การเอาเซลล์ของทารกในครรภ์ ( fetal sampling) ต้องมีสูติแพทย์ที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะที่จะเจาะเลือดจากสายสะดือทารกที่อยู่ในครรภ์หรือไปตัดเนื้อ chorionic villi ข. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ต้องมีนักวิทยาศาสตร์ที่ชำนาญการตรวจ DNA หายีนผิดปกติและแปลผลได้แม่นยำว่าทารกในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่

    การให้คำปรึกษาและให้ทางเลือกในการทำแท้ง (selective abortion) อธิบายผลการตรวจให้ทั้งภรรยาและสามีฟังพร้อมกันอย่างละเอียด ในกรณีที่ผลการตรวจบอกว่าเด็กในครรภ์เป็นโรคธาลัสซีเมียและสามีภรรยาเข้าใจถึงผลของมัน มักจะขอให้แพทย์ทำแท้งให้ ในกรณีอย่างนี้ก็จะเป็นการช่วยให้คู่เสี่ยงมีลูกเฉพาะที่ไม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเท่านั้น โดยที่ประเทศไทยมีหญิงตั้งครรภ์ปีละเกือบ 1,000,000 คน เมื่อแผนงานธาลัสซีเมียดำเนินไปอย่างเต็มที่ จะต้องสามารถตรวจกรองหญิงตั้งครรภ์ให้ได้ทั้งหมด อันหมายถึงว่าในแต่ละจังหวัดจะต้องมีสถานที่ที่สามารถให้การตรวจวินิจฉัยธาลัสซีเมียได้หนึ่งแห่ง หรือมิฉะนั้นก็ต้องสามารถส่งเลือดไปตรวจที่ศูนย์วิจัยแห่งใดแห่งหนึ่ง จากหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 1,000,000 คน จะตรวจพบคู่เสี่ยงที่จะมีลูกเป็นธาลัสซีเมียรุนแรงประมาณ 20,500 คู่ ทั้ง 20,500 คู่นี้ต้องการบริการการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด ถ้าแต่ละศูนย์ที่สามารถทำการวินิจฉัยก่อนคลอดได้สัปดาห์ละ 10 คน หรือปีละ 500 คน จะต้องการศูนย์การแพทย์ที่สามารถให้การวินิจฉัยก่อนคลอดอย่างน้อย 40 ศูนย์ จึงจะสามารถให้บริการได้ทั่วถึงเพียงพอที่จะป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียในประเทศไทยได้จริง(ศูนย์ข้อมูลติดเชื้อและพาหะนำโรคhttp://webdb.dmsc.moph.go.th/ifcnih/anih1001c.asp?info_id=403)

2.5. อาหารสำหรับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย

     อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียโดยทั่วไปมักจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายน้อยกว่าปกติ มีภูมิคุ้มกันต่ำและความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อย ดังนั้นอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยธาลัสซีเมีย คืออาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลาทะเล เนื้อไก่ ธัญพืชต่างๆเช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวกล้อง ข้าวบาเลย์ เป็นต้น อาหารทีมีกรดโฟลิก (Folic acid) สูง เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง เช่น ตำลึง กะหล่ำ มะเขือเทศ คะน้า ถั่วงอก เป็นต้น อาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินดีสูงเพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน เช่น ผลิตภัณฑ์นม ใบย่านาง ใบชะพลู ใบแค ใบยอ ผักโขม ใบสะระแหน่ ผักหวาน ฟักอ่อน ใบตำลึง ผักกวางตุ้ง ผลไม้ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะขามหวาน มะม่วงแก้วสุก นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอีและวิตามินซีสูง เพื่อช่วยลดภาวการณ์เกิดอนุมูลอิสระในร่างกายจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น มะละกอ ฟักทอง เสาวรส ฝรั่ง มะยม ผักหวาน เป็นต้น 

  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่มีความรุนแรงของโรคมากและปานกลางควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น หอยชนิดต่างๆ สัตว์ที่มีเนื้อแดงเช่น เนื้อวัว เนื้อหมู ผลิตภัณฑ์จากเลือด เครื่องในสัตว์ เมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ ดาร์กช็อกโกแลต ผักกูด ผักกะเพาแดง เป็นต้น (ตารางที่ 4 และ 5) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (Heme iron food) ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารดังกล่าวได้ดีกว่าธาตุเหล็กที่พบในพืชต่างๆ (Non-heme iron food) และไม่รับประทานพืชที่มีธาตุเหล็กสูงร่วมกับอาหารที่เพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชต่างๆ ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินซีสูงเช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะเขือเทศ ส้ม เนื้อสัตว์ และแอลกอฮอล์ ตัวอย่างรายการอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยวใส่เลือดหมูและดอกงิ้ว เนื้อวัวแดดเดียว หมูหยอง ก๋วยเตี๋ยวน้ำตก ออส่วนหอยนางรม หอยแมลงภู่ทอด น้ำพริกกุ้งเสียบ แกงหอยขม กุ้งเต้น ส้มตำไทยใส่กุ้งแห้ง น้ำพริกกะปิกับดอกโสนลวก เป็นต้น นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชได้แก่ ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีน นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำเต้าหู้ (ผศ.ดร.ภญ. ปิยนุช โรจน์สง่า,2558)

ตารางที่ 4 ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีปริมาณธาตุเหล็กสูง

ที่มา : (ปิยนุช โรจน์สง่า https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/258/)


ตารางที่ 5 ผลิตภัณฑ์จากพืชและเห็ดที่มีปริมาณธาตุเหล็กสูง

ที่มา : (ปิยนุช โรจน์สง่า https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/258/)

    สรุปได้ว่า โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคโลหิตจางหรือภาวะซีดชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นในครอบครัวและมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งสาเหตุเกิดจากเม็ด เลือดแดงผิดปกติและได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก เมื่อลูกได้รับการถ่ายทอดจะทำให้มีการสร้างฮีโมโกลบิน ที่ผิดปกติส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายและมีอายุสั้นลง เป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะซีด หรือมีโลหิตจางเรื้อรัง โรคนี้สามารถเป็นได้ทั้งหญิงและชาย ซึ่งระดับความรุนแรงของโรคจะแตกต่างกัน โดยผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการซีด ตาเหลือง ตับโต ม้ามโต ใบหน้าเปลี่ยน ดั้งจมูกแบนแฟบ กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มสูง คางและขากรรไกรกว้าง ฟันบนยื่น กระดูกบางเปราะง่าย ผิวหนังดำคล้ำ ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงมากจนถึงขั้นเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดภายใน 24 ชั่วโมงได้


บรรณานุกรม

วิปร วิประกษิต.(2556). บทความพิเศษ “ธาลัสซีเมีย” :

การดูแลรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแบบบรูณาการ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต. ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2556.

พบแพทย์.(2560). ความหมาย “ธาลัสซีเมีย”.จากเว็บไซต์ https://www.pobpad.com/ ธาลัสซีเมีย.สืบค้นเมื่อ 5/11/2561

เมดไทยเว็บไซต์ให้ข้อมูลด้านการแพทย์.(2560).สาเหตุของโรคธาลัสซีเมีย.จากเว็บไซต์https://medthai.com/ธาลัสซีเมีย.สืบค้นเมื่อ 5/11/2561

พญ.วรวรรณ ตันไพจิตร.(2559).ตารางยีนการเกิดโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย.จากเว็บไซต์http://weddingsquare.com/thalassimia-past-3/.สืบค้นเมื่อ 23/11/2561

วาสิกา สิงหโกวินท์ และคณะ, ม.ป.ป.(2558).ความหมายโรคธาลัสซีเมีย.จากเว็บไซต์http://www.kcn.ac.th/KCN-Journal/Journal/12557/Job%2020150213_5.pdf.สืบค้นเมื่อ 23/11/2561

พบแพทย์.(2560).อาการของโรคธาลัสซีเมีย.จากเว็บไซต์https://www.pobpad.com/ธาลัสซีเมีย/อาการธาลัสซีเมีย.สืบค้นเมื่อ 24/11/2561

ศูนย์ข้อมูลติดเชื้ออและพาหะนำโรค.(2557).โรคธาลัสซีเมียในประเทศไทย.จากเว็บไซต์http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=403.สืบค้นเมื่อ 24/11/2561

ศูนย์ข้อมูลติดเชื้ออและพาหะนำโรค.(2557).การป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมีย.จากเว็บไซต์http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=403.สืบค้นเมื่อ 24/11/2561

ปิยนุช โรจน์สง่า .(2558).ธาลัสซีเมีย...กินอย่างไรให้เหมาะสม.จากเว็บไซต์https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/258/.สืบค้นเมื่อ 24/11/2561


หมายเลขบันทึก: 658265เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2018 22:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2018 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท