peter
นาย กฤษณะพงศ์ ต่อ สุวรรณโชติ

นายดี


ชาเขียว
กระแสการบริโภคชาเขียวกำลังเป็นที่นิยม ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากชาเขียวกลายเป็นสินค้าที่มียอดขายสูง

ปัจจุบันกระแสการบริโภคชาเขียวกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ทำให้มีการนำชาเขียวมาดัดแปลงเป็นสินค้าที่มีอยู่ตามท้องตลาดมากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากชาเขียวกลายเป็นสินค้าที่มียอดขายสูง

นอกจากนี้ นายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทยยังบอกถึงคุณสมบัติหลักของชาเขียวด้วยว่า นอกจากสรรพคุณในเรื่องของการขับพิษ ขับปัสสาวะ ขับไขมันในเส้นเลือด ทำให้เย็น ชุ่มคอแล้ว รสขมอมหวาน หอม ในชาเขียวยังให้ประโยชน์ในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรค ทั้งยังช่วยผ่อนคลายอารมณ์ สงบประสาท ระบายความร้อนตื้อ จากศีรษะและเบ้าตา ช่วยให้สดชื่น ไม่ง่วงนอน ช่วยให้หายใจสดชื่น เจริญอาหาร แก้เมาเหล้า ทำให้สร่างเมา ขับปัสสาวะ ป้องกันนิ่วในถุงน้ำดีและในไต และสามารถขับเหงื่อ แก้หวัด


ขณะเดียวกันชาเขียวยังช่วยแก้กระหาย ระบายร้อนจากระบบปอด ขับเสมหะ ขับไขมัน ลดความอ้วน แก้ร้อนใน ขับพิษตกค้าง บิด ท้องร่วง ท้องเสีย ช่วยทำให้ฟันแข็งแรงและที่ได้ผลดีคือสามารถเป็นยาอายุวัฒนะ

อย่างไรก็ตาม นอกจากความมหัศจรรย์ของชาเขียวที่สามารถรักษาโรคภายในได้แล้วยังสามารถช่วยรักษาโรคภายนอกได้ด้วย เช่น พอกแผลอักเสบ พุพอง ฝีหนอง ไฟไหม้ ผื่นคัน ผิวร้อนแห้ง ช่วยให้ตาสว่าง เย็น ไม่อักเสบ สามารถดับกลิ่น เป็นยากันยุง และนำไปทำหมอนใบชาเพื่อลดอาการปวดหัวเวลานอนได้อีก


ชาเขียวสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรคแต่จะต้องกินให้ถูกวิธีและใช้ให้เหมาะสมกับร่างกาย

ทั้งนี้ ชาที่ดีจะต้องมีรสขมอมหวานและมีกลิ่นหอม โดยในชาเขียวมีสารต่างๆ ที่อยู่ในใบชา 300-400 ชนิด แต่มีสารสำคัญอยู่ 6 ชนิด คือ 1.กาเฟอีนซึ่งช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ และสามารถขับปัสสาวะได้ดี 2.ทิโอฟิลีนช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยในการขับปัสสาวะ 3.ทิโอโบรมีนช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีผลต่อการเต้นของหัวใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและช่วยในการขับปัสสาวะ 4.แทนนิน 5.มีวิตามินต่าง ๆ เช่น B1,B2,B3,B5, A,D,E,K, C และ 6.มีแร่ธาตุ,ไขมันและน้ำตาล

นายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แม้ชาเขียวจะมีประโยชน์กับร่างกายมากมาย แต่ในความจริงก็มีสารที่มีโทษกับร่างกายด้วยเช่นกันโดยสามารถส่งผลข้างเคียงต่อร่างกาย แต่ไม่ถึงกับเป็นอันตรายมากนัก ส่วนมากจะเกิดกับคนที่มีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง โดยเมื่อดื่มแล้วอาจมีอาการใจสั่น นอนไม่หลับ ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทั้งยังอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ฟันดำ และหากดื่มอย่างต่อเนื่องอาจเป็นการเสพติดได้

“สำหรับชาเขียวในที่นี้ ไม่ใช้เครื่องดื่มชาเขียวที่มีจำหน่ายเป็นขวดในท้องตลาด แต่เป็นชาเขียวที่ต้องเป็นชาที่ชงเองแต่อย่าชงทิ้งไว้ควรดื่มตอนร้อน ๆ และไม่ควรใส่น้ำตาลทรายขาวลงไปในการชงชาเพราะจะทำให้คุณสมบัติทางยาของชาเขียวหมดไป”มานพสรุปอย่างตรงไปตรงมา

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้หลายโรคแต่จะต้องกินให้ถูกวิธีและใช้ให้เหมาะสมกับร่างกาย จึงจะทำให้การดื่มชาเขียวเกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพราะในการวิจัยผู้ดื่มชาเขียวเป็นประจำยังไม่พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้ ได้รับโทษจากการดื่มชาเขียว แต่กลับกันกลุ่มคนเหล่านี้กับมีร่างกายที่แข็งแรง และยังมีภูมิคุ้มกันในการต้านโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดี แล้ววันนี้คุณดื่มชาเขียวแล้วหรือยัง
คำสำคัญ (Tags): #สาระดี
หมายเลขบันทึก: 65701เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2006 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท