13 ตุลาคม 2561 : จุดเทียน 4,000 เล่ม มมส ๙ต่อ น้อมรำลึกคนบนฟ้า


อย่างน้อยเราก็ปักหมุดชัดเจนแล้วว่าจะร่วมกันทำความดี (กิจกรรมความดี) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 พร้อมๆ กับการบ่มเพรราะเรื่องจิตอาสา-อาสาสมัคร อย่างค่อยเป็นค่อยไป บนฐานความคิด บนภารกิจหลักหรือบนกิจวัตรประจำวันของตนเองเป็นหัวใจหลัก

ต่อเนื่องจากเรื่อง 2 เรื่องก่อนหน้านี้ คือ ตักบาตร-บริจาคโลหิต : ทำดีเพื่อพ่อ ทำดีเพื่อแผ่นดิน   และ  จิตอาสาจากเรื่องใกล้ตัว : ทำดีเพื่อพ่อ ทำดีเพื่อแผ่นดิน   ผมก็ยังมีเรื่องที่อยากจะเขียนต่ออีกสักหน่อย  นั่นก็คือเรื่องราวของการแสดงความรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9  เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ท่าน 


กิจกรรมน้อมรำลึกที่ว่านี้  จัดขึ้นในช่วงเย็นของวันที่ 13 ตุลาคม 2561 ณ สนามหญ้าอาคารพัฒนานิสิต  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ภายใต้การขับเคลื่อนหลักของเครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม (ทำดีเพื่อพ่อ  ทำดีเพื่อแผ่นดิน) และเครือข่าย ๙ ต่อBefore After 

เรียกได้ว่า เป็นกิจกรรมในแบบฉบับ "ใจนำพา ศรัทธานำทาง"  หรือ "โดยนิสิต เพื่อนิสิต" ขนานแท้เลยทีเดียว  เพราะในภาพรวมทั้งหมดเกือบร้อยทั้งร้อย  นิสิตเป็นคนคิดและออกแบบกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง  ผมทำหน้าที่หนุนเสริมเล็กๆ น้อยๆ  เท่านั้นเอง  ไม่ได้สั่งการว่าต้องเป็นรูปแบบใด  ขนาดเท่าไหร่  จำนวนคนกี่คน  งบเท่าไหร่  ประชาสัมพันธ์อย่างไร ฯลฯ

เกือบทั้งหมดนิสิต คิอเอง  ตัดสินใจเอง  แล้วนำมาแจ้งและหารือกับผมเป็นระยะๆ เป็นการภายใน  แล้วลงมือทำเองอย่างเป็นทีม  -  


สำหรับผมแล้ว  ผมให้คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ  และหนุนเสริมประปราย เช่น  จัดหางบประมาณสำรองจ่าย  ทำหนังสือติดต่อส่วนงานต่างๆ ทั้งการขอความอนุเคราะห์และเรียนเชิญมาร่วมงาน  การแจ้งข้อมูลต่อผู้สื่อข่าวผ่านกองประชาสัมพันธ์และกิจการพิเศษ  และงานประชาสัมพันธ์ฯ ของกองกิจการนิสิต  

นอกจากนั้นก็แนะนำเชิงความคิดอื่นๆ เสียมากกว่า  เช่น

  • ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนนำเทียนมาคนละเล่ม  ดีกว่าต้องจัดซื้อเองทั้งหมด
  • ประชาสัมพันธ์ให้คนอื่นมาช่วยเตรียมงานล่วงหน้า  โดยเฉพาะคนที่อาจไม่ได้อยู่ร่วมในงานวันจริง
  • ไม่ติดยึดกับจำนวนเต้นท์ที่จะมาติดตั้ง  เพราะบางทีอาจเป็นการพะรุงพะรุง  เนื่องจากติดตั้งและใช้งานเพียงชั่วอึดใจ  กลายเป็นฟุ่มเฟือยเรื่องงบและใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่
  • จัดทำเนื้อเพลงแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมงานได้ร้องเพลงร่วมกัน  
  • การให้เกียรติต่อเพื่อนนิสิต ผู้บริหาร และเหล่าบรรดาศิลปินที่มาร่วมเป็นแกนหลักในกิจกรรม
  • การใช้จ่ายงบประมาณให้พอเพียง  เหมาะสมต่องาน และคน
  • การจัดทำฐานข้อมูลรองรับผู้มาร่วมงาน  
  • การมอบหมายงานต่อสมาชิก  เพื่อสร้างคนและสร้างงานให้เป็นรูปธรรม
  • การสั่งการแบบมีแกนนำ/รวมศูนย์  ไม่ใช่ต่างคนต่างสั่ง และต่างคนต่างทำงานในสายงาน  จนดูเป็นการแยกส่วนออกจากกันอย่างสิ้นเชิง  
  • ฯลฯ

การแปรภาพอักษร/แปรอักษรภาพนั้น  ยืนยันว่านิสิตคิดเองทั้งหมด  ผมแค่ปรับแต่งภาษา หรือปรับแต่งนิยามความหมายเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น  

จะว่าไปแล้ว  นี่ไม่ใช่งานแรกของพวกเขา  เพราะในปีที่ผ่านมา  ก็เคยดำเนินการมาแล้ว  เพียงแต่ครั้งนั้นขับเคลื่อนโดยกลุ่มนิสิตชาวดิน (พรรคชาวดิน)  แต่ก็อย่างว่า  ชุดความรู้ถูกผ่องถ่ายมาสู่ทีมทำงานในชุดนี้โดยปริยาย  นี่คือปรากฎการณ์ "สอนงานสร้างทีม"  ที่น่ายกย่องและชื่นชมอย่างมาก  

องค์พระบรมธาตุนาดูน  เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็น "จังหวัดมหาสารคาม"  เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางของตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้รับการขนานนามว่า “สะดืออีสาน”  ซึ่งมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสงบ ความรัก ความสามัคคี หลากล้นด้วยจารีตประเพณีและอารยธรรม  โดยมหาสารคาม คือเมืองแห่งการศึกษาอีกแห่งหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือทีเรียกว่า “ตักสิลานคร”  ซึ่งได้อัญเชิญองค์พระบรมธาตุนาดูน มาเป็นสัญลักษณ์หลักในตราโรจนากร  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


เลข ๙ หมายถึง ๙ต่อความดีตามแนวทางพระราชดำริ/ดำรัส/พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร  รวมถึงการสื่อถึงการขับเคลื่อนโครงการ ๙ต่อ Before After ระหว่างมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับสังคม เพื่อสืบสานการทำความดีจากรัชกาลที่ ๙ สู่รัชกาลที่ ๑๐


นี่คืออีกเรื่องราวอีกหนึ่งเรื่องที่ผมมีความรู้สึกที่จะเขียนบันทึกไว้  เพื่อยืนยันถึงความรักและความศรัทธาที่นิสิต ผู้บริหาร ชุมชนรายรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9  เป็นรักและศรัทธาอันบริสุทธิ์ ไร้ข้อกังขา  โดยพระองค์ท่านจะยังคงเป็น "ความทรงจำที่เป็นปัจจุบัน" สืบไปอย่างไม่รู้จบ

การน้อมรำลึกที่หนักแน่น  มิใช่แค่จำนวนเทียน 4,000  เล่มเท่านั้น  หากแต่จะยังคงดำเนินการไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติตนในครรลองของจิตอาสาผ่านระบบและกลไกการเรียนรู้เรื่อง "กิจกรรมนิสิต"  หรือ "กิจกรรมนอกหลักสูตร"  เป็นหัวใจหลัก  ผสมผสาน หรือคู่ขนานระหว่างกิจกรรมของเครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม -เครือข่าย๙ ต่อBefore After และองค์กรนิสิตอื่นๆ ทั้งที่เป็นสภานิสิต องค์การนิสิต สโมสรนิสิต ฯลฯ

อย่างน้อยเราก็ปักหมุดชัดเจนแล้วว่าจะร่วมกันทำความดี (กิจกรรมความดี)  อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงรัชกาลที่ 9 และในหลวงรัชกาลที่ 10 พร้อมๆ กับการบ่มเพรราะเรื่องจิตอาสา-อาสาสมัคร อย่างค่อยเป็นค่อยไป  บนฐานความคิด  บนภารกิจหลักหรือบนกิจวัตรประจำวันของตนเองเป็นหัวใจหลัก

ทุกอย่างกำลังเริ่มต้น  ซึ่งผมและนิสิตก็สัมผัสได้ว่า  เป็นการเริ่มต้นที่มีชีวิต -  มิใช่กิจกรรมที่จินตนาการโดยปราศจากฐานคิด แต่เป็นการจินตนาการบนฐานความคิดและการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังและจริงใจ

....

หมายเหตุ

ภาพ : เครือข่ายนิสิตจิตอาสาเพื่อสังคม / ผู้สื่อข่าว
เขียน : จันทร์ที่ 29 ตุลาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 656628เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2018 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2018 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ด้วยความระลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสมอครับ ;)…

-สวัสดีครับอาจารย์-มีหมดหมายที่ชัดเจนแล้วก็ปฏิบัติเพื่อนำไปสู่หมายหมุดที่กำหนดไว้-น้องๆ จะได้เรียนรู้อะไรมากมายจากกิจกรรมเช่นนี้ครับ-ขอเป็นกำลังใจและร่วม ๙ต่อ ไปด้วยกัน-ตามศักยภาพที่เรามี เพียงเท่านี้ก็สุขใจแล้วล่ะครับ-ด้วยความระลึกถึงครับ

น้อมใจรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วยค่ะ

สวัสดีครับ อ. Wasawat Deemarn

การระลึกถึง จะยืนยันด้วยการกระทำ นั่นคือสิ่งที่ผมและนิสิต ตระหนัก จึงได้มีกิจกรรมเนื่องในวันนี้ครับ

ครับ อ.เพชรน้ำหนึ่ง

ทำดี “ตามศักยภาพที่เราดี”

ค่อยเป็นค่อยไป สม่ำเสมอสู่ความเข้มแข็ง ครับ

ครับ พี่หมอ ธิ

ตอนนี้ นิสิตก็แพลนงานสานต่อการทำดีอย่างน้อยเดือนละครั้งสองครั้งในเชิงระบบ คงได้นำมาบอกเล่าสื่อสารเป็นระยะๆ ครับ

เช่นวันนี้ (4 พ.ย.2561) ก็อบรมการเขียนจัดการความรู้ผ่าน Blog เพื่อใช้เป็นช่องทางหนึ่งของการสื่อสาร แบ่งปันร่วมกัน ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท