พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์
พราหมณ์ พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์ พราหมณ์พิธี วิภีษณพราหมณ์

ประวัติความเป็นมาประเพณีชักพระ


ประเพณีชักพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า “ประเพณีลากพระ “ เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคสมัยศรีวิชัย ตามพุทธตำนาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ ๗ พรรษา และ พรรษาที่ ๗ นั้น ได้ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้น จนพวกเดียรถีย์ที่มาท้าแข่งพ่ายแพ้ไปแล้ว พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า เมื่อทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์

แล้ว เสด็จทรงจำพรรษา ณ ที่ใด ก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่าทรงจำพรรษาที่สวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ ปฐมสมโพธิลำดับการเสด็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามนิยายท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่นๆ ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ที่เรียกกันว่า ‘อรรถกถา’ กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำ

พรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายาซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิตพระพุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษาที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ ภายใต้

ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า ‘บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์’พระอินทร์จอมเทพได้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ก็ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดาในสรวงสวรรค์ให้มาร่วมชุมนุม เพื่อฟัง

ธรรมพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์ เทพเจ้าทั้งปวงได้สดับก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ต่างองค์ร้องเรียกซึ่งกันและกันต่อๆ กันไปจนตลอดถึงหมื่นจักรวาลแม้พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิตก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้วทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด ส่วน

เทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควร อุปนิสัยแห่งตนถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากดาวดึงส์โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงินพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อภายหลังเสด็จจำ

พรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าวเพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว วันที่เสด็จลงคือวันออกพรรษาเมืองที่เสด็จลงคือเมืองสังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ระลึกเรียกว่า ‘อจล

เจดีย์’ เรียกอย่างไทยเราก็ว่า ‘รอยพระพุทธบาท’ ตามตำนานว่าที่นี่เป็นที่แห่งหนึ่งซึ่งมีรอยพระพุทธบาทปรากฎอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้าคือพระอินทร์ได้เนรมิตบันได ๓ บันไดเป็นที่เสด็จลง คือบันไดทอง บันไดเงิน และ

บันไดแก้วมณี บันไดทองสำหรับหมู่เทพลงอยู่ด้านขวา บันไดเงินอยู่ด้านซ้ายสำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณีอยู่ตรงกลางสำหรับพระพุทธเจ้า หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุเชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนครหมู่คนทาง

เบื้องขวาของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นในภาพ จึงคือหมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ เบื้องซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้าคือท้าวมหาพรหม ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้าคือพระอินทร์ ผู้ถือพิณบรรเลงถัดมาคือปัญจสิงขรคนธรรพ์เทพบุตร ถัดมา

เบื้องขวาคือมาตุลีเทพบุตร ซึ่งถือพานดอกไม้ทิพย์โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนินพระพุทธเจ้าทรงเป็นวิสุทธิเทพผู้บริสุทธิ์ นักเขียนศาสนาพุทธรุ่นต่อมาจึงถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติอย่างหนึ่งว่า ‘เทวาติเทพ’ แปลว่า ทรงเป็นเทพ

ยิ่งกว่าเทพทุกชั้น เทพต่างๆ ที่คนอินเดียในสมัยนั้นนับถือกัน เช่น พระอินทร์ และท้าวมหาพรหม เป็นต้นคนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่าวันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้ เพราะถือว่า

เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกการตักบาตรนี้ว่า ‘ตักบาตรเทโว’ ย่อมาจากเทโวโรหณะ แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกนั่นเอง ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้เทวดา

มนุษย์ และสัตว์นรกแลเห็นซึ่งกันและกัน และวันที่พระพุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือขณะที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศเบื้องบน เทวโลกและพรหมโลกก็

เปิดมองเห็นโล่ง เมื่อทรงทอดพระเนตรไปในทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาลภาพนี้อยู่ในเหตุการณ์ตอนเดียวกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษย โลก และยมโลกเทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น มนุษย์โลกก็คือโลกมนุษย์ และยมโลกซึ่งอยู่ทางเบื้องต่ำ คือ นรกทุกขุมจนกระทั่งถึงอเวจีมหานรกพระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสวรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวลตั้งแต่มนุษย์ก็สว่างโล่งขึ้นไปถึงเทวโลก เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาลก็โล่งถึง

กันหมด และเมื่อทอดพระเนตรลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุมผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์เห็นเทวดา เทวดาเห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์ แล้วต่างเหลียว

มองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ด้วยพระ เกียรติยศอันยิ่งใหญ่คัมภีร์ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า “วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่มีเลยสักคน” ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้

เสียอีก คือว่า”ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์แลสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด”พุทธภูมิ คือ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า

และนี่เป็นที่มาของประเพณีชักพระหรือลากพระ อันหมายถึงการต้อนรับการเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดีงส์ของพระพุทธเจ้านั้นเอง พุทธศาสนิกชนไปรับเสด็จ แล้วอัญเชิญพระพุทธเจ้าประทับบนบุษบกแล้วแห่แหนประเพณีชักพระนั้น ช่วงเวลาวันลากพระ จะทำกันในวันออกพรรษา คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยตกลงนัดหมายลากพระไปยังจุดศูนย์รวม วันรุ่งขึ้น แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ จึงลากพระกลับวัด

พระลากที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงประวัติอันยาวนานของเมืองนครฯพระลากวัดเสมา ต.กำโลน อ.ลานสกาพระลากพระแม่เศรษฐีวัดร่อนนา ต.ร่อนนา อ.ร่อนพิบูลย์

พิธีกรรม๑. การแต่งนมพระนมพระ หมายถึงพนมพระเป็นพาหนะที่ใช้บรรทุกพระลาก นิยมทำ ๒ แบบ คือ ลากพระทางบก เรียกว่า นมพระ ลากพระทางน้ำ เรียกว่า “เรือพระ” นมพระสร้างเป็นร้านม้า มีไม้สองท่อนรองรับข้างล่าง ทำเป็นรูปพญานาค มีล้อ ๔ ล้ออยู่

ใต้ตัวพญานาค ร้านม้าใช้ไม้ไผ่สานทำฝาผนัง ตกแต่งลวดลายระบายสีสวย รอบ ๆ ประดับด้วยผ้าแพรสี ธงริ้ว ธงสามชาย ธงราว ธงยืนห้อยระยาง ประดับต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้สดทำอุบะห้อยระย้า มีต้มห่อด้วยใบพ้อ

แขวนหน้านมพระ ตัวพญานาคประดับกระจกแวววาวสีสวย ข้าง ๆ นมพระแขวนโพน กลอง ระฆัง ฆ้อง ด้านหลังนมพระวางเก้าอี้ เป็นที่นั่งของพระสงฆ์ ยอดนมอยู่บนสุดของนมพระ ได้รับการแต่งอย่างบรรจงดูแลเป็นพิเศษ เพราะ

ความสง่าได้สัดส่วนของนมพระขึ้นอยู่กับยอดนม

๒. การอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระพระลาก คือพระพุทธรูปยืน แต่ที่นิยมคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ พุทธบริษัทจะสรงน้ำพระลากเปลี่ยนจีวร แล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนนมพระ แล้วพระสงฆ์จะเทศนาเรื่องการเสด็จไปดาวดึงส์ของ

พระพุทธเจ้า ตอนเช้ามืดในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ชาวบ้านจะมาตักบาตรหน้านมพระ เรียกว่า ตักบาตรหน้าล้อ เสร็จแล้วจึงอัญเชิญพระลากขึ้นประดิษฐานบนนมพระ ในตอนนี้บางวัดจะทำพิธีทางไสยศาสตร์เพื่อให้การลากพระราบรื่น

ปลอดภัย

๓. การลากพระใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย โดยใช้โพน (ปืด) ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะเร้าใจในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรงตัวอย่าง บทร้องที่ใช้ลากพระสร้อย เช่น : อี้สาระพา เฮโล เฮโลไหนนม ไหนนม นี่ละนม (นมพระ)นมใคร นมใคร นมของ สาวสาว (สาวนมพระคือลากนมพระ)ไอ้ไหรกลมกลม หัวนม สาวสาว (นมพระลาก)ไอ้ไหรยาวยาว สาวสาวชอบใจ (สาวเชือกลากนมพระ)สาวสาวไม่มาลากพระไม่ไป และยังมีคำของพื้นที่ท้องถิ่นอีกจำนวนมากที่นำมากล่าวเป็นกลอนเพื่อให้ได้ลากพระอย่างสนุกรื่นเริง

การชักพระทางบก คือการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนนบพระ หรือบุษบก แล้วแห่แหน ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น ๒ สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ คนลากจะ

เบียดเสียดกันสนุกสนานและประสานเสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง วัดส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการประเพณีลากพระวิธีนี้ มักตั้งอยู่ในที่ไกลแม่น้ำลำคลอง

การชักพระทางน้ำ เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนบุษบก ในเรือ แล้วแห่แหนโดยการลากไปทางน้ำ ประเพณีลากพระ ที่มักกระทำด้วยวิธีนี้ เป็นของวัดที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองการลากพระทางน้ำจะ

สนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพการเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัด

ชุมพร อำเภอพุนพินและ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง การชักพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน ๓ วัน ระหว่างแรม ๘ ค่ำถึงแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาวมีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน

ประเพณีลากพระ เป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญดังนี้๑. ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า “เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก” นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนใน

สังคมเกษตร๒. เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่อ

อย่างไม่ขาดสาย๓. เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ

หมายเลขบันทึก: 656381เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2018 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2018 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท