พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์
พราหมณ์ พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์ พราหมณ์พิธี วิภีษณพราหมณ์

พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์


พราหมณ์พิธี
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์นครศรีธรรมราช
Username
davasthan
สมาชิกเลขที่
168774
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

ประวัติพราหมณ์สายนคร

ประวัติ พราหมณ์ธวัชชัย วิภีษณพราหมณ์

ใน พ.ศ. 1830 ราชวงศ์ศรีธรรมโศกราช (ปัทมวงศ์) ปกครองอาณาจักรนครศรีธรรมราชอยู่ร้อยกว่าปีก็ได้ล่มสลายลงจากโรคห่าระบาดและสงครามกับพวกชวา สมัยท้าวอู่ทองแห่งอโยธยาที่ได้สถาปนาเป็นพระญาติกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้ส่งพระราชโอรสและไพร่พลจากเมืองพริบพรีมาฟื้นเมืองเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองบริวารใหม่ และได้สถาปนาราชวงศ์ศรีธรรมโศกราชมาอีกครั้งที่มีเชื้อสายจากท้าวอู่ทองแห่งอโยธยา ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19

สมัยนั้นมีพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่า พระเจ้าขัตติยราชนิคม สมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขัณฑสีมา เป็นพระมหากษัตริย์นครศรีธรรมราช ในสมัยนั้นศาสนาพราหมณ์ยังมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการตั้งชุมชนพราหมณ์ขึ้นมากมาย ในหลายสถานที่รอบรายเมืองนครศรีธรรมราช สมัยนั้นพระมหากษัตริย์เมืองนครทรงแต่งตั้งหัวหน้าพราหมณ์ผู้ดูแล สถานพระนารายณ์ และสถานพระอิศวร และเป็นผู้ดูแลชุมนุมพราหมณ์ทั้งหลายรอบรายเมืองนคร 

หัวหน้าพราหมณ์ 2 ท่านคือ

ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคมชุมนุม  (หลวงผแดงศรีกาเกียสเภาลักจัน)

ออกพระธรรมนารายน์เวทภักดีศรีรัตนโกษา  (หลวงผแดงธรรมนารายน์)

พราหมณ์ทวดเล่าว่า ทวดเป็นหลิน(เชื้อสาย)ของ ออกพระศรีราชโภเบนทร์นรินทร์ภักดีศรีอาคม (หลวงผแดงศรีกาเกีย สเภาลักจัน) ซึ่งบรรพบุรุษ มาจากเมืองรามราช (เมืองพาราณสี) 

บรรพบุรุษได้เดินทางมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 12 และสืบสายพราหมณ์มาไม่เคยขาดสายตลอดชั่ว 16 บรรพบุรุษ แม้จะหมดยุคของกษัตริย์เมืองนครแล้วแต่บรรพบุรุษพราหมณ์ก็ยังบวชพราหมณ์สืบสายมาจนถึงพราหมณ์ทวด....ซึ่งเป็นพ่อของพราหมณ์ทวดอ่ำ พราหมณ์ทวด....มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากมาถึงสมัยที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองในนครศรีธรรมราช รุ่งเรืองมากจนได้รับขนานนามว่าเป็นเมืองพระ มีวัดวาอารามมากมาย จนถึงสมัยนี้มีจำนวนวัดทั้งหมด 84 วัด ยังไม่รวมวัดที่ร้างไปอีกจำนวนมาก มาถึงยุคที่พระพุทธศาสนารุ่งเรืองสุดขีด พวกพราหมณ์ทั้งหลายไม่มีงานพิธีกรรม บ้างก็ทำเกษตรกรรม บ้างก็ค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพ เมื่อแรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ได้อัญเชิญพราหมณ์จากเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นไปอยู่ราชธานีเพื่อประกอบพิธีหลวง พวกพราหมณ์บวงส่วนก็ไปเป็นพราหมณ์หลวงในพระราชสำนักสืบมา แต่ตระกูลของพราหมณ์ทวดไม่ได้ไปเป็นพราหมณ์หลวงรับใช้ราชสำนักแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พราหมณ์ทวด....ได้เปลี่ยนนามสกุลจาก อาคมชุมนุม มาเป็น ชุมธรรม (ประชุมธรรม) เนื่องจากอยู่แต่กับวัดวาอาราม หลังจากนั้นคุณพราหมณ์ทวด...ก็ได้ทำมาหาเลี้ยงชีพโดยการปั้นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ตามวัดวาอารามต่างๆและได้ประกอบพิธีตามวัดวาอารามและพิธีตามพื้นบ้านเพื่อเลี้ยงชีพ จนได้สืบทอดมาจนถึงรุ่นพราหมณ์อ่ำ ชุมธรรม ซึ่งเป็นพราหมณ์ทวดของ พราหมณ์ธวัชชัย

พราหมณ์ทวดอ่ำมีบุตรชายชื่อปู่วินเป็นปู่ของพราหมณ์ธวัชชัย (เสียชีวิตตั้งแต่อายุ 25 ปี) (ไม่ได้บวชพราหมณ์)

ปู่วินมีบุตรชาย 1 คน ชื่อว่า นายสุเมธ ชุมธรรม บิดาของพราหมณ์ธวัชชัย (ไม่ได้บวชพราหมณ์)

มารดาของพราหมณ์ธวัชชัย มีชื่อว่า นางวรรณา ชลขนาน เป็นบุตรของ นายเนื่อง ชลขนาน บรรพบุรุษคุณตา (นายเนื่อง ชลขนาน) เป็นชาวฮินดูที่อพยพจากรัฐปัญจาบประเทศอินเดียไปอาศัยอยู่ที่บังกลาเทศ ก่อนจะอพยพมาเมืองไทย และใช้นามสกุลว่า ชลขนาน มารดาและน้าๆของพราหมณ์ธวัชชัยหน้าตาเหมือนแขกทั้งหมดทุกคน

เมื่ออายุ 16 ปีได้ไปบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดธาตุน้อย (วัดพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์) จนได้เจอกับพระธุดงค์และได้ตามหลังท่านไปธุดงค์อยู่ตามป่าเขาลำเนาไพรหลายปีออกจากป่ามาเรียนนักธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกแล้วจึงไปอยู่ตามวัดสายพระป่าและวัดวิปัสนากัมมัฎฐานหลายสำนักในประเทศไทย

พราหมณ์ธวัชชัยตอนเป็นสามเณร

เมื่ออายุ 21 ปีได้ทำการญัตติจตุตถกรรมเป็นพระภิกษุ ชื่อ พระธวัชชัย ธมมเตโช ที่วิสุงคามสีมา วัดแหลมยาง อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร หลังจากนั้นก็ไปเดินสายเป็นพระป่า 

พราหมณ์ธวัชชัยตอนบวชเป็นพระภิกษู

ได้ร่ำเรียนวิชาอาคมกับท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช และเกจิอาจารย์สายเขาอ้อหลายท่าน อีกทั้งเกจิอาจารย์อื่นๆ พราหมณาจารย์ โหราจารย์ และผู้อาจารย์ชำนาญในสรรพวิชชาอีกหลายท่าน

พราหมณ์ธวัชชัยตอนไปเรียนวิชชากับท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช

เมื่ออายุ 26 ปี ได้ลาสิกขามา รวมอายุการบวชอยู่ในสมณะเพศตั้งแต่เป็นสามเณรจนถึงบรรพชิตทั้งหมด 10 ปี

เจ้าพิธีสายเขาอ้อ

เมื่อลาสิกขามาก็ได้ทำการบวชพราหมณ์กับพราหมณ์อาวุโสท่านหนึ่ง และได้เดินทางไปบวชพราหมณ์แบบอินเดียอีกครั้งเพื่อเกิดใหม่ในทวิชาติที่เมืองพาราณสี (เป็นการกลับไปบ้านเมืองเก่าแห่งบรรพบุรุษพราหมณ์)ที่ประเทศอินเดีย และได้ทำการบวชกับพราหมณ์อาวุโสสายไศวะนิกายและได้คล้องสายธุรำได้เกิดใหม่เป็นทวิชาติแห่งพราหมณ์แท้โดยสมบูรณ์ คำว่าพราหมณ์แท้ในที่นี้คือ

ต้องเป็นผู้สืบเชื้อสายตระกูลพราหมณ์

ต้องเป็นผู้สืบสายเลือดพราหมณ์

ต้องเป็นผู้สืบสกุลพราหมณ์

ต้องเป็นผู้สืบสันดานพราหมณ์

ต้องเป็นผู้สืบวิญญาณพราหมณ์

ต้องเกิดโดยทวิชาติแห่งพราหมณ์ (คือเกิดสองครั้ง)จึงจะเป็นพราหมณ์โดยสมบูรณ์

สายธุรำ เป็นลักษณะสายสังวาล หรือด้ายมงคลที่พราหมณ์คล้องเฉวียงบ่า เป็นเครื่องหมายบอกวรรณะว่าคนๆ นี้เกิดในวรรณะพราหมณ์ และเพื่อแสดงความเป็นพราหมณ์ พราหมณ์คือผู้ที่เป็นทวิชาติ อันหมายถึง ผู้ถือกำเนิดสองครั้ง ครั้งแรกโดยครรภ์มารดา ครั้งที่สองเกิดโดยผ่านพิธีกรรมทางศาสนา เป็นพราหมณ์สมบูรณ์จึงมีสิทธิคล้องสายธุรำหรือยัชโญปวีต พราหมณ์จะได้รับการคล้องสายดังกล่าว เรียกพิธี “อุปานยัน” ซึ่งต้องอาศัยพราหมณ์อาวุโสผู้มีความรู้เป็นผู้ประกอบพิธี

วรรณะพราหมณ์ (Brahmins)เป็นการสืบต่อทางสายเลือดและการสืบสันดานของสังคมชาวอินเดียมาโดยโบราณตั้งแต่ก่อกำเนิดโลก

ผู้เป็นพราหมณ์ ต้องเกิดมาจากวรรณะพราหมณ์โดยสืบสายเลือดทางบิดาเท่านั้น 

พราหมณ์ ได้ชื่อว่าเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์

พราหมณ์ คือบุคคลผู้อยู่ในชั้นผู้สั่งสอนผู้คน ให้มีความรู้ ขนบธรรมเนียม ประเพณี  มีหน้าที่กล่าวมนต์ (รู้พระเวท)

พราหมณ์พฤฒิบาศ -พราหมณ์ผู้ดูแลช้าง ทำหน้าที่บูชาเทพ เทวดา พระผู้เป็นเจ้า จึงรับพร เพื่อกำจัดอวมงคล ปัดเป่าสิ่งอัปมงคล ให้เกิดสวัสดิพิพัฒมงคลเจริญรุ่งเรือง

พราหมณ์พิธี -ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางพราหมณ์ บวงสรวงเทวดา บูชาเทพเจ้า พระผู้เป็นเจ้า ขอพรอันเป็นมงคล ให้พรอันเป็นมงคลทุกประการ 

พราหมณ์โหรดาจารย์ -ทำหน้าที่พยากรณ์ดวงชะตาศาสตร์ทางพราหมณ์ชั้นสูง บูชานพเคราะห์ สวดสรรญเสริญเทวดา เกิดแต่ความสำเร็จทุกประการ

อ้างอิง

ตามคำบอกเล่าของทวด

ตำนานพราหมณ์เมืองนคร

หนังสือหลายเล่มของ อ.ปรีชา นุ่นสุข

ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช 

ประวัติความเป็นมา | เมืองนครศรีธรรมราช

ชีวิตและสังคมพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชในบริบทสังคมอยุธยา

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท