เรื่องเล่าอิสรชน : อคติที่ฝังรากคืออุปสรรคในการทำงานเชิงสร้างสรรค์


โดยเฉพาะหากการทำงานในกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ความเสี่ยง หรือในช่วงเวลา ที่ภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง และมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความสามารถและข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาที่ภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงได้แล้ว ก็ควรที่จะสนับสนุนและส่งเสริมในเกิดกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์

อคติที่ฝังรากคืออุปสรรคในการทำงานเชิงสร้างสรรค์ 

     หน่วยงานภาครัฐที่สำคัญในการทำงานกับคนเร่ร่อน คนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ สำนักพัฒนาสังคม ที่ ปรับรูปจาก 2 สำนักเดิม คือ สำนักสวัสดิการสังคม และ สำนักพัฒนาชุมชน ที่ การทำงานเดิม เป็นการทำงานให้บริการด้านสวัสดิการสังคมและงานพัฒนาชุมชน ในรูปแบบต่างวคนต่างสำนัก ต่างก็ทำไปตามแนวนโยบายของผู้บริหารกำหนดทิศทาง และเมื่อ พัฒนามาสู่สำนักพัฒนาสังคม ที่ล้อโครงสร้างการทำงานของ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่ง ต้องยอมรับว่า ในเขตกรุงเทพมหานครมีปัญหาต่าง ๆ มากมายเกาะเกี่ยวและรุมเร้าอยู่มาช้านาน และก็มีหลายองค์กรที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานสนับสนุนการทำงานแก้ไขปัญหาสังคมดังกล่าวอยู่ ซึ่งการทำงานที่อยู่ในลักษณะดังกล่าว ก็ เป็นการทำงานที่ลงลึกถึงปัญหาและกลุ่มเป้าหมาย ส่งต่อเชื่อมต่อการทำงานระหว่างกัน ถึงจะเรียกว่า เสริมพลังและระดมสรรพกำลังในการทำงานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่คนทุกกลุ่มเป้าหมาย 

     ต้องยอมรับก่อนว่าภาครัฐและภาคเอกชนเอง ต่างก็มีอคติการทำงานที่แตกต่างกันออกไป และหากการทำงานที่ยังเจือไปด้วยอคติที่เกิดจากความไม่พอใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการส่วนตัว และ นำมาเกี่ยวพันกับการตัดสินใจในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างแล้ว นั่น เท่ากับว่าต่างฝ่ายต่างสร้าอุปสรรคในการทำงานเชิงสร้าสรรค์ให้เกิดขึ้นในวงการทำงานภาคสังคมขึ้นมาแล้ว และ เมื่อเกิดอุปสรรคดังกล่าวขึ้น การแก้ไขปัญหาที่จะสามารถทำได้อย่างบูรณาการครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงก็จะหมดไป และ จะเกิดการเลือกปฏิบัติขึ้นอย่างซ้ำซาก 

     โดยเฉพาะหากการทำงานในกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ความเสี่ยง หรือในช่วงเวลา ที่ภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง และมีองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีความสามารถและข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่วงเวลาที่ภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงได้แล้ว ก็ควรที่จะสนับสนุนและส่งเสริมในเกิดกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ โดยควรจะละวางอคติที่เกาะกินใจโดยส่วนตัวและมองไปที่กลุ่มเป้าหมายในการทำงานเป็นสำคัญ เพราะถ้าหากว่ามีความจริงใจและความตั้งใจที่จะแก้ไข บรรเทาปัญหาสังคมแล้ว การทำงานแบบร่วมไม้ร่วมมือกัน เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด

หมายเลขบันทึก: 65532เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 04:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทิศทางเจตนารมย์ที่เหมือนกัน แต่ถ้าหากว่าการลงมือปฏิบัติที่ต่างกันเนื่องจาก หลักการปฏิบัติที่ต้องยึดกฎเกณฑ์ในของแต่ละระบบแล้ว ก็ย่อมทำให้มีปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และยากที่จะอธิบายให้เข้าใจ เพราะกฎเกณฑ์ดังกล่าวเกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัย ไม่ว่าจากปัญหาของกฎหมายที่ล้าหลัง จากการส่งเสริมหรือสนับสนุนที่มีข้อจำกัด ทั้งนี้ทั้งนั้นกฎเกณฑ์เหล่านี้มนุษย์เป็นคนสร้างขึ้นจนทำให้เป็นปัญหาย้อนกลับมาเสียเอง  ในขณะที่คนทำงานมีความตั้งใจริงที่จะเข้ามาร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท