เหตุใดกิจกรรมดีๆในองค์กรไม่มีการขับเคลื่อน


“คำนึงถึงเป้าหมายร่วมกันของกลุ่ม เมื่อพลังกลุ่มเพิ่มขึ้น ความเห็นแก่ตัวจะลดลง โดยมองว่าผลสำเร็จที่เกิดของส่วนร่วมจะนำความสำเร็จกลับมาสู่ตนเองเช่นเดียวกัน”

เพราะเหตุใดกิจกรรมดีต่างๆในองค์กรที่เรากำลังทำงานอยู่   ไม่สามารถขับเคลื่อนไปได้..................

ทั้งที่เราคิดว่ากิจกรรมต่างๆที่เข้ามาให้เราได้มีส่วนร่วมนั้นต่างก็มีเนื้อหาสาระที่ดีแต่ทำไม่เมื่อนำมาใช้ในองค์กรของเราแล้วมันจึงไม่สามารถนำมาใช้ได้ต่อเนื่องและไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ขึ้นมาสำหรับองค์กรเลย......ทำให้เราคิดว่ามันเกิดเนื่องจากอะไร.........

เราได้อ่านบทความของหน่วยงานหนึ่งที่เค้ารับสอบเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีจิตวิญญาณแบบองค์รวมทำให้เรารู้ว่าองค์กรของเราเองยังขาดอยู่หลายอย่างในการที่จะทำให้เกิดพลังกลุ่มและสิ่งที่จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนของกิจกรรมต่างๆได้  ลองอ่าน

งาน พลังกลุ่ม และความสุขสมดุลแห่งการเรียนรู้


พิรัฐ

ชีวิตไร้สาระขนาดไหน... ยังไม่สายเกินที่จะแก้ไข แม้ชีวิตจะเหลือน้อยลงเพียงใด... ก็ยังไม่สายเกินกว่าจะทำดีวันนี้ทำความดีให้กันหรือยังครับ...

ผมและทีมงานเสมสิกขาลัยได้มีโอกาสจัดกระบวนการเรียนรู้ ในเรื่องงาน พลังกลุ่ม และความสุขเมื่อเดือน กันยายน 2549 ที่ผ่านมา

ด้วยโจทย์ที่ว่าปัจจุบันการทำงานในองค์กรต้องมีการแข่งขันทั้งภายในและภายนอก ทำให้คนทำงานอาจมีความไม่เข้าใจ ไม่ไว้วางใจกัน ขาดการรับฟังและยอมรับกันอย่างลึกซึ้ง ทำให้คนทำงานขาดความสุข ขาดพลังใจในการทำงาน นับเป็นเรื่องท้าทายครับ ว่ากระบวนการเรียนรู้ของเสมฯ จะสามารถหาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่? และทำให้เกิดพลังในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขได้อย่างไร?

เป็นที่ทราบกันดีว่า เสมฯ เป็นองค์กรที่จัดกิจกรรมทางด้านการศึกษาทางเลือก จัดการเรียนรู้ในลักษณะของกระบวนวิชาโดยใช้การฝึกอบรมแบบผ่านประสบการณ์ที่เน้นการเติบโตและเปลี่ยนแปลงจากภายในจิตใจ ด้วยบรรยากาศของกัลยาณมิตร จึงขอไล่เรียงประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา เพื่อตอบโจทย์ข้างต้นด้วยบรรยากาศสบายๆ ดังนี้

เสียงใสเย็น ดังกังวาน ให้ความรู้สึกสงบของระฆังเจริญสติ (ระฆังเซน) คือสัญญาณเริ่มต้น และสิ้นสุดของกระบวนการเรียนรู้ในครั้งนี้ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ด้วยบรรยากาศของการมีส่วนร่วม เคารพซึ่งกันและกัน แต่แฝงไว้ด้วยรายละเอียดข้อ คิดที่เป็นประโยชน์และสนุก... เป็นความสนุกที่มีสติ และเชื่อมโยงกับชีวิตจริงของเรา

เริ่มต้นด้วยกิจกรรมเดินเท้าชิด และกิจกรรมแม่น้ำพิษ ให้ข้อคิดเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับฟังพร้อมทดลองปฏิบัติจริง ในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ อย่างเท่าเทียม หรือจะนั่งคุยกันอย่างเพื่อนสนิทยามค่ำคืนด้วยกิจกรรมสายธารชีวิต เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดคุยกันมากขึ้น ใช้เวลาที่มีจำกัดในการรับฟังเพื่อนอย่างลึกซึ้ง กิจกรรมกงล้อสี่ทิศ เปรียบเทียบนิสัยใจคอของคนผ่านสัญชาตญาณของสัตว์ป่า ทั้งกระทิง เหยี่ยว หมี และหนู เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างตัวเราและเพื่อน ซึ่งเป็นความต่างที่งดงาม หนุนเสริมกันได้ จากนั้นก็มาออกลีลานักแสดงจำเป็นด้วยกิจกรรมละครความไว้วางใจ แสดงบทบาทสมมุติความไม่ไว้วางใจที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ชีวิต และร่วมกันสรุปบทเรียนค้นหาสาเหตุและหาทางออกของการแก้ปัญหา เรียนรู้หลักการทำงานและการสื่อสารภายในร่วมกันด้วย กิจกรรมตัวต่อมหาสนุก สอดแทรกด้วยกิจกรรมการกลับมาบ้านภายในตัวเรา (สมาธิภาวนา) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายไม่เครียด และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อผ่านกิจกรรมแต่ละช่วงนั่นก็คือ การสรุปบทเรียน...
ถึงตรงนี้ผู้เข้าร่วม เริ่มได้คำตอบแล้วว่าพลังแห่งการรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเกิดจากอะไร? สังเกตได้จากความเห็นเหล่านี้ครับ

     

 

ต้องถอดตัวตนจากสถานภาพหัวโขนออก ลดทิฐิความยึดมั่นถือมั่นของตนเองลงคำนึงถึงเป้าหมายร่วมกันของกลุ่ม เมื่อพลังกลุ่มเพิ่มขึ้น ความเห็นแก่ตัวจะลดลง โดยมองว่าผลสำเร็จที่เกิดของส่วนร่วมจะนำความสำเร็จกลับมาสู่ตนเองเช่นเดียวกันจากบางตัวอย่างของความเห็นอันหลากหลายที่เกิดขึ้นในบรรยากาศการแลกเปลี่ยน แสดงให้เห็นว่าทุกคนเริ่มมองเห็นพลังกลุ่มที่เกิดขึ้นแล้ว
ผมขอสรุปให้เห็นถึงพลังแห่งกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน อันเป็นแนวทางที่เสมสิกขาลัยตระหนักถึง
ความสำคัญมาโดยตลอด ซึ่งพื้นฐานหลักของการมีส่วนร่วมที่ว่านี้ แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้

1. ร่วมคิด => ผู้นำเปิดโอกาสให้กลุ่มสร้างเอกภาพทางความคิด
2.
ร่วมตัดสินใจ => เมื่อคิดเสร็จแล้วตัดสินใจร่วมกัน
3.
ร่วมทำ => ลงมือทำร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
4.
ร่วมรับผิดชอบ => รับผลจากการกระทำทั้งผิดและชอบร่วมกัน
5.
ร่วมสรุปบทเรียน => ค้นหาเหตุแห่งความผิดพลาดหรือความสำเร็จร่วมกัน

โดยกระบวนการทั้ง 5 ขั้น จำเป็นต้องห่อหุ้มไปด้วยบรรยากาศของการยอมรับซึ่งกันและกัน เปิดโอกาส ให้ทุกคนได้เข้ามาแสดงออกถึงความคิดเห็น บนพื้นฐานของความเชื่อใจกัน ศรัทธากัน
ไม่มีสถานภาพ ตำแหน่งทางสังคมมากีดกั้น รวมทั้งส่งเสริมโครงสร้างการทำงานที่เป็นระบบเชื่อมโยงให้ชัดเจน ยุติธรรมและเท่าเทียม เมื่อทำได้เช่นนั้นก็จะเกิดพลังและความสุข
ผมคิดว่าการที่เราจะสามารถสร้างบรรยากาศเช่นนี้ได้เราจำเป็นที่จะต้องสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้วยการรับรู้ รับฟังเพื่อนอย่างลึกซึ้งโดยไม่มีอคติ ถอดตัวตนทิ้งไป โดยยึดหลักของการมีสมาธิ สติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อให้เกิดปัญญาเพื่อพร้อมเผชิญกับปัญหาอุปสรรคต่างๆ
ในด้านการพัฒนาศักยภาพคนทำงานนั้น นอกจากการพัฒนาความรู้และทักษะความชำนาญเฉพาะด้านแล้ว เราไม่ควรละเลยการพัฒนาให้คนทำงานเรียนรู้และเติบโตทางด้านจิตใจ ไปพร้อมๆ กัน
โดยส่วนตัวนั้น ผมเชื่อว่าการเรียนรู้ร่วมกันผสานกับการพัฒนาด้านคุณธรรม สมาธิ และสตินั้น พลังใจอันดีงามจะเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คนในทีมงาน ส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีความสมดุล เป็นการปรับกระบวนทัศน์ (วิธีคิดและวิธีปฏิบัติ) ไปในตัว โดยมองความสำเร็จของงานทั้งทางด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล แต่ทั้งนี้ทีมงานก็ต้องหมั่นทบทวนสร้างสรรค์ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในทีมงานเป็นประจำด้วย

จากการได้อ่านบทความข้างต้นแล้วจะทำอย่างไรหล่ะให้องค์กรของเราเกิด

พลังกลุ่ม และความสุขสมดุลแห่งการเรียนรู้

 

คำสำคัญ (Tags): #พลังกลุ่ม
หมายเลขบันทึก: 65525เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ควรศึกษาวัฒนธรรมขององค์กรที่ตนเองอยู่ให้ลึกซึ้งก่อนครับว่าองค์กรต้องการอะไรอย่างแท้จริง...

  ความตั้งใจ และ ความมุ่งมั่น  เหมือน เสียงกู่จากครูใหญ่    คนที่มีความคิดที่ดีอย่างปอ หลายๆคน จะช่วยกันผลักดันได้ ขอเป็นกำลังใจให้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท