ชีพจรลงเท้า กับการเดินทางของนายบอน 2-4 ธ.ค. 2549 (๒) ( กาฬสินธุ์ - ขอนแก่น – โคราช – กทม) กับข้อคิดแห่งการแบ่งปันด้านการศึกษาจากโรงพยาบาลรามาธิบดี


เมื่อ 2 คนที่มีหัวใจแห่งการแบ่งปัน มาพบกัน พูดคุยแลกเปลี่ยน ประเด็นที่ได้รับฟังนั้น จะเป็นการต่อยอดความฝันที่มีคุณค่า

ต่อจากตอน <div class="title">ชีพจร ลงเท้า กับบันทึกการเดินทางของนายบอน (๑)</div> ที่นายบอนมานั่งพิมพ์เมื่อคืนวาน แต่ไม่สามารถพิมพ์ได้หมด เพราะเริ่มไม่ไหวครับ เนื่องจากนอนน้อย เดินทางไปหลายแห่ง พบกับอากาศที่เริ่มเปลี่ยน เมื่อกลับถึงกาฬสินธุ์ ก็ไม่สบายทันที จึงต้องมาเขียนต่อในวันนี้

จากตอนที่แล้ว นายบอนไปนอนค้างกับเพื่อนที่โรงพยาบาลธนบุรี ได้ข้อคิดเรื่องพ่อมาพอสมควร ตอน 7.30 น. จึงร่ำลาเพื่อน เพื่อเดินทางมายังโรงพยาบาลรามาธิบดี

หลังจากที่นอนฟังเสียงครางของคุณพ่อของเพื่อนทั้งคืน จนรู้สึกทรมานไปด้วย ตอนเช้า ได้ยินคุณพ่อของเพื่อนตื่นขึ้นมาพูดคุยกับผู้ป่วยอีกคนที่กำลังจะออกจากโรงพยาบาลในเช้าวันนั้น ฟังท่านสนทนากันตั้งแต่เรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ ตอนที่ไหว้ลาท่าน คุณพ่อของเพื่อนสีหน้าสดชื่นกว่าเมื่อวาน แสดงว่า อาการดีขึ้น

เพื่อนมาส่งนายบอนที่สี่แยกพรานนกข้าง รพ.ศิริราช รอรถเมล์สาย 157 อ้อมใหญ่- หมอชิต  ไปลงหน้า รพ.รามาธิบดี จากการที่ตัดสินใจเดินทางมานอนค้างกับเพื่อนเมื่อคืน จึงมีโอกาสได้เห็นไฟประดับตามถนนราชดำเนินเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ ถือว่า คุ้มค่าที่มา กทม.เที่ยวนี้ ได้เห็นไฟสวยด้วยตาตัวเอง

รู้งี้วางแผนเดินถ่ายรูปเป็นที่ระลึกก็คงจะดี

ด้วยความอารมณ์ดีในวันที่ 3 ธ.ค. นายบอนมาถึง รพ.รามาธิบดีตอน 8.40 น. ก็แวะไปหาข้าวเช้าทาน ที่โรงอาหารซึ่งปรับปรุงใหม่ นายบอนเคยมาทานที่โรงอาหารแห่งนี้ เมื่อ 3-4 ปีก่อน บรรยากาศมืดๆทึมๆ แต่ปัจจุบัน ดูสะอาดถูกหลักอนามัย เลยสั่งข้าวขาหมูมาทาน ทานอิ่มแล้วเดินออกมา เห็นตู้บริจาคหน้าประตูทางเข้าโรงอาหาร 3 ตู้ นายบอนก็หยิบตังค์หย่อนทุกตู้ซะเลย

ความจริงแล้ว ช่วง 8.45 น. นี้ นายบอนตั้งใจว่า จะกดโทรศัพท์ไปทักทาย รายงานตัวกับครูอ้อย แต่ไม่แน่ใจว่า จะสะดวกคุยด้วยหรือไม่ ความจริงถ้ามีเวลามากกว่านี้ จะแอบนั่งรถแท็กซี่ไปโผล่หน้าบ้านครูอ้อย ถ้าอยู่บ้านก็สวัสดีทันที ถ้าไม่อยู่ก็จะฝากบอกว่า มีคนจากกาฬสินธุ์มาเยี่ยมเยือน

แต่ดูระยะทางแล้ว กลัวว่า จะไปงานไม่ทัน เลยอดใจไว่ก่อน…..


9.10 น. นายบอนจึงย่างกรายขึ้นไปยังชั้น 4 สูติกรรมพิเศษ ห้อง 10 เห็นเพื่อนนายบอน คุณพ่อมือใหม่ นอนแผ่หมดสภาพ รวมทั้งคุณแม่มือใหม่ด้วย ตลอดทั้งคืนคงจะเฝ้าดูแลประคบประหงมลูกชายคนแรก “น้องพอดี” ตลอดทั้งคืน



วันนี้ ตามนัดจะต้องไปงานแต่งงานของเพื่อนร่วมรุ่น ที่ทำงานบริษัท ชิโน ไทย จัดที่หอประชุมกองทัพอากาศ เวลา 11.30 น. คุณพ่อมือใหม่เลยตะเกียกตะกาย แต่งตัว เตรียมเดินทาง

เขาตั้งใจจะไปร่วมงานสักครู่ ให้เพื่อนได้เห็นหน้า แล้วจะกลับมาที่ รพ.รามาธิบดี เพราะคุณหมอให้ลูกชายของเขาออกจากโรงพยาบาลได้ในวันนี้

ดูจากบทบาทของการทำหน้าที่คุณพ่อมือใหม่ของเขาแล้ว ถือว่า ทำได้ดีพอสมควร ถ้าเป็นนายบอนแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะใจเย็นได้ถึงเพียงนี้หรือไม่

เพื่อนคนนี้ ซึ่งมีชีวิตที่ลำบากมาตั้งแต่เด็ก ขวนขวายทำงานใช้หนี้สินที่คุณแม่ของเขา กู้ยืมมาเพื่อส่งให้ลูกชายเรียนจบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ที่ลาดกระบัง ด้วยความที่เป็นคนต่อสู้กับความลำบากมาตลอด ทำให้เขามีจิตใจแห่งการแบ่งปัน

เพื่อนร่วมรุ่นของเขาที่เรียนวิศวะเหมือนกัน ต่างมุ่งมั่นทำงานเพื่อสร้างฐานะให้มั่งคงมากที่สุด สะสมทรัพย์สินได้อย่างมากมาย ทำให้แนวคิดในการแบ่งปันเพื่อคนอื่นระหว่าง เพื่อนคนนี้ กับคนอื่นๆ ได้รับการมองว่า เป็นคนเพี้ยน…

จะแบ่งปันให้คนอื่น ทำไปแล้ว จะได้อะไรขึ้นมา….

ในระหว่างการเดินทางโดยรถแท็กซี่ไปยังหอประชุมกองทัพอากาศ เพื่อนคนนี้ก็เล่าถึงความฝันที่อยากทำให้ฟังอีก ซึ่งเมื่อปี 2548 เขาเคยเล่าให้ฟังครั้งหนึ่ง

เขาอยากจะทำสื่อการศึกษา เพื่อแนะแนวรุ่นน้องมัธยมที่กำลังตัดสินใจก้าวเดินสู่วิชาชีพในอนาคต เนื่องจากตัวเขาเอง ต้องลองผิดลองถูกอยู่พอสมควร กว่าที่จะค้นพบว่า ตัวเองต้องการอะไรกันแน่

อยากจะทำหนังสือพ๊อตเกตบุคส์ สัมภาณ์เพื่อนที่ทำงานในวิชาชีพต่างๆ ถึงเส้นทางชีวิต ลักษณะงาน แล้วนำข้อมูลไปมอบให้รุ่นน้อง ที่กำลังแสวงหาอนาคตของชีวิต

นายบอนอธิบายให้ฟังถึงต้นทุนในการผลิตหนังสือ 1 เล่ม ทำให้เขาเกิดความคิดว่า อาจจะจัดทำเป็น VCD ไปถ่ายทำการสัมภาษณ์เพื่อนๆที่ทำงานในวิชาชีพต่างๆ แล้วตามไปถ่ายทำสภาพการทำงานในสถานที่จริง ต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง เพื่อให้เห็นลักษณะการทำงานจริงๆ

เมื่อหลายปีก่อนครูแนะแนวที่โรงเรียน พยายามให้ข้อมูลทุกอย่าง แต่ตัวเขาและเพื่อนๆ ไม่เข้าใจคำอธิบายเหล่านั้น ไม่เห็นภาพ จินตนาการไม่ออก จึงตัดสินใจเลือกวิชาชีพตามที่ได้ฟังคนอื่นแนะนำมาว่า ดี มั่นคง

ซึ่งหลายคนเมื่อก้าวเข้าสู่วิชาชีพนั้นแล้ว ค้นพบว่า ตัวเขาไม่ชอบอาชีพนั้นเลย ทำให้เกิดการสูญเปล่าทางการศึกษา สมัครสอบเปลี่ยนคณะใหม่ของมหาวิทยาลัยที่ชอบ

เพื่อนคนนี้ มีเครือข่าย ลูกศิษย์ พันธมิตรที่เคยร่วมงานกันมากมาย เขาจึงมีความคิดที่จะจัดตั้ง
มูลนิธิเพื่อแนะแนวการศึกษาสำหรับเยาวชน (ชื่อที่เขาคิดได้ในตอนนั้น) ทำตามความฝัน โดยการตระเวนไปแนะแนวตามโรงเรียนต่างๆ โดยไม่แสวงหาผลกำไร จัดทำ VCD แจกจ่ายให้กับทุกโรงเรียนที่ต้องการ

แต่เพื่อนร่วมรุ่นหลายคน ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นประโยชน์ เสียเวลาเปล่าๆ เขาจึงเล่าความฝันให้นายบอนฟังไปเรื่อยๆ

แม้วันนี้ ยังไม่พร้อม จังหวะยังไม่เหมาะสม แต่ความฝันที่ถูกหล่อเลี้ยงไว้ รวมทั้งแนวคิดประสบการณ์ต่างๆ เขามั่นใจว่า ในอนาคต จะต้องทำในสิ่งที่ฝันไว้ สักครั้งหนึ่ง


<h2>นายบอนได้ยินแล้ว ก็ต้องรีบบันทึกแนวคิดนี้ไว้ทันที มองดูแล้ว ความฝันนี้ สามารถที่จะเริ่มต้นได้ทีละนิดทีละหน่อย </h2>
นายบอนนึกถึงการหยิบยกแนวคิดของเขามาบันทึกไว้ เผยแพร่ในช่องทางบล็อก และเวบหลายแห่ง หาคนร่วมฝัน ทิ้งที่อยู่ที่ติดต่อเอาไว้

ความจริงแล้วมีองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้านการศึกษามากมาย เขาน่าจะไปร่วมงานด้วย น่าจะทำให้ความฝันเป็นจริงได้เร็วขึ้น

แต่เขาอยากจะทำสิ่งเหล่านี้ด้วยตัวของเขาเอง ลงมือลงแรงทำตามความฝันด้วยสองมือของเขาเอง เพื่อไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นคน และมุ่งมั่นฝ่าฟันอุปสรรค จนมีอาชีพที่มั่นคงกับบริษัทเล็กๆของตัวเองได้ ในปัจจุบันนี้


นายบอนคงจะช่วยเติมฝันแบบถนัด หยิบความฝันมาบันทึก ต่อยอดความคิดไปเรื่อยๆ สะสมเป็นฐานข้อมูลแห่งฝัน แล้วหาคนร่วมฝันมาต่อยอดความคิดร่วมกัน

amnarts.jpg

เช่น คุณ น.เมืองสรวง หรืออำนาจ แสงสุข ซึ่งเพื่อนคนนี้ อยากมีโอกาสได้พบปะสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองกับ น.เมืองสรวงด้วย

เมื่อ 2 คนที่มีหัวใจแห่งการแบ่งปัน มาพบกัน พูดคุยแลกเปลี่ยน ประเด็นที่ได้รับฟังนั้น จะเป็นการต่อยอดความฝันที่มีคุณค่า

เป็นบันไดก้าวสำคัญ สู่ฝันที่เป็นจริงในอนาคต

<h2>นี่คือ การพูดคุยกันบนรถแท็กซี่ระหว่างการเดินทางไปแต่งงานนะครับ </h2><h2>ความคิดดีๆที่ไม่ควรตกหล่น</h2>






หมายเลขบันทึก: 65354เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2006 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท