วิธีเลี้ยงเด็กให้เป็นคนมองโลกแง่ดี


คนมีนิสัยมองโลกในแง่ดี หรือมองบวก จะมีชีวิตที่ดี ส่งผลต่อการเป็นผู้ประกอบการ สุขภาพดี อายุยืน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง

บทความเรื่อง Raising optimistic kids in an era of pessimism (1)  ในนิตยสาร Time ฉบับควบ วันที่ ๓ และ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ บอกว่า การมองโลกแง่ดี กับการมองโลกแง่ร้ายมีรากร่วมกัน    คือมาจากความคาดหวังร่วมกันว่า เราสามารถทำให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ได้  

คนมีนิสัยมองโลกในแง่ดี หรือมองบวก จะมีชีวิตที่ดี  ส่งผลต่อการเป็นผู้ประกอบการ สุขภาพดี  อายุยืน  และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง 

ที่จริงโลกเราดีขึ้นเรื่อยๆ   เช่นคนอายุยืนขึ้น  ความยากจนลดลง ความเสมอภาคทางเพศดีขึ้น ภาวะขาดอาหารลดลง  การรู้หนังสือดีขึ้น  คนอดทนต่อต่างศาสนาดีขึ้น เป็นต้น   แต่ส่วนดีดังกล่าวสำหรับเราก็เหมือนน้ำสำหรับปลา  คือไม่รู้สึก  เราจะรู้สึกต่อความอึดอัดขัดข้อง ความไม่พอใจ    เราโดนความรู้สึกหลอก  ให้ไม่รับรู้ส่วนดี  รับรู้แต่ส่วนด้อย    จึงต้องมีวิธีแก้ ไม่ให้โดนความรู้สึกของเราเองหลอก

 เขาแนะนำ ๔ วิธี 

  • เอาใจใส่ด้านบวก    คือต้องหาทางเอาชนะธรรมชาติของสมอง ที่มุ่งตรวจจับด้านลบ    โดยสร้างนิสัยเอาใจใส่ และชื่นชมเรื่องดีๆ ให้แก่ตนเอง    เรื่องนี้ผมถนัด   โดยการเขียน บล็อก ช่วยมาก
  • อธิบายเรื่องราวปัจจุบันจากมุมมองเชิงบวก    ทุกเรื่องมีสองด้านเสมอ    การฝึกนิสัยมองโลกแง่ดี   ฝึกมองหาบวกในลบ   ช่วยทั้งสติปัญญา และอารมณ์ 
  • เสพสื่อเพียงเล็กน้อย    เนื่องจากสื่อยึดคติ “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียเงิน”   และสื่อเน้นการสร้างอารมณ์ตื่นเต้น มากกว่าปัญญา
  • เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน   การลงมือทำกิจกรรมเพื่อสังคม แม้เพียงเล็กๆ น้อย   เช่นกิจกรรมจิตอาสา การลงคะแนนเสียง ทำให้ตัวเราเชื่อมโยงกับคนอื่น  ช่วยเพิ่มความรู้สึกมีความหวัง ลดความรู้สึกหมดหวัง    ผมขอแถมว่า การร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น หรือต่อส่วนรวม จะช่วยสร้างความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต    

ผู้เขียนชื่อ K.J. Dell’Antonia เขียนหนังสือ How to Be a Happier Parent : Raising a Family, Having a Life, and Loving (Almost) Every Minute 

 วิจารณ์ พานิช          

๑๖ ก.ย. ๖๑

One Jervois, River Valley, Singapore

 

หมายเลขบันทึก: 653490เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2018 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2018 07:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท