๙๔๕. กรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของมหาวิทยาลัย


กรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของมหาวิทยาลัย

๒ ปี ผ่านไป จากการเป็นกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม...เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างเรียบ ๆ มิมีอะไรเกิดขึ้นให้คณะกรรมการแบบผู้เขียนต้องมานั่งหากฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับใด มาใช้ในการเป็นเครื่องมือในการทำงาน...เรียบร้อยมากกกกกกกกกก...น่ารักอ่ะ!!! กับการบริหารจัดการของผู้บริหารมหาวิทยาลัย...แรก ๆ เหมือนจะมีเรื่องให้คณะกรรมการต้องมาพิจารณากัน แต่ก็ไม่มี...เพราะหากมี ก็จะมีบางสิ่งที่ฉันมองดูแล้วว่า มีทางออกในการแก้ปัญหานั้นเสมอ...เพราะผู้ที่จะนำเรื่องดังกล่าวเข้ามาในคณะกรรมการชุดนี้นั้น เรียกว่า ต้องมีหลักฐาน ข้อมูลแน่นจริง ๆ หากไม่เช่นนั้น ก็จะทำให้ท่านผู้นั้นหน้าแตกกลับไปได้เช่นกัน

การเป็นชุดคณะกรรมการในชุดนี้ เรียกว่า ต้องมีความเที่ยงธรรมจริง ๆ หากมิเช่นนั้น อาจถูกฟ้องกลับได้เช่นกัน...เพื่อนของผู้เขียนเคยบอกผู้เขียนว่า "มาเป็นทำไม???"...ผู้เขียนเลยตอบไปว่า หากผู้เขียนไม่เป็น ไม่ทำงานแล้วใครจะทำ เพราะการเป็นกรรมการชุดนี้ ต้องเป็นคนที่รู้กฎหมาย และเข้าใจระบบการทำงานของภาครัฐอย่างจริงจัง ตั้งแต่แรกสมัยมีข้าราชการเยอะ จนมาปัจจุบันเป็นระบบพนักงานมหาวิทยาลัย ก็ว่าได้...

ผ่านไป ๒ ปี ซึ่ง มรภ.พิบูลสงคราม ครบวาระในการที่ผู้เขียนได้เป็นคณะกรรมการชุดนี้...ถึงคราวที่มหาวิทยาลัยต้องเปิดรับสมัครคณะกรรมการใหม่...ผู้เขียนยังคงขอลงสมัคร เพื่อช่วยมหาวิทยาลัยต่อไป คิดว่า คงพอแค่เกษียณอายุราชการเท่านั้น...

ณ ปัจจุบัน ยังคงเป็นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ของ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อีกแห่งหนึ่ง...ซึ่งเคยไปทำงานประมาณ ๕ ครั้ง มีเรื่องให้กรรมการแบบผู้เขียนได้คิด วิเคราะห์เรื่องอีกเช่นกันใน ๔ ครั้งแรก...แต่ละครั้งมีทางออกเสมอ ผู้เขียนวิเคราะห์เรื่อง เหตุการณ์ เพื่อให้เกิดการรอมชอมมากที่สุด เพราะหากมีเรื่อง ไฉนเลยมหาวิทยาลัยจะเกิดการพัฒนาขึ้นได้ และคนในองค์กรก็จะไม่มีความสุข...สุดท้ายทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี...สำหรับผู้เขียน แค่เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้งานในมหาวิทยาลัยผ่านไปได้อย่างสงบ สันติสุขเกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัย...เพราะต้องการเห็นมหาวิทยาลัยเกิดการพัฒนามากขึ้นเท่านั้น...อาศัยว่า ใช้ความรู้ ความสามารถเข้ามาช่วยในการทำงานให้งานบรรลุผลไปได้...เพราะกรรมการชุดนี้ ส่วนมากจะเป็นเรื่องของกฎหมาย และการบริหารจัดการเกี่ยวกับบุคคลภายในมหาวิทยาลัย จึงทำให้ผู้เขียนมองทางออกว่า ปัญหานั้นเกิดจากอะไร และควรแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร...การทำงานด้านบุคคลนั้น ต้องยึดหลักการ เหตุผล กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้ผ่านพ้นไปได้...พิจารณาดี ๆ หากเมื่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น เป็นคล้ายลักษณะที่ตัวผู้เขียนได้ทำงานนั้นด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้เขียนเห็นวิธีที่จะสามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ให้ทุกฝ่ายเกิด win - win ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะนำเรื่องที่เกิดขึ้น ฟ้องศาลปกครองกันเสียส่วนใหญ่...เป็นเรื่องของความขัดแย้งกันภายในมหาวิทยาลัยเอง...หากเราพิจารณาด้วยความเป็นธรรมจริง ๆ จะทำให้เห็นถึงเส้นทางของปัญหาว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด...และจะมีทางแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างไร...ซักซ้อมเหมือนเป็นทนายความ คริ ๆ ๆ...

*****************************************

ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติเข้ามาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

บุษยมาศ แสงเงิน

๑๐ กันยายน ๒๕๖๑


หมายเลขบันทึก: 652114เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2018 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2018 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท