เป็นแนวคิดที่นำเสนอโดยอาจารย์หมอประเวศ วะสี เพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในสังคม เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายสมดุลก็จะเกิดสภาวะแห่งความสุขหรือสุขภาพ เช่นกันถ้าสังคมมีความสมดุลก็จะเกิดสภาวะแห่งความสุขเช่นกัน อาจารย์หมอประเวศกล่าวว่า “ถึงมีโรคก็สุขภาพดีได้ ถึงไม่มีโรคก็สุขภาพไม่ดีได้ เครื่องมือสุขภาพที่สำคัญคือการรักษาดุลยภาพ”
โรงพยาบาลบ้านตากได้นำทฤษฎีดุลยภาพมาใช้ในการกำหนดเป้าหมายสูงสุดหรือผลลัพธ์บั้นปลายของโรงพยาบาลโดยการพยายามสร้างสมดุล
3 อย่างคือประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เจ้าหน้าที่มีความสุขและโรงพยาบาลอยู่รอด
ถือเป็นความท้าทายเชิงกลยุทธ์ของโรงพยาบาล มี 3 ประเด็น
(CEO) ได้แก่
1) ประชาชน
(Customer/Citizen) มีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
ที่หมายถึงสุขภาวะทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและเชาว์ปัญญา
ให้ประชาชน/ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเอง
2) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
(Staff/Employee) มีความสุข มีความพึงพอใจในการทำงาน
มีสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ ครอบครัว รายได้
ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปรกติสุข
มีความรู้ความสามารถและความมุ่งมั่น
(Commitment)
ที่จะทำเพื่อองค์กรและประชาชน
3) โรงพยาบาล
(Organization) อยู่รอดได้
มีสถานะทางการเงินเพียงพอที่จะทำงานตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ
ทำให้ชุมชนรักและศรัทธาโรงพยาบาล
รู้สึกเป็นเจ้าของโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลใกล้บ้านใกล้ใจ(To
be the hospital of choice)
ทฤษฎีดุลยภาพนี้สามารถใช้ได้กับทุกหน่วยของสังคมตั้งแต่ในร่างกายคน
คนทั้งตัว ครอบครัว ชุมชน สังคม
รวมทั้งในองค์การและสอดคล้องอย่างดีกับความพอเพียง
ที่ไม่หิวกระหายกอบโกยเอาเข้าตัวเองแบบทุนนิยม