80. การจัดแฟ้มเอกสารเพื่อการประเมินวิทยฐานะ


ปัญหา #การจัดเตรียมเอกสารประเมินวิทยฐานะ ซึ่งแค่ละคนก็จะมีอยู่อย่างมากมายตามบริบทแต่ละคนว่าจะทำเป็นแฟ้มดีหรือทำเป็นรูปเล่มดี ตอบแบบกวน ๆ ก็คือเป็นสิทธิของเราอยากทำแบบไหนก็ทำไป ไม่ได้มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ บอกแต่เพียงว่าให้เตรียมเอกสาร หลักฐาน ร่องรอยไว้ให้ตรวจสอบ แต่ในทัศนของผม #กิตติ_กสิณธารา เห็นว่า
1. การจัดเอกสารใส่แฟ้มก็ดูดี มีความเป็นไปได้ เอกสารทุกอย่างแต่ละตัวขี้วัดก็จะมารวมกันอยู่ในที่แหล่งเดียวกัน ทั้งที่เป็นแผ่น เป็นปึกและเป็นรูปเล่ม โดยสอดไว้ในแผ่นซองพลาสติก แฟ้มก็จะหนาประมาณ 2 - 3 นิ้ว บรรจุเอกสารเต็ม ก็น่าจะหนักพอสมควร เวลากรรมการดู ก็วางพยุงที่แขนแล้วต้องดึงเอกสารที่จะดูออกมาศึกษาอละสอดเก็บเข้าไป ก็ต้องใช้เวลา. เรื่องจากซองพลาสติคมีขนาดพอดีกับเอกสาร เป็นเรืองยุ่งยากก็ทำให้กรรมการไม่อยากดูเอกสารดีๆที่อยู่ตอนท้าย ประกอบกันหนักทำให้อขนอ่อนล้า
2. จัดทำเป็นเอกสารรูปเล่มสวยงาม เรียบร้อยตามบริบท แยกออกเป็นเล่ม ๆ สมมุติว่าในแฟ้มบรรจุเอกสาร 5 เล่ม ถ้าเราเอกมาวางแผ่บนโต๊ะ กรรมการก็สามารถเลือกเปิดศึกษาได้ตามความสนใจและง่ายกว่าการเปิดแฟ้ม นอกจากนั้นทางจิตวิทยาก็จะบอก 5 เล่มก็มากกว่า 1 แฟ้ม
3. จัดแบบผสมสานระหว่างแฟ้มสะสมกับเอกสาร เรื่องบางเรื่องอาจเป็มแผ่านกระดาษเพียงไม่กี่แผ่น ถ้านำมาเย็บดป็นเล่มก็อาจจะดูไม่เหมาะสมก็เก็บใสในแฟ้มก็ดูดี แต่ผู้นำเสนอต้องจำให้ได้ว่าเก็บเอกสารไว้ในส่วนใด
ก็เสนอเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนครูจะได้นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม เป็นของเก่าที่เคยทำไว้อาจไม่สวยงาม สามารถทำให้สวยงามยิ่งกว่านี้ได้

หมายเลขบันทึก: 649120เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2018 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2018 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท