ชีวิตที่พอเพียง 3215. สวิส ๒๕๖๑ : ๑๐. เที่ยวสวนพฤกษศาสตร์



ผมไปเที่ยวสวนพฤกษศาสตร์๒ ครั้ง    ครั้งแรกเย็นวันที่ ๒๑ พฤษภาคมหลังกลับจากประชุม    ไปเที่ยวช่วง ๑๘ - ๑๙.๒๐น. (สวนเปิดให้เข้าชม ๘.๐๐ - ๑๙.๓๐น.) ไม่เสียเงิน  

วันที่ ๒๑ ไปวนเวียนอยู่เลยทางเข้าที่อยู่หน้าWTO  ไม่ไกล    ตรงที่มีธารน้ำและไม้ดอกหลากหลายชนิด    ในหลากหลาย ecosystem    ดอกไม้สวย   และมีป้ายบอก Family, Genus และ Species ของไม้ดอกแต่ละชนิด    จากหลากหลายภูมิภาคในโลก   

๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๑

วันนี้ผมตัดสินใจไม่ไปประชุม WHA เพราะยังไงก็ต้องไปขึ้นรถไฟไปสนามบินราวๆเที่ยง    ใช้เวลาตอน ๘ - ๑๑ น. ไปชมและถ่ายรูปต้นไม้และดอกไม้ในสวนพฤกษศาสตร์    โดยนั่งรถสาย ๒๕ ไปเหมือนเมื่อวันที่ ๒๑  

ผมเดินเลยบริเวณที่เที่ยวแล้วเมื่อวันที่๒๑ ไปยัง glasshouse    เข้าไปชมต้นไม้ทั้งในระนาบสายตาและขึ้นบันไดไปชมจากเรือนยอด  โดยผมผูกขาดเรือนกระจกนี้คนเดียว   ต้นไม้ในเรือนกระจกนี้เป็นต้นไม้ในบ้านเรา จำพวกปาล์มเป็นพื้น     

ออกจากเรือนกระจก เดินผ่านคอกแพะไปทางเรือนกระจกหลังยาว     ระหว่างทางแวะชมสวน ethnobotany    ที่เป็นอาหาร ยาสมุนไพร  เครื่องปรุงอาหาร  น้ำหอม ยาไล่หรือฆ่าแมลง  ให้เส้นใย  รวมทั้งใช้เป็นไม้ประดับ ฯลฯ     เขามีป้ายพร้อมคำอธิบายเสียดายมีแต่ภาษาฝรั่งเศส ผมอ่านไม่ออก   

พอเดินไปถึงหน้าเรือนกระจกหลังยาว(ที่เขาปิด ไม่ให้เข้า) ผมก็นึกออกว่าเคยไปชมกับสาวน้อยเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว    เดินถ่ายรูปดอกไม้ข้างนอกก็สวยจับใจแล้ว   ที่น่าประทับใจคือเขาปลูกไม้ดอกหลากชนิดที่ผนังกำแพง    สวยงามมาก   ได้ถ่ายรูปแบบไม่ยั้ง

แล้วเดินไปเข้าเรือนกระจกไม้เมืองร้อนชื้น  พอเข้าไปแว่นตาและเลนส์กล้องถ่ายรูปมีฝ้าจับหมด   ต้องคอยเช็ดจึงพอถ่ายรูปได้ และมองเห็น   ต้นไม้เหล่านี้คือของบ้านเรานั่นเอง    ที่นี่ก็เช่นกัน มีผมเข้าไปชมคนเดียว   

ออกจากเรือนกระจกร้อนชื้น ไปเจอแปลง Lillyหรือพุทธรักษา    ระลึกได้อีกว่าเคยไปถ่ายมาแล้วแต่คราวนี้ดอกยังสดกว่าตอนไปเมื่อสองปีก่อน  ไล่ถ่ายรูปดอกและป้ายชื่อจนรอบ   มีดอกหลากสีหลากรูปทรง   

เดินไปพบครูสองคนชายหญิงพานักเรียนอนุบาลราวๆ สิบคนไปชมสวน   แล้วเดินไปทางทิศเหนือไปพบป้ายนิทรรศการ ๒๐๐ ปีสวนพฤกษศาสตร์ (1817 – 2017)  “The Garden : 200 Years ofPassion”    ที่บางส่วนมีภาษาอังกฤษ    จึงถ่ายรูปไว้    มาอ่านบนเครื่องบิน จึงรู้ว่าคนริเริ่ม(อย่างมีความหลงใหล – passion) ชื่อ Augustin-Pyramusde Candolle   แผ่นป้ายบอกว่าความคลั่งใคล้เอาจริงเอาจังเรื่องพืช ทำให้เขาได้ชื่อว่า เป็น academicgardener    สวนพฤกษศาสตร์ย้ายมาอยู่ที่ปัจจุบันในปี1904       

อ่านภาพถ่ายป้ายนิทรรศการแล้วเข้าใจชัดถึงความยิ่งใหญ่ของ Candolle ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส  และของสวิตเซอร์แลนด์   และใช้ชีวิตไปๆ มาๆ ระหว่างเจนีวา ปาริสและมองเพลลิเยร์    แต่ในที่สุดก็ปักหลักที่เจนีวา    ความยิ่งใหญ่นั้นคือความหลงใหลเอาจริงเอาจัง   

ป้ายนิทรรศการนี้น่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นหลัง  ว่า “รู้สิ่งใดรู้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล”   เพราะมีข้อความที่บอกอุดมการณ์ของ Candolleว่า ตนมีแรงบันดาลใจ ๓ อย่าง (๑)ความอยากรู้อยากเห็นเพื่อการค้นพบ  (๒)ต้องการมีชื่อเสียง  (๓) ในแผ่นป้ายไม่ระบุ 

  ผมเดินชมและถ่ายรูปจนเวลาประมาณ ๑๑ น. จึงเดินไปขึ้นรถสาย ๒๕ กลับโรงแรม

วิจารณ์ พานิช

๒๓ พ.ค. ๖๑

บนเครื่องบิน Turkish Airline จากอิสตันบูลกลับกรุงเทพ     



 

 

1 Dictamnus turkestanicus

2 ลำธารและไม้น้ำ

3 Silene flos -  cuculi

4 ไม่ทราบชื่อ

5 Phlox douglasii

6 ความงามของสวน

7 กว่าต้นไม้จะให้ร่มเงาเช่นนี้

8 เรือนกระจก

9 ดอกกระบองเพชรในเรือนกระจก

10 ดอกเต่าร้างในเรือนกระจก

11 เฟิร์นในเรือนกระจก

12 อะไรเอ่ย

13 Allium schoenoprasum

14

15

16

17

18

19

20

21 Iris Violin

22 Iris Camelot Rose

23 Iris Broadway Star

24 Iris Sparkling Sunrise

25 Iris Tillamook

26 Iris versicolor

หมายเลขบันทึก: 648876เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2018 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2018 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

…น่าเสียดาย..พื้นที่ในกรุงบ้านเรา…หากจะสร้างสีสันสร้างอากาศ..ด้วยต้นไม้..แทนที่จะถมคลองทำถนน..หรือปล่อยให้น้ำเน่าเป็นที่ทิ้งขยะ…(.นโยบาย นี้..น่าจะ เกิดได้…ถ้าช่วยกัน คิด สักหน่อย…..แถม..น่าจะลด ปัญหาน้ำท่วม..ที่จะมาเป็นประจำ…)…

ชอบ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ชอบดอกไม้หลากสี ชอบดอกไม้สีม่วงมากค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท