ธาตุ ๑๘


         ธาตุ ๑๘ ซ้อนอยู่ชั้นในของอายตนะภายใน ๖ เข้าไปอีก ตั้งแต่ชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๒๙ ซ้อนกันอยู่ตามลำดับของธาตุ จักขุธาตุเป็นธาตุเห็นสีขาวกลมใสสะอาดบริสุทธิ์ สำหรับเห็นรูป เมือรูปธาตุมากระทบจักขุประสาท วิญญาณธาตุสีขาวกลมใสสะอาด บริสุทธิ์ อยู่ที่กลางขันธ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ก็ส่งขั้นภายในสาย ไปนำรูปมาจากประตูคือจักษุประสาท แล้วก็นำลงไปตามสาย ไปไว้ในกลางของขันะ์ ๕ ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของขันธ์ ๕ ที่จะกระทำแก่รูปต่อไป

       กล่าวด้วยจักขุธาตุ รูปธาตุ วิญญาณธาตุ ฉันใด แม้ธาตุอื่นๆ อีก ๑๕ ธาตุ ก็ฉันนั้น แตกต่างกันในลักาณะสัณฐานบ้าง แต่ก้มีกล่าวไว้ในข้ออายตนะภายใน ๖ นั้นแลว

      ขันธ์ทั้ง ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ต่างก็มีดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้ เจืออยู่ด้วยทุกดวง

      พระเดชพระคุณ กลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้กล่าวไว้ว่า (เห็น จำ คิด รู้) กายทุกย เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี้เป็น่ิงสำคัญ อะไรๆ ก็ต้องสำเร็จด้วยเห้น จำ คิด รู้ ทั้งสิ้น กายทุกๆ กาย ก็มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเห็น จำ คิด รู้ และศูนย์กลางกาย กำเนิดธาตุธรรมเดม เหล่านี้ตรงกันมาตั้งแต่ดวงใสตั้งอยู่ในกลางกำเนิดธาตุธรรมเดมภายใน มาแล้วทุกๆ กาย เพราะฉะนั้น เมื่อขยายเป็นส่วนออกมาภายนอก ตั้งปฏิสนธิก็ดี หรือเบื้องปลายร่างกายเติบโตเจริญขึ้นก็ดี เห็น จำ คิด รู ตา หู จมุก ลิ้น กาย ใจ ศูนย์กลางกาย และที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดมก็ต้งอตรงกันตามหลักกำเนิดธาตุธรรมที่ปรากฎเป็นหลักเดมอยู่ในกำเนิดธาตุธรรมเดมนั้นทุกๆ กาย เช่นกัน

       กายทุกๆ กายก็มีขันธ์ ๕ มี เห็น จำ คิด รู มีอายตนะ ๑๒ มีะาตุ ๑๘ มีอินทรีย์ ๒๒ เช่นเดียวกับกายมนุษย์เหมือนกัน ตลอดถึงสุดหยาบสุดละเอียดของกายทั้ง ๕ กายนั้นก็ดี ก็มีเช่นเดียวกับกายมนุษย์เหมือนกัน 

       เห็น จำ คิด รู้ทั้ง ๔ นี้ มีเจืออยู่ในขณะจิตทุกๆ ดวง เว้นไม่ได้จิตดวงหนึ่งๆ ก็มีเห็นจำ คิด รู อยุ่ในนั้นด้วยทุกๆ ดวง สภาพอื่นๆ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยเช่นจิตเหมือนกัน คือ ขันธ์ ๕ รูปก็มีเห็น จำ คิด รู เวทนาก็มี เห็น จำ คิด รู้ สัญญา ก็มี เห็น จำ คิด รู้ สังขารก็มีเห็น จำ คิด รู้ วิญญาณก็มีเห็น จำ คิด รู้

       อยาตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ดวงหนึ่งๆ ก็มีเห็น จำ คิด รู้ เจื่อยุ่ด้วยทุกดวง ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ของกายทั้ง ๕ กายก็ดี หรือกายสุดหยาบสุดละเอียดของกายทั้ง ๕ ก็ดี ล้วนมีเห็น จำ คิด รู้ เจืออยู่ด้วยทั้งนั้น ทุกๆ กาย เว้นเสียไม่ได้ เห็น จำ คิด รู้ ั้ง ๔ นี้เป็นหลักสำคัญ ต้องมีเจือทั่วไปในสภาพทั้งปวง เว้นเสียไม่ได้ทุกขณะจิต จะตรัสรู้มรรคผลก็เพราะเห็น จำ คิด รู้ นี่เอง จิตจะหยาบและละเอียด หรือจะทำอะไรให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด ก็เพราะห็น จำ คิด รู้ นีเอง ธาตุเห็น ก็มีธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ เจืออยู่ในนั้นด้วย ธาตุจำก็มีธาตุเห็น ธาตุคิด ธาตุรู้ เจืออยู่ในนั้นพร้อมด้วย ธาตุคิด ก็มีธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุรู้ เจืออยู่ในนั้นพร้อมบริบูรณ์ ธาตุรู้ก็มีธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด เจือยู่ในนั้นพร้อมบริบูรณ์เช่นกัน

        จงจำไว้ว่า "เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี่แหละ เป็นหลักชัยสำคัญย่ิงนกในการทีเรียนสมถวิปัสสนา อบรมจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ จิตจะเศร้าหมองหรือผ่องใส จะดีหรือจะชั่วประการใด ก็เพราะห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี่แลหละ จิตจะนิ่ง จะหยุด เป็นตัวอัปปนาสมาธิแน่งแนไ้ ก็เพราะเห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ นี่แหละ เป็นสำคัญยิ่ง

        ในลำดับนี้จะได้แนะนำการพิจารราระบบการทำงาน หรือหน้าที่ของธาตุธรรมละเอียดเหล่านี้เพื่อให้เห็นเวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมคืออายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อันเป็นที่เกิดที่ดับสัญโญชน์ โดยละเอียดลึกซึ้งและจะได้รู้วิธีดับสัญโญชน์ทั้งหลายด้วยการเจริญภาวนาธรรม ทั้งในระรับสมาธิและปัญญาต่อไป...

        "หลักและวิธีเจริญสมถะและวิปัสสนากัมมัฎฐานเบื้องต้นถึงธรรมกาย

         - รูปภาพประกอบ ธาตุ ๑๘

คำสำคัญ (Tags): #ธาตุ ๑๘
หมายเลขบันทึก: 648745เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2018 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กรกฎาคม 2018 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท