ตะลึง! เปิดหลักฐานใหม่ เจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง เคยอยู่วัดคุ้งตะเภา!!


ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนครับ เพราะคนรุ่นเก่าไปหมดแร้ว สรุปคือวัดคุ้งตะเภาเป็นที่สถิตย์ของพระครูเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาแต่โบราณ หลังจากเสร็จชุมนุมเจ้าพระฝางและทรงชำระสงฆ์ที่นี่ แม้ในช่วงหลังเกือบร้อยปีก็ตาม ก็ยังเป็นที่สถิตย์เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาโดยลำดับ โยมชัยวุฒิ ส่งมาให้ดูครับ เมื่อสามทุ่ม ขนลุกเลย
original_pra01290259p2.jpg (1638×783)

ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนครับ เพราะคนรุ่นเก่าไปหมดแร้ว

สรุปคือวัดคุ้งตะเภาเป็นที่สถิตย์ของพระครูเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาแต่โบราณ หลังจากเสร็จชุมนุมเจ้าพระฝางและทรงชำระสงฆ์ที่นี่ แม้ในช่วงหลังเกือบร้อยปีก็ตาม ก็ยังเป็นที่สถิตย์เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาโดยลำดับ

โยมชัยวุฒิ ส่งมาให้ดูครับ เมื่อสามทุ่ม ขนลุกเลย


พบข้อมูลใหม่

เมืองฝาง ใน จ.อุตรดิตถ์ เป็นชื่อเมืองโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีวัดพระฝางสวางคบุรี สถานที่ประดิษฐานพระทันตธาตุ เป็นศูนย์กลาง

ไฟล์:Old picture of Wat Phra Fang 02.jpg

ภาพเก่าวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ สถานที่ประดิษฐานพระมหาธาตุศูนย์กลางของเมืองฝางสวางคบุรี

ไฟล์:Sawangkaburi.jpg

แผนที่ปริมณฑลโบราณสถานและภูมินามวิทยา ที่ปรากฎความเกี่ยวเนื่องกับเมืองสวางคบุรีโบราณ ตามหลักฐานพระราชพงศาวดาร

เมืองฝางเป็นที่รู้จัก ในตำราประวัติศาสตร์ เพราะเคยเป็นที่ตั้งของชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมที่มีพระสงฆ์ชื่อว่าเจ้าพระฝาง (ชื่อเดิม เรือน) เป็นผู้นำ และเป็นชุมนุมขนาดใหญ่หลังเสียกรุงศรีอยุธยา ต่อมาหลังสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตัดสินใจเสด็จขึ้นมาทำการปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝาง สำเร็จเป็นชุมนุมสุดท้ายได้ในปี พ.ศ. 2313 


และด้วยเหตุปัจจัยหลายอย่างทั้งการสงครามและเศรษฐกิจจากการรวมหัวเมืองล้านนาให้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรธนบุรีได้ในระยะต่อมาหลังคราวสงครามปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ทำให้เมืองฝางย้ายที่ตั้งศูนย์กลางปกครอง ไปตามผู้คน ที่ส่วนใหญ่อพยพโยกย้ายมาอยู่บริเวณ บางโพ, ท่าเสา, คุ้งตะเภา ที่กลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครอง เศรษฐกิจ ของเมืองฝางเดิม ในระยะรอยต่อปลายสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ไฟล์:Samut Khoi 1.jpg

สมุดไทยโบราณบัญชีถือสังกัดมูลนายประจำแขวงเมือง ที่จัดแสดงในวัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์.

ตำแหน่งเจ้าพระฝาง เป็นที่รู้จักจากพระฝาง (ชื่อเดิม เรือน) แต่แท้จริงชื่อนี้เป็นชื่อตามทำเนียบสงฆ์ปกครองเมืองฝาง หรือ "เจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง" มาตั้งแต่สมัยอยุธยา

ไฟล์:Monument of King Taksin in Wat Kungtapao.jpg

พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จะจัดสร้างและประดิษฐาน ณ ที่ตั้งพระตำหนักค่ายหาดสูง ตามพระราชพงศาวดาร (วัดคุ้งตะเภา บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์)

จากหลักฐาน พบว่า วัดคุ้งตะเภา ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2313 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่บอกมูลและสั่งสอนพระปริยัติธรรมของพระราชาคณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงอาราธนานิมนต์มาจากกรุงธนบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการชำระคณะสงฆ์หัวเมืองเหนือ หลังสิ้นสุดชุมนุมเจ้าพระฝาง 


File:Wat Khung Taphao 01.jpg

บรรยากาศวัดคุ้งตะเภา ในช่วงทศวรรษ 2540

สันนิษฐานว่าเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปแรกคือ พระพิมลธรรม ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง เป็นรูปแรกในสมัยธนบุรี และมีพระสงฆ์รักษาวัดสืบต่อกันมาโดยลำดับไม่ขาดสาย

ไฟล์:Old sala of Wat Khung Taphao.jpg

ระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์ทำให้วัดคุ้งตะเภา เจริญ และร่วงโรย มาโดยลำดับ พระสงฆ์ที่จำพรรษา และมีบทบาท ถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาตร์ และการรับรู้ของผู้คนมาโดยลำดับ เนื่องจากวัดแห่งนี้มีอายุกว่า 250 ปี และในสมัยก่อนไม่มีการทำบันทึกลำดับเจ้าอาวาสไว้ ทำให้สมัยหลัง ไม่มีใครทราบลำดับเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านรับรู้เพียงว่า วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดบ้านนอกเล็ก ๆ ที่พึ่งมีการพัฒนาเจริญรุ่งเรืองในสมัยระยะ 20 ปี ที่ผ่านมา ด้วยการนำของหลวงพ่อพระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ไฟล์:Abbot of Watkungtaphao-Luang Phor Somchai.jpg

พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (รองเจ้าคณะตำบลคุ้งตะเภา พระอุปัชฌาย์ และเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภารูปปัจจุบัน)

อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2561 ท่าน Chaiwat Leeleang ได้พบหลักฐานในราชกิจจานุเบกษา ในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า พระองค์ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาตั้งตำแหน่งพระสงฆ์เจ้าคณะเมืองต่าง ๆ  รวม 31 รูป ในวันจันทรคติตรงกับ แรม 15 ค่ำ เดือนแปด (บุรพาสาธ) ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช 1250 สุริยคติตรงกับ วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2431 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกพร้อมกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญในการทรงสถาปนาตั้งตำแหน่งพระสงฆ์สำคัญเพื่อปกครองสังฆมณฑล

File:Chakri Maha Prasat 1890.jpg

Phra Thinang Chakri Maha Prasat circa 1870


ดังปรากฎหลักฐานใน ราชกิจจานุเบกษา, เรื่อง ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๕ ตอน ๑๗, ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๑, หน้า ๑๓๘ ความว่า

original_00.jpg (748×981)

"...พระราชทานผ้าไตรแลสัญญาบัตร ให้เจ้าอธิการจันวัดคุ้งตะเภา เปนพระครูสวางคมุนี เจ้าคณใหญ่เมืองฝาง พระราชทานตาลีปัตพุตตาลทองแผ่ลวด พัดรองโหมด ย่ามสักลาด บาตรถุงสักลาด กาน้ำถ้วยกระโถนถ้วยร่มรองเท้าเปนเครื่องยศอย่างพระครูเจ้าคณไม่มีนิตรภัทร ๑..."


File:Wat Khung Taphao 1950.jpg

โบสถ์วัดคุ้งตะเภาก่อนบูรณะ

ดังนั้น หลวงพ่อเจ้าอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา ในสมัย พ.ศ. 2431 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น "พระครูสวางคมุนี ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง" ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั่นเอง 


ราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้จึงเป็นหลักฐานที่สำคัญยิ่ง ที่แสดงให้เห็นว่าวัดคุ้งตะเภา มีความเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับไม่ขาดสาย

File:Sunset in Wat Khung Taphao 1.jpg

โบสถ์และศาลาวัดคุ้งตะเภา

สันนิษฐานว่า หลวงพ่อเจ้าอธิการจัน เป็นเจ้าอาวาสมาก่อนหน้า พ.ศ. 2431 มาช้านาน และอาจมรณภาพไปก่อน พ.ศ. 2442 เพราะปรากฎความจากจดหมายเหตุ ร.๕ ศ. เอกสารเย็บเล่ม กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ ๕ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง  รายงานการศึกษามณฑลพิศณุโลก (๒๒ ธันวาคม - ๒๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๑๘) ในปี ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒) หรือเมื่อกว่า 116 ปี ที่ผ่านมา ที่ระบุว่า วัดคุ้งตะเภา มีพระ ๘ รูป ศิษย์วัด ๖ คน มีเจ้าอธิการรอดเป็นเจ้าอาวาส และผู้ใหญ่ชื่น เป็นมรรคนายก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดคุ้งตะเภาในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี

File:Historic site of wat khung taphao 05.jpg

Thonburi ancient brick in historic site of wat khungtaphao

หลักฐานดังกล่าว จึงแสดงให้เห็นว่าราชทินนาม พระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง เป็นตำแหน่งที่มีการพระราชทานให้แก่พระสงฆ์ผู้เป็นเจ้าคณะผู้ปกครอง ที่อยู่ในอาณามณฑลพื้นที่ ๆ เคยเป็นเมืองฝาง ของชุมนุมเจ้าพระฝาง มาแต่โบราณ 


และหากนับจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงปราบชุมนุมเจ้าพระฝางลงได้ในปี พ.ศ. 2313 พบหลักฐานการมีเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางในราชทินนามสวางคมุนี เพียง 3 รูป คือ พระครูสวางคมุนี (เย็ก) วัดใหญ่ท่าเสา ในสมัยรัชกาลที่ 4, พระครูสวางคมุนี (วอน) วัดวังตะม่อ (พ.ศ.2427-2430) และพระครูสวางคมุนี (จัน) วัดคุ้งตะเภา (พ.ศ.2431-) ในสมัยรัชกาลที่ 5  ซึ่งเป็นสิ่งหนึ่งที่คณะศรัทธาวัดคุ้งตะเภาควรภาคภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการบูรณะและพัฒนาวัดโบราณ ที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ชาติไทยมานับแต่โบราณกาล


[ลำดับราชกิจจานุเบกษา ทรงตั้งตำแหน่งพระสงฆ์เจ้าคณะในเขตอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕] 

http://www.ratchakitcha.soc.go...

ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2427 ความว่า "...พระอาจาริยวอนวัดต้นมขาม เปนพระครูสวางคมุนีเปนเจ้าคณะใหญ่เมืองฝาง ไปอยู่วัดวังตะม่อ..."

http://www.ratchakitcha.soc.go...

ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2431 ความว่า "...พระราชทานผ้าไตรแลสัญญาบัตร ให้เจ้าอธิการจันวัดคุ้งตะเภา เปนพระครูสวางคมุนี เจ้าคณใหญ่เมืองฝาง พระราชทานตาลีปัตพุตตาลทองแผ่ลวด พัดรองโหมด ย่ามสักลาด บาตรถุงสักลาด กาน้ำถ้วยกระโถนถ้วยร่มรองเท้าเปนเครื่องยศอย่างพระครูเจ้าคณไม่มีนิตรภัทร ๑..." (พระราชทานในวันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2431)

http://www.ratchakitcha.soc.go...

ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2432 ความว่า "...๒๑ เจ้าอธิการแสง วัดท่าทราย เปนพระครูอุทิศติยวงษ์คีรีเขตร เจ้าคณะเมืองอุตรดิฐ เมืองทุ่งยั้ง เมืองลำพูน (เมืองด่านนางพูน อยู่ในเขตลับแลปัจจุบัน) เมืองลับแล ไม่มีนิตยภัตร ได้พระราชทานตาลิปัตพุดตาลแผ่ลวด แลเครื่องยศต่าง ๆ เหมือนกัน..."


หมายเลขบันทึก: 647931เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2018 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2018 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท