เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)


เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)

เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรง ยกย่องให้สูงศักดิ์กว่าพระสนมคนอื่นๆ ทั้งปวง ด้วยเป็นคู่ทุกข์คู่ยากมาตั้งแต่ครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ กรมขุนพินิตประชานาถ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ตรัสเรียกแตกต่างจากเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)เจ้าจอมคนอื่นๆ ซึ่งทรงเรียกว่า “นาง” นำหน้าชื่อ แต่ทรงเรียกเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ว่า “แม่แพ” ถ้าตรัสเรียกแก่ผู้อื่นทรงเรียกว่า “คุณแพ” เหมือนเช่นครั้งยังมิได้เสวยราชย์ นอกจากนี้ยังพระราชทานสิทธิ์พิเศษกับ

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์เหนือพระสนมคนอื่นๆ เสมอ เช่น ได้รับใช้ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสวยราชย์แล้วเหมือนครั้งที่ยังมิได้เสวยราชย์ เป็นคนเดียวในหมู่พระสนมที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตักบาตรถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช

ได้รับตรา เหรียญ สายสะพาย เครื่องยศ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกตระกูลตามฐานันดรศักดิ์พระสนมเอก เป็นต้น เจ้าคุณพระประยูรวงศ์จึงได้รับยกย่องว่าเป็นหัวหน้าของพระสนมทั้งปวง

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เกิดในสกุล “บุนนาค” เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร) กับท่านผู้หญิงอิ่ม ซึ่งเป็นน้องท่านผู้หญิงอ่วม ภรรยาอีกคนหนึ่งของเจ้าพระยาสุรวงศไวยวัฒน์ มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา ดังนี้

พี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ซึ่งเกิดกับท่านผู้หญิงอ่วม ผู้เป็นป้า จำนวน ๓ คน คือ

๑. พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี

๒. เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์

๓. พระยาราชานุวงศ์

พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันจำนวน ๙ คนคือ

๑. เล็ก (ต่อมาได้เป็นภรรยาพระยาศรีศรราชภักดี : หนูเล็ก โกมารกุล ณ นคร)

๒. ฉาง

๓. เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ)

๔. หลวงจักรยานานุพิจารณ์ (เหมา)

๕. จ่ายวดยศสถิตย์ (หมิว)

๖. โหมด (ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมมารดา พระสนมในรัชกาลที่ ๕)

๗. แม้น (ต่อมาได้เป็นหม่อม สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช)

๘. เมี้ยน

๙. มิด

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (แพ) เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๙๗ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ประวัติเจ้าคุณพระประยูรวงศ์

พ.ศ. ๒๔๐๙ เมื่อเจ้าคุณพระประยูรวงศ์อายุได้ ๑๓ ปี สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้เป็นปู่ ได้พาเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายใน โดยพาไปฝากกับเจ้าจอมมารดา เที่ยง พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๔

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ได้ไปอยู่กับพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าโสมาวดีศรีรัตนราชธิดา การเข้าไปอยู่ในวังครั้งนี้เป็นเพราะโชควาสนาบันดาลหรือที่ภาษา ชาวบ้านเรียกกันว่าบุพเพสันนิวาส ทำให้เจ้าคุณพระประยูรวงศ์พบรักกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

ในที่สุดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์

ใน พ.ศ. ๒๔๑๐ และประทับอยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบในพระบรมมหาราชวังนั้น หลังจากอภิเษกได้

๓ เดือน เจ้าคุณพระประยูรวงศ์เริ่มตั้งครรภ์ จึงต้องหาสถานที่ที่จะคลอดเนื่องจากธรรมเนียมราชประเพณีสามัญชน จะคลอดในพระราชวังไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานวังอันเป็นที่เสด็จประพาส ณ สวนนันทอุทยาน ริมคลองมอญฝั่งธนบุรีให้เป็นทประทับ จนกระทั่งเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ครรภ์แก่ได้ ๗ เดือน จึงประสูติพระธิดา นับเป็นพระราชธิดาที่เกิดก่อนเสวยราชย์

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีพระราชธิดาทั้งสิ้น ๓ พระองค์ ได้แก่

๑. พระองค์เจ้าศรีวิลัยลักษณ์สุนทรศักดิ์กัลยาวดี (กรมขุนสุพรรณภาควดี) ประสูติ ณ สวนนันทอุทยาน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ (ประสูติในขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ)

๒. พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลพรรณ ประสูติ ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖

๓. พระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรกาส ประสูติ ณ พระบรมมหาราชวัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ยังเป็นบุคคลที่นำสมัยและเป็นผู้นำการแต่งกายสมัยใหม่ ในขณะที่บ้านเมืองกำลังอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อให้ชาติตะวันตกเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรม และความเจริญแล้วเช่นกัน

ประการแรก เลิกไว้ผมปีก ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุคนั้นมาไว้ผมยาวแทน

ประการที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายของผู้หญิงใหม่ เลิกนุ่งจีบเปลี่ยนเป็นนุ่งโจงกระเบนและใส่เสื้อแขนยาวชายเสื้อเพียงบั้นเอว ห่มแพรสไบเฉียงบ่านอกเสื้อ สวมรองเท้าบู๊ทและถุงเท้าหุ้มตลอดน่อง

ต่อมาโปรดให้นางในขี่ม้าตามเสด็จ ตรัสสั่งให้เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ นำนางในขี่ม้า การขี่ม้าจึงต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องแต่งกาย โดยห่มแพรแทนห่มสไบเฉียงและใส่หมวก “เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ จึงออกหน้านำใช้แบบแต่งตัวสะพายแพรเหมือนเช่นเคยนำเลิกตัดผมปีกอีกครั้งหนึ่ง แล้วเลยปล่อยปลายผมให้ยาวลงมาถึงชายบ่า ด้วยสมัยนั้นเจ้าคุณพระประยูรวงศ์จึงได้เป็นผู้นำแบบแต่งตัว Leader of Fashion ของนางในอยู่นาน”

เจ้าคุณพระประยูรวงศ์มีอายุได้ ๘๙ ปี ๔ เดือน พระราชทานเพลิงที่พระเมรุในสุสานหลวง

วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๖

 

ที่มา: จากหนังสือเรื่อง สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย

เรียบเรียงโดย: เบญจมาส แพทอง

หมายเลขบันทึก: 647791เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2018 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2018 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท