ชาวยุโรปที่เข้าสู่ลาวครั้งแรก?


ผู้มาเยือนชาวยุโรปทั้งสองมาถึงลาวในปี 1640 ซึ่งเป็นช่วงต้นรัช สมัยของพระเจ้าสุริยวงสา และไม่มีชาวต่างประเทศใดๆ เดินทางมาอีก ตลอดช่วงระยะเวลาอีกเกือบห้าสิบปีต่อมาจนกระทั่งพระองค์สวรรคตในปี 1694 หรือ 1695 ซึ่งพอถึงตอนนั้น ลาวก็ดูห่างไกลและลึกลับพอๆ กับ ธิเบตทีเดียว

ชาวยุโรปที่เข้าสู่ลาวครั้งแรก?

   หนังสือ "ประวัติศาสตร์ลาว (A History of Lao)" ของ มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์  ซึ่งแปลโดย จิราภรณ์ วิญญรัตน์ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย และมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ได้กล่าวถึงชาวยุโรปที่เข้ามาพำนักในเวียงจันทร์เป็นครั้งแรก  ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศา เมื่อ พ.ศ.2180 ตรงกับสมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5 (สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) พ.ศ. 2173 - พ.ศ. 2199

หนังสือ "ประวัติศาสตร์ลาว (A History of Lao)" ของ มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์  ซึ่งแปลโดย จิราภรณ์ วิญญรัตน์ กล่าวไว้ดังนี้

                        "ล่วงมาจนกระทั่งถึงปี 1637 เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาขึ้นครองราชย์ อาณาจักรลาวจึงก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความสงบและความรุ่งเรือง ซึ่งกิน ระยะเวลาติดต่อกันตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์คือเป็นเวลาห้าสิบเจ็ดปี และในช่วงการปกครองของพระเจ้าสุริยวงสานี้เอง ที่ปรากฏหลักฐานว่ามี ชาวยุโรปเข้ามาพํานักอยู่ในเวียงจันเป็นครั้งแรก ชาติแรกที่มาถึงคือพ่อค้า ชาวดัตช์ นายแกริต ฟาน วิสตอฟ (Gerritt van Wuystoff) ซึ่งถูกว่าจ้างให้ ทํางานในบริษัทดัตช์ อีสต์ อินเดีย และที่ตามเข้ามาติดๆ ก็คือ จิวานนี้มา เรีย เลอเรีย (Giovanni-Maria Leria) นักบวชนิกายเยซูอิตชาวอิตาเลียน ใน ขณะที่วิสตอฟอาศัยอยู่ไม่ถึงสองเดือน แต่หลวงพ่อเลอเรียอยู่นานถึงห้าปี ท่านเรียนภาษาลาวแม้ชาวลาวจะไม่เคยได้รับอนุญาตให้เข้ารีตเลยก็ตาม

                         จากหลักฐานที่บุคคลทั้งสองทิ้งเอาไว้ ทําให้เราสามารถเห็นภาพ ความยิ่งใหญ่และความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอํานาจของล้านช้างได้เป็น อย่างดี ในเวลาต่อมา ลาวได้ซึมซับเอาความคิดเรื่องระบบกษัตริย์แบบสยามมาใช้ พระเจ้าสุริยวงสาคือกษัตริย์ผู้งามสง่าและยากที่จะเข้าถึง พระ องค์ห่างเหินจากประชาชน โดดเดี่ยวตัวเองอยู่ในพระราชวังอันใหญ่โต และหรูหราที่ซึ่งเลอเรียบรรยายเอาไว้ว่า “กินอาณาเขตกว้างขวาง และ ใหญ่โตมโหฬารเสียจนคนต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเมือง” ภายในพระราช วัง พระองค์มีผู้รับใช้เป็นจํานวนมากทั้งที่เป็นเจ้าหน้าที่และข้าราชบริพาร แห่งราชสํานัก และทรงพระเกษมสําราญจากดนตรี นาฏศิลป์ และละคร ซึ่งรู้กันว่าอยู่ในช่วงแห่งความเฟื่องฟูในเขตนครหลวงของลาว

                          ผู้มาเยือนทั้งสองท่านต่างให้ข้อสังเกตถึงความมั่งคั่ง โดยเฉพาะ ฟาน วสตอฟที่แสดงความสนใจในโอกาสที่จะทําการค้า แต่ทั้งสองก็ต้อง ผิดหวัง เนื่องจากความมั่งคั่งนั้นสามารถตกไปสู่ฝ่ายสงฆ์ในพุทธศาสนาได้ เวียงจันคือศูนย์กลางแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา พระสงฆ์จากสถานที่ ไกลโพ้นเช่นกัมพูชาและพม่านั้น ฟาน วิสตอฟได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “มี จํานวนมากกว่าทหารในกองทัพของจักรพรรดิแห่งเยอรมันเสียอีก" เลอ เรียก็เช่นเดียวกัน เขาโกรธมากที่พระสงฆ์ไม่สนใจในคริสต์ศาสนาอย่าง จริงจัง แต่เขาก็เห็นว่า โดยทั่วไปแล้วชาวลาว “จิตใจดี คบง่าย ใจกว้างที่ จะรับฟังเหตุผลและเป็นคนน่านับถือ" ผู้มาเยือนชาวยุโรปทั้งสองมาถึงลาวในปี 1640 ซึ่งเป็นช่วงต้นรัช สมัยของพระเจ้าสุริยวงสา และไม่มีชาวต่างประเทศใดๆ เดินทางมาอีก ตลอดช่วงระยะเวลาอีกเกือบห้าสิบปีต่อมาจนกระทั่งพระองค์สวรรคตในปี 1694 หรือ 1695 ซึ่งพอถึงตอนนั้น ลาวก็ดูห่างไกลและลึกลับพอๆ กับ ธิเบตทีเดียว "

ในบทอ้างอิง 

          ผู้เขียนได้อ้างถึงเอกสารชั้นต้นที่เราน่าจะได้ศึกษาค้นคว้ากันต่อไป จากการสำรวจเอกสารในโลกออนไลน์พบว่าเอกสารส่วนมากเป็นภาษาฝรั่งเศษ หากใครเก่งภาษาฝรั่งเศษจะเป็นการดีมากในการอ่านเอกสารเหล่านี้เพื่อการศึกษาในลำดับต่อไป

1)  G.F. de Marini, 'Relation nouvelle et curieusedu Royaume de Lao (1660)” นํามาพิมพ์ใหม่ใน RevueIndochinoise 8 (1910), 158

2) หมายเหตุประกอบการแปลใน J-C. Le. Josne, Gerrittvan Waysthoff et Ses Assistants: Le Journal de Voyage au Laos (1641-42) (Metzs1986) หน้า 167

3) De Marini, Relation Nouvelle, 162

แหล่งข้อมูล

มาร์ติน สจ๊วต-ฟอกซ์ (MARTIN STUART-FOX). (2556). ประวัติศาสตร์ลาว (A History of Lao). กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมสาสตร์    และมนุษยศาสตร์.

 

หมายเลขบันทึก: 647556เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2018 13:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท