ดินแดนภารตะไปดู#บ่อน้ำขั้นบันไดที่น่าอัศจรรย์


เที่ยวอินเดียกับดวงกมล เทวพิทักษ์

ผู้เขียนเป็นคนชอบการเดินทาง  เพราะทุกครั้งของการเดินทางจะได้พบเห็นเรื่องราวต่างๆ  โลกกว้างใหญ่คือการเรียนรู้ที่ไม่รู้จบ  ผู้เขียนจึงรักอาชีพนักข่าวอย่างมากเพราะทำให้มีโอกาสได้เดินทางไปยังที่ต่างๆ  มากมาย  เมื่อมีโอกาสได้เห็น  ได้สัมผัส  ได้รับรู้…และก็ตามมาด้วยความต้องการจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รับรู้มุมมองและความรู้สึกของเราด้วยจึงชอบที่จะเขียนเป็นอีกหนึ่งงานอดิเรก..แน่นอนการเขียนของนักเขียนหรือ  ผู้บันทึกแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน  ทั้งในด้านอรรถรสของการใช้ภาษา  แง่มุมการวางกรอบเนื้อหาหรือ Frame Setting ผู้เขียนจึงมักสอนลูกศิษย์ทางด้านการสื่อสาร(Communication Art) เสมอว่า..โปรดอย่าตัดสินว่าใครถูกหรือผิด..เพราะคนแต่ละคนมองเหตุการณ์เดียวกันด้วยกรอบคนละแบบ ที่สำคัญคือ..ทุกคนทีผู้รับสาร  เป็นผู้บริโภค  เป็นคนอ่าน  เป็นคนดูจะต้องมีความรู้เท่าทัน (Media Literacy) คือเข้าใจที่มาของคนเขียน คนผลิต คนสื่อสารด้วยว่ามีพื้นฐานอย่างไร  มองเหตุการณ์หรือเรืื่องราวในแง่มุมไหน  เพราะอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร..สำหรับผู้เขียนแล้ว…ที่เขียนใน Gotoknow ก็เพื่อบันทึกช่วยในการจดจำเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆ   ต้องการสื่อสาร  แลกเปลี่ยนมุมมองให้กับผู้อ่านที่สนใจในเรื่องต่างๆ เช่นเดียวกับผู้เขียนค่ะ  ไม่กี่วันมานี้ผู้เขียนเบื่อฝนตกที่เมืองไทยเลยเก็บกระเป๋าไปหลบไปพักร้อนที่ดินเดีย..พักร้อนจริงๆ ค่ะ เพราะเป็นช่วงหน้าร้อนของที่นั่น  อุณหภูมิระหว่าง 30-40 องศาเซนเซียส  เมื่อสิบปีก่อนเคยไปทำข่าวที่อัฟกานิสถานได้แวะพักที่เดลีเมืองหลวง  แต่แทบจะไม่ได้เดินทางออกไปไหนเลย  เนื่องจากคณะผู้ใหญ่ VIP ท่านขอพักอยู่ในเมืองหลวงและก็บอกว่าถ้าเราอยากไปไหนก็เที่ยวได้ตามสบายเลย..ลืมบอกไปค่ะว่าภารกิจนั้นเราก็เป็นผู้หญิงคนเดียวในคณะ  คราวนี้เมื่อมีโอกาสเลยต้องตามใจตัวเอง..ไปดูทัชมาฮาล (Taj Mahal)   สถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่   1 ใน 7  สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ (New 7 Wonders of the World)ที่องค์กรของสวิตซ์ The New Open World Corporation (NOWC) ได้ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2550 ให้ได้  ก่อนจะไปถึงทัชมาฮาล…ผู้เขียนอยากเล่าเรื่อง Chand Baori ที่อ่านออกเสียงว่าจันเบารีหรือแซนเบารี  อันเป็นชื่อของบ่อน้ำขั้นบันได สถาปัตยกรรมที่น่าทึ่ง อีกแห่งหนึ่งในดินแดนชมทูทวีปแห่งนี้  บ่อน้ำที่ลึกที่สุดในอินเดียแห่งนี่้ตั้งอยู่ห่างจากเมือง Jaipur หรือเมืองชัยปุระประมาณ 90 กว่ากิโลเมตร ยังอยู่ในรัฐราชสถาน  สร้างขึ้นสมัยปี ค.ศ 800-900 พันกว่าปีมาแล้วค่ะ  สมัย King Chanda สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนยุคโบราณในการวางแผนจัดการน้ำ  ในบริเวณดินแดนที่เป็นขอบทะเลทรายธาร์ ( Thar Desert) ซึ่งแห้งแล้งมาก  อุณหภูมิสูง  ในแต่ละปีมีฝนตกน้อยแถมดินยังไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้  แต่นอกเหนือจากนั้นด้วยความที่ชาวฮินดูจะมีความผูกพันกับสายน้ำ  เพราะเชื่อว่าเป็นทางเชืื่อมต่อระหว่างสวรรค์กับโลก..สถานที่แห่งนี้จึงไม่ได้เป็นเพียงแหล่งกักกเก็บน้ำแต่ะบังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ  บ้างก็ว่าเป็นการสร้างถวาย Hashat Mata ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้หญิงโดยมีวิหารแห่งเทพอยู่ในบริเวณด้านหน้านั่นเอง…ทั้งนี้ชาวฮินดูมีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ในแต่ละพื้นที่  บ่อน้ำลึก 30 เมตร สูง 13 ชั้น มีบันได 3,500 ขั้นเพื่อให้ชาวบ้านเดินลงไปตักน้ำได้จนถึงก้นบ่อ..ผู้เขียนถ่ายภาพได้ไม่เยอะค่ะ..ยืนแค่ขอบๆ  เห็นแล้วก็รู้สึกเสียวหลังวาบๆ ..แต่ก็ชื่นชมความสวยงามและความสามารถของสถาปนิกในสมัยนั้นจริงๆ ค่ะ<p></p><p></p>

หมายเลขบันทึก: 647549เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2018 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท