การศึกษาดูงานการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ EdPEx


การศึกษาดูงานการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ EdPEx

วันที่ 23 เมษายน 2561

ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ


            เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ในการเข้าสู่ EdPEx งานประกันคุณภาพจึงจัดให้ตัวแทนผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย กองต่างๆคณะ สถาบัน และวิทยาลัยในสังกัด เข้าศึกษาดูงาน ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ อ.ป่าพยอม จ.พัทลุง ซึ่งมีการดำเนินการเข้าสู่ EdPEx ในระดับคณะ การศึกษาดูงานประกอบด้วย การศึกษาข้อมูลคณะ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ EdPEx

 

1.ข้อมูลคณะ

บรรยายสรุปโดย ผศ.ดร.สุรศักดิ์ คชภักดี คณบดี

1.      การกำหนดวิสัยทัศน์ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน ให้ชัดเจน “เป็นแหล่งผลิตบัณฑิต

องค์ความรู้ด้านหารเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรชั้นนำของภูมิภาคภาคใต้ บูรณาการเทคโนโลยีกับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ” (ชั้นนำ=อยู่ในระดับแนวหน้า โดยเทียบเคียงกับคณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยลดช่องว่างกับ สถาบันเทียบเคียงให้น้อยที่สุด)

  • อัตลักษณ์ “ผู้เรียน(บัณฑิตมีความรับผิดชอบ รอบรู้ สู้งานและมีประสบการณ์เชิงปฏิบัติ)” ซึ่ง

การได้มาของอัตลักษณ์ได้จากผู้ใช้บัณฑิต

3.      การบริหารจัดการ มีรองคณบดี 2 ท่าน คือ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ กับ รอง

คณบดีฝ่ายบริการการศึกษาและพัฒนานิสิต ไม่มีภาควิชา การบริหารวิชาการบริหารโดย ประธานสาขาวิชา 3 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาพืชศาสตร์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์  สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร บุคลากรสายสนับสนุนขึ้นตรงกับหัวหน้าสำนักงานคณบดี

2.การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ EdPEx

โดย อ.ดร.ถาวร จันทโชติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

1.      การประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยทักษิณ ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์ CUPT QA

คณะใช้ EdPEx จะมีปัญหาเรื่องข้อมูลและการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย ดังนั้น ปรการศึกษา 2561 จะใช้เกณฑ์ EdPEx ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ

  • EdPEx เป็นการพัฒนาการศึกษาที่มุ่งสู่วิสัยทัศน์ การจะไปสู่วิสัยทัศน์ต้องมี Benchmarking

ต้องมีกลยุทธ์เพิ่มเติมเพื่อให้ไปสู่วิสัยทัศน์จริงๆ

3.    ดำเนินการกำหนดโครงร่างองค์กร(OPรู้เรา) ต้องรู้ว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีวิธีการส่งมอบ

คุณค่าให้กับผู้เรียนอย่างไร เช่น หลักสูตรทันสมัย การเรียนการสอนเน้น Active Learning สร้างแบรนด์อย่างไร เช่น จบแล้วได้งานทำร้อยละ 100 เป็นต้น  ผู้ใช้ผลงานวิจัยคือใคร คู่ความร่วมมือคือใคร Benchmarking ในระยะแรกอาจต้องใช้ข้อมูลในCHE ก่อน แต่การทำ EdPEx จะมีการวัด

มากกว่าความพึงพอใจ เข่น การวัดความไม่พึงพอใจ(เป็นอันตรายต่อองค์กร หาปัจจัยที่ไม่พึงพอใจ) ความผูกพัน(บอกต่อ ใช้ซ้ำ ปกป้อง หลงใหล)กับสถาบัน ดังนั้น Benchmarking เป็นคู่เทียบไม่ใช่คู่แข่ง

4.      หมวด 1 ระบบการนำ โดย1)กำหนดวิสัยทัศน์ การสื่อสารวิสัยทัศน์  2) มีพันธกิจ 3)มีนโยบาย

4) เป้าหมาย 5)เป็นแบบอย่างที่ดี 6)การตัดสินใจที่สำคัญ 7)การสื่อสารหลายช่องทาง หลายแบบ ความถี่การสื่อสาร ความครบถ้วนทุกกลุ่ม 8)มีธรรมาภิบาล รับผิดชอบต่อสังคม

            6.หมวด 2 กลยุทธ์   กำหนด 1)วิสัยทัศน์2)ความท้านทายเชิงกลยุทธ์(นศ.น้อย)กลยุทธ์ที่สำคัญกำจัดความท้าทายได้อย่างไร ใน EdPEx ใช้คำว่า เป้าหมายเชิงกลยุทธ์=ประเด็นยุทธศาสตร์ 3)วางKPI

            7. หมวด 3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การได้มาซึ่งข้อมูลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ออกแบบเก็บข้อมูลอย่างไร

            8.หมวด 4 การวิเคราะห์ และจัดการความรู้ ต้องดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Data ให้เป็น Information

            9. หมวด 5 บุคลากร มีระบบปฏิบัติการ มีกำลังคน ซึ่ง มีประสิทธิภาพ ความสามารถ สมรรถนะ “Happy Work Place” คนมีความสุข อยากทำงาน เกิดความผูกพัน

            10.หมวด 7 ทำกระบวนการมีผลลัพธ์อะไร

 

การทำQA จะประสบผลสำเร็จต้องผนวกกับงานประจำ


            11. หมวด 6 ระบบปฏิบัติการทำ Work System และ Work Process (หลายๆ Work Process รงมเป็น Work System)

            12. หมวด 7 ผลลัพธ์ ทำกระบวนการได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง

    สิ่งที่ได้รับจากท่านคณบดีในวันนี้คือมิตรภาพที่ต้องการให้เพื่อช่วยเหลือมหาวิทยาลัยชายแดน เกิดกำลังใจในการทำงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพที่แท้จริง มีประเด็นของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ทรงคุณค่า 


ผู้เขียนจึงขอสรุป ขั้นตอนการเตรียมตัวเข้าสู่ EdPEx

1.กำหนดวิสัยทัศน์ให้ชัดเจน เป้าหมายชัด เวลาชัด ค่านิยมชัด สมรรถนะ
2.กำหนดโครงร่างองค์กร(OPรู้เรา) ความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์=จุดแข็งความท้าทาย=จุดอ่อน
3.หาคู่เทียบ(รู้เขา)
4.กำหนดกลยุทธ์
5.กำหนด KPI

    
6.Work System และ Work Process
7.การประเมินผลลัพธ์

หมายเลขบันทึก: 647035เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018 08:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท