เห็นกายในกาย ถึง ธรรมกาย ตอนที่ ๑


            วิธีเจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย ถึงธรรมกาย

            ขั้นสมถกัมมัฎฐาน

            ให้กำหนดบริกรรมนิมิตเป็เนครืองหมายดวงแก้ว กลมใส ให้ใจ (ความเห็นด้วย -ความจำ-ความคิด-ความรู้) อยู่ในกลางดวงที่ใส คือให้นึกเห็นจุดเล็กใส(ขนาดประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์ เมล็อไทร) กลางดวงที่ใน ตรงปากช่องจมูก (หญิงซ้าย-ชายขวา) พร้อมกับให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ตรงศุนย์กลางดวงแก้ว เพื่อประคองใจให้สงบ ให้หยด ให้นิ่ง ตรงนี้เป็นฐานที่ตั้งของใจฐานที่ ๑ เป็นปากข่อวทางลม คือ ต้นทางลมหายใจเข้าออ ให้สังเกตลมหายใจ เข้าออก กระทบหรือผ่านดวงแก้วด้วย จะนึกเห็นดวงแก้วได้ชัดเจนง่ายขึ้นเร็วขึ้น

           แล้วให้เลื่อนดวงแก้วกลมใสนั้นเข้าไปใช่องจมูก แล้วเลื่อนขึ้นไปตรงๆ ช้าๆ โดยที่ใจไม่เคลื่อจากจุดเล็กใสกลางดวงใสนั้น ไปหยุดนิ่งที่หัวตาด้านใน (หญิงซ้าย-ชายขวาป บริกรรมภาวนาตรงกลางของกลางจุดเล็กใสนั้นว่า "สัมมาอรหังๆๆ" นี้เป็นฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๒

           แล้วเลื่อนดวงแก้วกลมใสนั้น เข้าไปตรงๆ ไปหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกั๋กศีรษะเป็นฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๓ บริกรรมภาวนากำกับไว้ว่า "สัมมาอรหังๆๆ"

            มีอุบายวิะีที่จะช่วยให้ใจ (ความเห็นด้วยใจ-ความจำ-ความคิด-ความรู้ป ที่ชอบแต่จะฟุ้งซ่านออกไปข้างนอกตัว ให้รวมลงหยุด ณ ภายในได้ง่าย คือให้เหลือบดวงตากลับไปข้างหลัง เหมือนที่เราเห็นเด็กทารก เวลาที่หลับสนิท (จิตตกศุนย์) จะเห็นดวงตาของเด็กนั้นหมุนกลับไปข้างหลัง เหมือนกำลังชักจะตาย อย่างนั้นแหละ

          แล้วนึกเลือนดวงกลมใสสว่าง (ใจไม่เคลื่อนจากจุดเล็กใส) ลงไปตรงๆ ช้าๆ ไปหยุดนิ่งที่เพดานปาก นี่ญานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๔ ซึ่งเป็นทางลมหายใจเข้าออกนั้นเอง บริกรรมภาวนากำกับไว้ว่า "สัมมาอรหังๆๆ"

          แล้วเลื่อนดวงกลมใสสว่างนั้น ลงไปตงๆ ช้าๆ ไปหยุดนิ่งที่ปากช่องลำคอเป็นฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๕ กำหนดบริกรรมภาวนาวา "สัมมาอรหังๆๆ" พร้อมกับให้สังเกตลมหายใจเข้าออก ที่ผ่านและกระทบดวงแก้วด้วย จะได้เห็นดวงแก้วชัดขึ้น

         แล้วให้ึกเลือนดวงกลมใสสว่างนั้นลงไปตรงๆ ช้าๆ ไปหยุดนิ่งตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก ตรงระดับสะดือพอดี นี้เป็นฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๖ กำหนดบริกรรมภาวนาว่า "สัมมาอรหังๆๆ" ประคองใจให้หยุดนิ่งตรงนั้น

         แล้วให้นึกเลื่อนดวงแก้วกลมใสถอยกลับคืนขึ้นมาอีกประมาณ ๒ องคุลีมือ (๒นิ้วมือ) ให้หยุดนิ่งตรงนี้ นี้เป็นฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๗ ให้กำหนดว่านี้เป็นที่ตั้งภาวรของใจ เพระาเวลาที่สัตว์จะไปเกิดมาเกิด (มาตั้งปฏิสนธิวิยญานที่มอลูกมารดา) ก็จะมา "เข้าสิบ-เข้าศุนย์" คือจะมีหยุดตรงศูย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้

           ..บัดดนี้เราจะเข้าสมถะให้ได้ผลจริงๆ ต้อง "หยุด" ต่อแต่นี้ไปให้รวมใจ (ความเห็นด้วยใจ-ความจำ- ความคิด-ความรู้) ให้หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ จุดเล็กใส กลางดวงใส ตรงศุนย์กลางกายฐานที่ ๗ เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ นี้ไว้ให้มั่น ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน ไม่ไป ประคองใจให้หยุดให้หยุดกลางองหยุด น่ิงตรงกลางของกลางๆๆ ดวงใสนั้นไว้ บริกรรมภาวนา (นึกท่องในใจ) ว่า "สัมมาอรหังๆๆ" สิบครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้ง ตรงกลางของกลางของกลางๆๆ ดวงนั้น ให้ใจหยุดนิ่งตรงนั้น

            ขณะกำหนดบริกรรมนิมิต (นึกเห็นด้วยใจป และกำหนดบริกรรมภาวนา (นึกท่องในใจ) ว่า "สัมมาอรหังๆๆ" อยุ่นั้น พึงมีสติเห็นลมหายใจเข้า-ออก ที่ผ่านและกระทบดวงกลมใสด้วย จะได้เห็นดวงกลมใสชัดเร็วขึ้น เพราะที่ให้กำหนดบริกรรมนิมิตตรงศูนย์กลางกายนนี ศูนย์กลางดวงกลมใสตั้งอยุ่ตรงกลางเส้นทางลมหายใจเข้า-ออกพอดี แต่ไม่ต้องตามลม คือเพีีงให้มีติรู้-เห็นลมหายใจเข้า-ออก ผ่านหรือกระทบดวงกลมใสนี้เท่านั้น ก็พอ จะช่วยให้เห็นดวงกลมใสชัดเร็วขึ้น 

            คอยมี "สติ" ระลึกองค์บริกรรมนิมิตและบริกรรมภาวนาได้อยู่เสมอ ให้ใจจดจ่ออยู่เสมอ และมี "สัมปชัญญะ" รู้สึกตัวพ้อม ไมเผลอ ปล่อยให้ใจตกอยู่ในอำนาจของกิเลสนิวรณ์ คอยประคองใจให้อยุ่ในองค์บริกรรมนิมิต บริกรรมภาวน ด้วยใจดจ่อต่อเนื่องกันไปเรื่อย จนใจค่อยๆ สงบ ค่อยๆ หยุดนิ่ง ลมหายใจละเอียดและสั้นเข้า จนใจหยุดนิ่งสนิท จะปรากฎ "ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย" หรือ "ดวงปฐมมรรค" หรือ "ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน" ซึ่งมีใจ (ดวงเห็น-ดวงจำ-ดวงคิด-ดวงรู้) ดวงใหม่ที่ใสแจ่ม ปรากฎขึ้น ขนาดมาตรฐานเบื้องต้นประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ขนาดโตเท่ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ สงบและสงัดจากิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา... "หลักและวิธีเจริญสมถะวิปัสสนากัมมัฎฐานถึงธรรมกาย"

 

           

หมายเลขบันทึก: 647033เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2018 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2018 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท