นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ มช.



               ดังเล่าแล้วในบันทึกวันที่ ๒๔ เมษายน ว่าวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑ ผมไปเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกอาจารย์ต้นแบบด้านการเรียนการสอน ของสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท.)  

ได้ฟังเรื่องราวนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์มหาวิทยาลัย ๑๐ ท่าน แล้วผมเกิดปิติสุข    ที่ได้เห็นว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ ตามแนวทางการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ ๒๑ ในมหาวิทยาลัยไทยอย่างน่าชื่นชมยิ่ง

วันนี้ขอเล่าเรื่องของ อ. สุฐพัศ คำไทย แห่งสาขาเทคโนโลยีการบรรจุ  คณะอุตสาหกรรมเกษตร  มช.

 ท่านเปลี่ยนวิธีสอนจากแบบบรรยายล้วนมาเป็นแบบ student-centered ผสมระหว่าง บรรยาย :  ห้องปฏิบัติการ : PBL = 45 : 25 : 30    โดยพานักศึกษาไปเดินในไร่ ไปทำความเข้าใจว่าใบไม้เป็น biopolymer    กลับมาค้นเรื่อง biopolymer เอง    และจินตนาการว่าตนอยากทำโครงงานเพื่อสร้างอะไร    มาปรึกษาอาจารย์    โดยอาจารย์ให้ keyword ให้นักศึกษากลับไปค้นและทำ lab เอง    มีการใช้ FaceBook โชว์ผลงาน  แชร์ข้อคิดเห็น  ช่วยตอบคำถามซึ่งกันและกัน   

นักศึกษาจัดประกวดผลงานกันเอง  โดยปรึกษาอาจารย์    หาผลงานไปแข่งขันรับรางวัลในต่างประเทศ    และชนะได้รับรางวัล    

นักศึกษาเรียนสนุก มีความภูมิใจในตัวเอง ภูมิใจในวิชาที่เรียน    อ. สุฐพัศมีเวลาวันละ ๒๔ ชั่วโมงให้ นศ. ปรึกษา 

วิจารณ์ พานิช                        

๑๖ มี.ค. ๖๑

 

1 อ. สุฐพัฒ คำไทย

2 โครงสร้างการเรียนการสอน

3 ด้านขวาเป็นรายการผลงานจากโครงงาน

หมายเลขบันทึก: 646856เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2018 22:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2018 22:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท