กระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 

Active Learning คืออะไร? สอนยังไงให้เป็น Active Learning?

             การจัดการเรียนการสอนในยุคโลกาภิวัตน์นั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เราจะเห็นได้ว่าการเรียนรู้ของเรานั้น เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการดำเนินชีวิตประจำวันในวันหนึ่งๆ เราทุกคนต้องเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ อาจะเป็นสถานการณ์ที่เคยพบเจอ หรืออาจเป็นสถานการณ์ใหม่ๆ  ที่ไม่เคยพบเจอ แต่ก็ไม่ได้เป็นสถานการ์ณที่คล้ายคลึงกันเลยทีเดียว ดังนั้นมนุษย์เราจึงเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆที่ตัวเองเผชิญหน้าอยู่ได้ หากจะกล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ มีนักจิตวิทยาและนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้ให้ความหมายของการเรียนรู้ไว้หลายท่านด้วยกัน ดังนี้ อีแอลธอร์นไดท์ (E.L Thorndike; 1967) กล่าวว่า “การเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและปฏิกิริยาการตอบสนอง” วอร์เชล (Worchel; 1989) ) กล่าวว่า “การเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการให้ประสบการณ์หรือการปฏิบัติการ  จนทำให้บุคคลเกิดความสามารถในการกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โดยที่ความสามารถนั้นจะเกิดถาวร” เป็นต้น

               ในยุคปฏิรูปการเรียนการสอนนั้น เพือให้สอดคล้องกับนโยบายปฏิรูปการศึกษา ได้มีทฤษฏีการเรียนรู้หลายทฤษฏีด้วยกัน ในส่วนนี้จะขอกล่าวถึง การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) หลายๆคนคงเคยคุ้นฟังกันดี การเรียนรู้แบบ Active Learning หมายถึง การให้ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์กันจนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้สามารถวิเคราะห์ สังงเคราะห์ ประเมินค่าหรือสร้างสรรค์สื่งต่างๆ และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมอภิปรายให้มีโอกาสฝึกทักษะทางด้านการสื่อสาร ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นถึง 70%

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะของ Active Learning (อ้างอิงจาก :ไชยยศ เรืองสุวรรณ)

เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา การนําความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
  • ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
  • ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
  • ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน พูด ฟัง คิด
  • เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
  • เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล, ข่าวสาร, สารสนเทศ, และหลักการสู่การสร้างความคิดรวบยอดความคิดรวบยอด
  • ผู้สอนจะเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
  • ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้ และการสรุปทบทวนของผู้เรียน

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บทบาทของครู กับ Active Learning  มีดังนี้

1. จัดให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการพัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน

2. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม และการเจรจาโต้ตอบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน

3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เป็นพลวัต ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

4. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมมือ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน

5. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย และให้โอกาสผู้เรียนได้รับวิธีการสอนที่หลากหลาย

6. วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา และกิจกรรม

7. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง ยอมรับในความสามารถในการแสดงออก และความคิดเของที่ผู้เรียน

              อาจสรุปได้ว่า การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หรือการเรียนรู้แบบลงมือทำหรือปฏิบัติ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย โดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ในการนี้ ครูต้องลดบทบาทในการสอนและการให้ข้อความรู้แก่ผู้เรียนโดยตรงลง แต่ไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ที่จะก่อให้เกิดสภาพนี้ได้คือ ครูผู้สอนที่จะต้องมีสภาพของ Active Teaching ก่อน และไม่ว่าเราจะใช้คำศัพท์ใดๆ หรือใช้นิยามหรือคำจำกัดความใดๆ ที่จะกว้างหรือแคบก็ตามสิ่งที่เราในฐานะครูผู้สอน ซึ่งต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น จะต้องคำนึงถึงก็คือทำอย่างไรจึงจะให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ และครบถ้วนถามที่สังคมยุคปฏิรูปการศึกษาได้มุ่งหวังไว้ ไม่ใช่สอนเพื่อเด็กเรียนรู้เพียงเพื่อจำเอามาตอบเราได้เท่านั้น

 

ที่มา:

http://www.kruupdate.com/news/newid-3465.html

https://www.kroobannok.com/206...

 https://parnward8info.wordpres...

ชื่อ:นางสาวปพิชญา  สมศักดิ์ ป.บัณฑิตรุ่นที่ 4  หมู่ 5 เลขที่ 6

 

 

หมายเลขบันทึก: 646568เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2018 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 เมษายน 2018 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท