เคล็ดลับจับโกหก


คดีหวย 30 ล้าน ยืดเยื้อหลายเดือน...

จนมีผู้เกี่ยวข้องโผล่มาเป็นตัวละครให้เราติดตามชมกันเพิ่มมาเรื่อยๆ.

ผมไม่เอ่ยชื่อละกัน เดี๋ยวจะติดร่างแหไปด้วย

.

ผมไม่แตะเรื่องคดี เพราะผมไม่เก่งเรื่องกฏหมาย.

และผมก็เชื่อว่าเบื้องหลังน่าจะมีอะไรซ่อนอยู่อีกเยอะ มิฉะนั้น คงไม่บานปลายยืดเยื้อกันมาถึงขนาดนี้

อันนี้ คือคิดจากจาก Common sense พื้นๆ ของผม ...อะไรจะยืดเยื้อขนาดนี้... !!

ก็ติดตามซีรีย์ยาวๆ นี้กันต่อไปนะครับ

.

ฐานะอาจารย์สอนเรื่องคน ผมอยากให้ความรู้ เรื่องการสังเกตคนเอาไว้ครับ

ซึ่งผมเคยสอนในวิชา "เคล็ดลับจับโกหก"

วิธีสังเกตุสิ่งผิดปกติของคน ที่เรียกว่า "พิรุธ"

เวลาดูสื่อ สังเกตคนแบบนี้นะครับ

..."อย่าฟังจากสิ่งที่เขาพูด แต่จงดูท่าทีที่เขาพูด"...

.

เข้าใจไหมครับ... คนเราจะพูดอะไรก็ได้

แต่กริยา บุคลิก (Body language) ในขณะที่พูด โดยเฉพาะเวลาที่อารมณ์กำลังพีค เช่น กำลังโดนซัก

จะแสดงอาการ ซึ่งบ่งบอกถึงความคิดที่แอบอยู่ในใจ

.

คนเรามีความรู้สึกอะไรสักอย่าง ร่างกายจะมีปฏิกริยา แม้จะพยายามเก็บซ่อนท่าทีอย่างไร ก็ไม่มิดครับ

จะมีบางจังหวะที่หลุดพิรุธออกมาให้เราเห็นได้ ถ้าสังเกตุดีๆ ...ซึ่งบางทีก็แว้บเดียว

อันนี้ต้องฝึกสังเกตุนิ่งๆ ด้วยใจที่เป็นกลาง จึงจะเห็นได้

ตั้งสมาธิ ทิ้งอคติ เราจะเห็นอะไรอีกเยอะครับ

.

.

ที่ผมเห็นๆ คนมักจะไปจับที่คำพูด ...แล้วคดีนี้นะครับ ยิ่งพูดยิ่งแตกประเด็นออกไปเรื่อยๆ

คนก็ไปถกกันตามประเด็นที่แตกออกไปอีก แถมมีผู้เกี่ยวข้อง (หรืออยากเกี่ยวข้อง) เพิ่มเข้ามาอีก

เพิ่มเข้ามาหมด ทั้งพยาน ทั้งตำรวจ ... ความยืดเยื้อจึงบังเกิด

.

นี่ถ้ามาจับกันที่กริยา ท่าทาง ดูว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรนะ 

รับรองคดีจบไปนานแล้วครับ

คนโบราณเขาจะดูกันตรงนี้ มีศาสตร์การดูคน สอนด้วย ปัจจุบันไม่ค่อยมีครับ วิชานี้

ฝรั่งมีสอนเหมือนกัน ค่าเรียนแพงมากๆ เหยียบแสนครับ

(อ้อ... อ.กล้วยสอนไม่แพงนะ ขอโฆษณานิด)

.

เรื่องการดูท่าทางนี้จึงสำคัญกว่า การไปถกกันที่เหตุผล 

เพราะเหตุผลเป็นสิ่งที่ใครก็สร้างขึ้นมาได้ ยิ่งเรื่องที่ไม่มีหลักฐานชัดๆ ก็พูดสร้างเรื่องกันไปได้มากมาย

.

และถ้าผมจะพูดกันแบบตรงๆ เลยนะ เอาแบบตรงประเด็น ไม่เย้นเย้อ...

สมัยนี้ก็มีเครื่องจับเท็จนี่ครับ...!!

คดีนี้ แค่จับได้ว่าใครพูดเท็จ คดีก็จบแล้ว จริงไหมครับ ลองคิดตามผมดู....?

ไม่เห็นจะต้องไปสืบอะไรให้ยืดเยื้อจนจะครึ่งปีแล้วยังไม่จบเลย

จริงไหมล่ะครับ ?!!

หมายเลขบันทึก: 646338เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2018 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2018 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท