แตงโมกรุงเทพฯ ปลอดภัยแค่ไหน


นึกถึงคุณแม่ครั้งใดก็อดนึกถึงแตงโม มะม่วง ทุเรียน และผลไม้อีกหลายอย่าง เช่น มังคุด ลองกอง ฯลฯ ไม่ได้เลย

 

เราๆ ท่านๆ คงจะชอบแตงโมกันบ้างไม่มากก็น้อย ผู้เขียนจำได้ว่า แตงโมเป็นหนึ่งในผลไม้ที่คุณแม่ชอบ (ดูเหมือนจะชอบหลายสิบอย่าง)

นึกถึงคุณแม่ครั้งใดก็อดนึกถึงแตงโม มะม่วง ทุเรียน และผลไม้อีกหลายอย่าง เช่น มังคุด ลองกอง ฯลฯ ไม่ได้เลย

<p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัยทำการสำรวจแตงโมตัวอย่างจากตลาดหัวรถไฟ นครหลวง พรานนก บางขุนศรี และบางขุนนนท์</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">มีการตรวจหาสารตกค้าง 4 กลุ่ม รวม 58 ชนิดที่ใช้ในการเกษตร เช่น เฮปตาคลอร์ เอ็นโดซัลเฟน ดีดีที โมโนโครโตรฟอส เดลต้ามีธริน เฟนลาเวอเรต ฯลฯ</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ผลปรากฏว่า ไม่มีสารตกค้างทางการเกษตรในแตงโมกรุงเทพฯ เลย </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แตงโมเป็นผลไม้สุขภาพอย่างหนึ่งที่มีทั้งความเย็นฉ่ำของน้ำ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น และมีสารไลโคพีนแบบที่มีในมะเขือเทศ</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"> </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">สารไลโคพีนมีส่วนช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ และป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก </p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">การกินพืชผักที่มีสีแดงให้ได้ผลดีที่สุดในการป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากควรกินให้ได้ 10 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ไลโคพีนสุกดูดซึมได้ดีกว่าดิบ มะเขือเทศสุก หรือซอสมะเขือเทศ(ใส่ในอาหารเล็กน้อย)จึงใช้ได้ผลดี</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ท่านอาจารย์เภสัชกรสรจักร ศิริบริรักษ์กล่าวว่า ถิ่นกำเนิดของแตงโมน่าจะอยู่ในทะเลทรายกาลาฮารี ในแอฟริกา และเป็นผลไม้ที่นิยมกันมานาน… ดังปรากฏในอักษรภาพบนฝาผนังในปิระมิดอียิปต์</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แตงโม 2 ถ้วยตวง (1 ถ้วยตวง = 240 มิลลิลิตร) ให้โปแทสเซียมถึง 10% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วัน</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">แตงโม 1.5 ถ้วยมีไลโคพีน 14-15 มิลลิกรัมมากกว่าพืชผักเกือบทุกชนิด และมีมากใกล้เคียงกับมะเขือเทศดิบ</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent">ขอแสดงความดีใจกับคนกรุงเทพฯ ที่มีแตงโมปลอดภัยกินกันครับ…</p><p style="text-justify: inter-cluster; margin: 12pt 0cm 0pt; text-indent: 0cm; text-align: justify" class="MsoBodyTextIndent"></p>    แหล่งข้อมูล: <ul>

  • ขอขอบพระคุณ > ไทยรัฐ+สถาบันอาหารโครงการอาหารปลอดภัย. มัน! มากับอาหาร: วันนี้...แตงโมไทย ไม่น่า...กลัว!... ไทยรัฐ. 1 ธันวาคม 2549.
  • ขอขอบพระคุณ > อาจารย์เภสัชกรสรจักร ศิริบริรักษ์. พลังมหัศจรรย์ในน้ำผักผลไม้. ซีเอ็ดยูเคชั่น (www.se-ed.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. 2549. หน้า 246-256.
  • บล็อก "บ้านสุขภาพ" และการอ้างอิงมีไว้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ไม่ใช่เพื่อการรักษา > ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำไปใช้
  • ขอขอบพระคุณ > โรงพยาบาลค่ายสุรศักดิ์มนตรี + อาจารย์เทวินทร์ อุปนันท์ IT + หน่วยรังสีกรรม
  • ขอขอบพระคุณ > ศูนย์มะเร็งลำปาง + อาจารย์ ณรงค์ ม่วงตานี และอาจารย์เทพรัตน์ บุณยะประภูติ IT + กลุ่มงานรังสีวินิจฉัย
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ จัดทำ > ๒ ธันวาคม ๒๕๔๙.
  • </ul>

    เขียนใน GotoKnow โดย 
     ใน บ้านสุขภาพ
    หมายเลขบันทึก: 64630เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2006 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (10)

    แล้วในต่างจังหวัด เราจะทราบได้อย่าไรว่าแตงโม(บ้านนอก) ปลอดภัยเท่ากับแตงโมกรุงเทพฯ คะ มีวิธีการทดสอบอย่างง่ายๆไหมคะ รบกวนบอกวิธีด้วยค่ะ

    • ขอขอบคุณอาจารย์ PuPu และท่านผู้อ่านทุกท่าน...
    • เท่าที่ทราบ... การทดสอบสารตกค้าง โดยเฉพาะยาฆ่าแมลงยังไม่มีวิธีทดสอบแบบง่ายๆ

    อย่างไรก็ตาม...

    • ถ้าการตรวจสอบตลาดที่กรุงเทพฯ ปลอดภัยหลายๆ แห่ง โอกาสที่แตงโมต่างจังหวัดปลอดภัยจะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากสินค้าจากแทบทุกส่วนของไทยส่งขายกรุงเทพฯ

    ถ้าต้องการระดับปลอดภัยเพิ่มขึ้น... แนะนำให้ทำอย่างนี้ครับ

    • ทานข้าวกล้อง ถั่ว งา ผัก ผลไม้ให้หลากหลาย... ซื้อจากหลายแห่ง และไม่กินอาหารซ้ำซาก > จะลดความเสี่ยงจากการได้รับสารเคมีชนิดเดิม
    • ถ้าเราได้รับสารเคมีนานๆ ครั้ง > ร่างกายมักจะทำลาย หรือกำจัดออกได้

    และอย่างนี้...

    • ดื่มน้ำให้มากจนปัสสาวะสีจาง หรือไม่เห็นสีทุกวัน + ตั้งแต่เช้าจนถึง 1 ทุ่ม เพื่อให้ไตทำงานได้ดี
    • ออกกำลังเป็นประจำ... ยิ่งถ้าเหงื่ออกได้ยิ่งดี ช่วยกำจัดของเสีย

    และอย่างนี้...

    • ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง
    • ปลูกเอง (วิธีนี้ดีที่สุด + ทำยากที่สุด) > โดยเฉพาะมะละกอ กล้วย พริก มะเขือเทศ... 4 มหาอำนาจพืชสุขภาพ

    และอย่างนี้...

    • ทานเนื้อให้น้อยลง + ดื่มนมไม่มีไขมัน เพื่อลดไขมันสัตว์ ซึ่งมีสารเคมีสะสมอยู่มากกว่าผลิตภัณฑ์จากพืช
    • ทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น... เพื่อลดโอกาสเกิดโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิด

    ขอให้อาจารย์ PuPu และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพดี และมีอาหารที่ดีกับสุขภาพทานไปนานๆ ครับ...

    หนูทราบมาว่า แตงโม 1 ลูก (ประมาณ 1 กิโลกรัม)เท่ากับ ไวอาก้า 1 เม็ด ค่ะ มันเป็นความจริงใช่มั้ยค่ะ

    ขอขอบคุณอาจารย์กัลยา และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เท่าที่ทราบ... ยังไม่มีข้อมูลว่า แตงโมแก้ปัญหาอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวในคนวัยกลางคนขึ้นไปได้อย่างยาไวอากร้า (Viagra) ครับ

    ยาดังกล่าวมีราคาแพงมาก...

    • ได้ยินมาว่า (ไม่มีข้อมูลวิจัยที่จะยกมารับรองได้) คนที่ใส่ใจ รักษาสุขภาพดีๆ โดยเฉพาะการวิ่งออกกำลังกายมีส่วนช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้

    วิธีที่จะช่วยป้องกันสมรรถนะทางเพศเสื่อมในผู้ชายมีหลายวิธี เช่น

    • ไม่สูบบุหรี่
    • ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์
    • ควบคุมน้ำหนัก... ไม่ให้อ้วน
    • นอนให้พอ... นอนหัวค่ำหน่อย อย่านอนดึก

    และอย่างนี้...

    • ออกกำลังเป็นประจำ... เริ่มจากเดินคราวละ 10-15 นาที วันละ 2-3 ยก > เปลี่ยนเป็นเดินเร็ว > เปลี่ยนเป็นเดินเร็วรวดเดียว 30 นาที/วัน > เปลี่ยนเป็นเดิน 10 นาที วิ่งเหยาะ 10 นาที เดิน 10 นาที > เปลี่ยนเป็นเดิน 5 นาที วิ่งเหยาะ 15 นาที เดิน 10 นาที > เปลี่ยนเป็นเดิน 5 นาที วิ่งเหยาะ 20-30 นาที เดิน 5 นาที
    • ถ้ามีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีโรคเรื้อรัง หรือมีความเสี่ยงโรคหัวใจ ควรปรึกษาบุคลากรสุขภาพก่อนออกกำลัง 

    และอย่างนี้...

    • ฝึกหายใจช้าๆ ให้ต่ำกว่า 10 ครั้ง/นาที วันละ 15 นาที เพื่อลดความเครียดลง
    • ลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะลดไขมันสัตว์ กะทิ น้ำมันปาล์ม และลดเนื้อสัตว์ลง

    และอย่างนี้...

    • กินข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ถั่ว งา และปลา
    • กินโปรตีนจากถั่ว และปลาแทนเนื้ออย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เพื่อลดโอกาสเส้นเลือดอุดตัน

    ขอให้อาจารย์กัลยา และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข มีสุขภาพดี มีอาหารที่ดีกับสุขภาพ มีโอกาสออกกำลัง และไม่มีโรคภัยไข้เจ็บไปนานๆ ครับ...

    ขอขอบคุณอาจารย์หมอวัลลภ มากๆค่ะที่ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยและวิธีป้องกันสารตกค้างค่ะ
    • ดิฉันทานแตงโมทีไรแล้วมีอันต้องร้อนท้องทุกทีไม่ทราบว่าทำม
    • จึงทำให้ไม่ค่อยทานแตงโม และได้ข่าวมาอีกว่าใช้ยาฆ่าแมลงมาก

    ผมไม่ทานแตงโมมาหลายปีแล้ว ปลอดภัยหรือเปล่าไม่ทราบ แต่เห็นเขาใช้ยาแล้วน่ากลัวมาก ใครคิดว่าปลอดภัยก็เชิญตามสบายเลยครับ

    แม้จะปลอดภัยก็ตาม การปลูกแตงโมที่ใช้ยาสารพิษมากๆก็ทำลายสิ่งแวดล้อม และวงจรอาหารของเราอยู่ดี ไม่ควรส่งเสริมเลย หาทางเลือกอื่นไม่ได้เลยหรือครับ เห็นแก่โลกใบเดียวที่เรามีอยู่นี้บ้างได้ไหมครับ

    ถ้าเราไม่มีแตงโมกิน มนุษย์เราจะสูญพันธุ์ไหมครับ

    ขอขอบคุณอาจารย์ PuPu และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ขอขอบคุณอาจารย์ PuPu และท่านผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อคิดกันครับ

    ขอให้อาจารย์ PuPu และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพดี และมีอาหารที่ดีกับสุขภาพไปนานๆ ครับ...

    ขอขอบคุณอาจารย์ดวงเด่น และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • เรื่องทานแตงโมแล้วร้อนท้องอาจเป็นผลแบบที่โบราณท่านเรียกว่า "ลางเนื้อชอบลางยา" ครับ...
    • ถ้าเราทานอะไรแล้ว > รู้สึกไม่สบาย หรือไม่ถูกกัน... ลองเปลี่ยนเป็นผัก ผลไม้ชนิดอื่นน่าจะดี เพราะมีข้าวกล้อง ผัก ถั่ว งา ผลไม้อีกมากมายหลายชนิด

    เรื่องยาฆ่าแมลงนี่... ถ้าคนไทยตื่นตัวกันมากๆ

    • ต่อไปคงจะมีผัก ผลไม้ชนิดไม่ใช้ยาฆ่าแมลงวางจำหน่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    • ถ้ามีที่ว่างในบ้าน หรือในสวน... เชิญปลูกพืชสวนครัวเองได้เลย... เริ่มจากมะละกอ กล้วย พริก มะเขือเทศ

    ขอให้อาจารย์ดวงเด่น และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีสุขภาพดี และมีอาหารที่ดีกับสุขภาพไปนานๆ ครับ...

    ขอขอบคุณอาจารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    • ความเห็นของอาจารย์เข้าใจว่า คงจะหมายถึงการปลูกแตงโมเชิงธุรกิจปริมาณมาก...

    การปลูกพืชเชิงเดี่ยว (ปลูกพืชชนิดเดียวกันปริมาณมาก) เป็นความเสี่ยงต่อศัตรูพืชมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหอย หนู แมลง และไวรัสอีกหลายสายพันธุ์

    • เรื่องการปลูกพืชให้หลากหลาย ซึ่งเข้ากับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องที่ดีมากต่อสิ่งแวดล้อม

    ผมเองก็ปลูกมะละกอ กล้วยไว้ในโรงพยาบาลเป็นสาธารณทานทั่วไปสำหรับเจ้าหน้าที่ คนงาน คนไข้ และช่วงหลังนำไปให้แม่ชีกับเณรสำหรับทำส้มตำด้วย

    • เรียนเสนอให้อาจารย์แนะนำวิธีปลูกพืชแบบไม่ใช้สารเคมีครับ... เชื่อมั่นว่า จะมีท่านผู้อ่านสนใจอย่างกว้างขวาง

    ขอให้อาจารย์และท่านผู้อ่านทุกท่านมีความสุข ความเจริญ มีระบบนิเวศที่ดี (สิ่งแวดล้อม) และมีอาหารที่ปลอดภัยจากสารเคมีทานไปนานๆ ครับ...

    ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท