บทความจากรายการวิทยุ Human Talk ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2561


รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม 2561 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ก่อนหน้าการออกอากาศครั้งนี้ Tiger Woods เพิ่งจะแข่งขันเสร็จ Tiger Woods เป็นลูกครึ่งไทย ประสบความสำเร็จแล้วหายไปประมาณ 5 ปี เพราะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น เรื่องส่วนตัว และ ปัญหาการบาดเจ็บ ปีนี้ก็อายุ 42 ปีแล้ว ใครๆ ก็คิดว่าเขาคงกลับมาไม่ได้ ในรายการแข่งขันกอล์ฟใหญ่รายการหนึ่งที่ฟลอริด้า เขามาเป็นอันดับที่ 2 ตามผู้นำแค่ 1 Stroke เท่านั้น

สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาที่คนเราประสบความสำเร็จ แล้วก็ล้มเหลวไปนาน แล้วเราก็อยากจะกลับมาเล่นเหมือนเดิม Phil Mickelson อายุ 47 ปีกลับมาประสบความสำเร็จ เราต้องประสบความสำเร็จไปเรื่อยๆ ไม่ใช่ประสบความสำเร็จครั้งเดียว คนทำงานที่มีอายุ 30 กว่าปี ประสบความสำเร็จแล้วอย่าประมาท จะต้องสำเร็จไปเรื่อยๆเพราะ ชีวิตเราต้องเดินไปข้างหน้า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หยุดไม่ได้ อันนี้สำคัญ

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า ได้ติดตามข่าว Tiger Woods บ้าง เท่าที่ทราบ Tiger Woods ต้องพิสูจน์ตัวตนกับคนในสังคมมาก เพราะคนรุ่นใหม่ก็แซงหน้าไปมาก คนอายุน้อยกว่าก็ฝีมือดีขึ้น Tiger Woods เองก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า การกลับมาสู่สังเวียนทำได้จริงๆ เรื่องปัญหาชีวิตก็เป็นบทเรียนสำคัญ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้ Tiger Woods อยากมีโอกาสได้กลับมาเป็นผู้นำ เขาก็ทำได้จริงๆ เขารู้สึกภูมิใจ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า วงจรชีวิตของคนเรา เราต้องไม่ประมาท เมื่อมีอายุ 20 ปีก็อย่าคึกคะนองมาก เมื่อประสบความสำเร็จตอนอายุ 30 ปีก็ต้องรู้ว่า ตอนอายุ 40 ปีก็จะมา ตอนอายุ 50 ปีก็จะมา วงการกีฬาของเรามีนักฟุตบอลเก่งๆ บางคนไปเล่นในต่างประเทศ ก็ต้องแน่ใจว่าต้องวางแผนระยะยาว คาดคะเนอนาคตให้ได้ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์โตเร็วก็ไม่ได้คาดคะเนอนาคตไว้มากนัก ปล่อยไปตามยถากรรมมากเกินไป ก็ควรรู้ตัวเอง เหมือนกับการมองเรื่องความยั่งยืน ความยั่งยืน แปลว่า วันนี้กับอนาคตข้างหน้าต้องไปด้วยกัน คือจะเจอวิกฤตเสมอ Tiger Woods เจอวิกฤตหนัก ว่าจะเป็นเรื่องบุคลิก เรื่องส่วนตัว เรื่องอื่นๆ เวลาที่กลับมา Tiger Woods ก็ล้มเหลวมาก เหมือนคนตีกอล์ฟไม่เป็น  ทำให้เขาเสียความรู้สึก เขากลับมาแบบรู้สึกภูมิใจที่ทำในสิ่งเหล่านี้ได้ เราต้องรู้ข้อมูลข่าวสารให้มากๆแล้วจับประเด็นให้ได้ เหมือนการอ่านหนังสือ อ่านแล้วก็ต้องรู้ให้มันจริง กรณีของ Tiger Wood คือ สำเร็จแล้วก็ต้องสำเร็จต่อไป สำเร็จครั้งเดียวไม่ได้ บางครั้งคนเราก็ตื่นเต้นกับความสำเร็จครั้งแรก ครั้งต่อไปก็ไม่รู้ว่ามันยากกว่าเดิม ถ้ามีลูกเรียนเก่งตอนม. 5 ก็ควรชื่นชมเขาระดับหนึ่ง ตอนเข้ามหาวิทยาลัยก็ชื่นชมเขาระดับหนึ่ง ต้องชื่นชมตอนที่เขาทำงานด้วยว่ามีบทบาทที่ดีต่อสังคม พ่อแม่บางคนก็บ้าคลั่งเฉพาะคะแนนสอบ แล้วก็นำลูกมาอวดกัน คนที่จะประสบความสำเร็จไม่ใช่แค่เรียนเก่งอย่างเดียว แต่อยู่ที่หลายปัจจัย

เรื่องที่ 2 คือ เรื่องโดนัลด์ ทรัมป์กับเกาหลีเหนือ อยู่ดีๆ ตัวแทนของเกาหลีใต้ก็บินมาหาโดนัลด์ ทรัมป์ ความจริงแล้วเขาต้องการจะมาพบที่ปรึกษาเขามากกว่า เพราะว่าได้ไปพบกับผู้นำระดับสูงของเกาหลีเหนือมา สิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นมันเกิดขึ้นมาจากโอลิมปิก คิมจองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือคิดจะใช้การกีฬาเป็นการทูตภาคประชาชน แต่ก่อนก็มีการยิงจรวดกัน มีการพูดด่ากันรุนแรง เขาก็รู้ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ปากคอเราะร้ายชอบพูดระราน เรียกเขาว่า Rocket man มีคำพูดออกมาว่า Fire and Furry แปลว่า จะยิงนิวเคลียร์ถล่มเป็นจุล คิมไม่ธรรมดา เรียกทรัมป์ว่าเป็น Old Man บางทีอุบัติเหตุต่างๆจากนิวเคลียร์ก็เกิดขึ้นได้ เกิดขึ้นครั้งเดียวก็จบ สิ่งที่น่าสนใจก็คือเวลามองผู้นำ อย่าไปมองแบบเดิมว่า เหมือนจอร์จ บุช โอบามา คือต้องยอมรับว่า โดนัลด์ ทรัมป์ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของเขาเอง ยิ่งเราศึกษามนุษย์มากขึ้น ไม่มีอคติว่าคนนี้เลวก็เลวทั้งหมดเลย มันก็ต้องมีข้อดีบ้าง เท่าที่ศึกษา เกาหลีเหนือก็อยากจะมีเกียรติประวัติที่จะได้พบประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ก็มีความพยายามที่จะจัดให้เจอกับจอร์จ บุชและโอบามา ทั้งสองคนก็เป็นแบบอนุรักษ์นิยม เขาจะส่งคนไปทำการบ้านก่อน โดนัลด์ ทรัมป์ไม่สนใจ เขาเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ก็โพล่งออกไปทันทีว่า เดือนพฤษภาคมจะไปพบ นักข่าว 70 % ก็ให้ความเห็นว่ายังไม่ได้เตรียมตัวเลย ไปรับปากได้อย่างไร ให้โอกาสคิมจองอึนมากเกินไปหรือเปล่า ส่วนนักข่าวอีก 30 % ก็บอกว่าเป็นเรื่องที่ดีเหมือนกัน เหมือนเวลาทำธุรกิจ เราก็ไม่ต้องทำธุรกิจแบบเดิม บางครั้งเราเรียกการเปลี่ยนแปลงว่า Paradigm Shift หรือการปรับวิธีการคิด โดนัลด์  ทรัมป์ก็เป็น Paradigm Shift แบบรุนแรงมากๆของการทูตของโลก ซึ่งเราก็ต้องให้เกียรติเขา ต้องให้โอกาสเขา คราวนี้มีตัวแปรอีก 2 ตัว คนที่ควรจะมีบทบาทและโดนัลด์ ทรัมป์ควรจะปรึกษามากๆ คนแรกก็คือ สีจิ้นผิงซึ่งเป็นคนลุ่มลึก แล้วก็มองเรื่องเกาหลีเหนืออยู่ ตอนหลัง เขากับโดนัลด์ ทรัมป์ก็ร่วมกันที่จะไม่อนุญาตให้มีการขนถ่ายสินค้าหรือเงินต่างๆ คือห้ามแล้วก็ได้ผล ทำให้เกาหลีเหนืออ่อนแอลงไป สีจิ้นผิงคงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี อีกคนหนึ่งคือประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน เวลาที่ทำอะไร ก็ไม่ได้เป็นลูกไล่ของโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวละครนี้น่าสนใจมาก ประธานาธิบดีคนปัจจุบันมีจุดยืนด้านสันติภาพค่อนข้างจะมาก เรื่องการทูตภาคประชาชน เขาต้องฟังรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศเขา และ CIA ขณะเดียวกัน การทูตยุคใหม่ต้องฟังตัวละครอีก 2 คน รวมนายกรัฐมนตรีอาเบะของญี่ปุ่น เป็น 3 คน สรุปก็คืออะไรที่มันแปลกใหม่ เราต้องไม่อนุรักษ์นิยมมาก โดนัลด์ ทรัมป์มีข้อเสียมากมาย แต่บางครั้งในข้อเสียเหล่านั้นก็มีข้อดี ข้อดีของเขาคือจะมีประธานาธิบดีอย่างเขากี่คนซึ่งมีปัญหามากในประเทศแต่เขาก็ยังอยู่ได้

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า นี่คงเป็นปรากฏการณ์ที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใครก็ตั้งตัวไม่ทัน พวกเราก็ต้องมองโลกในแง่ดี ก็หวังว่า เดือนพฤษภาคมคงเป็นช่วงที่โลกสงบสุข แล้วก็มีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นอารมณ์ของสองคนนี้ว่า ถ้าใกล้ๆถึงวันนั้น แล้วมีการพูดอะไรผิดหู หรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น โลกใบนี้มันก็ไม่แน่นอนอยู่ดี

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า บทเรียนนี้สอนให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเรียนสาขาไหนก็ตามต้องศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่แตกต่างกันไป บางครั้งก็เรียกว่า เป็นความหลากหลาย เช่น ผู้ใหญ่วันนี้กับเด็กรุ่นใหม่ ถ้าผู้ใหญ่ไม่ปรับตัวเลย เด็กก็อาจจะพูดจาไม่สุภาพ บางทีท่านอาจจะโกรธ หรือเด็กรุ่นใหม่ก็ต้องปรับตัวเข้าหาผู้ใหญ่ ท่านอาจจะช้าบ้าง ความขัดแย้งในโลกมาจากจุดยืนของแต่ละคน คือการคาดคะเนในสิ่งที่ทรัมป์เคยทำอยู่ โลกมันจะไม่เจริญ ถ้าเราไม่มีการคิดนอกกรอบ คนก็ตกใจมากมองว่า อเมริกาลดตัวลงไปคบเด็กเมื่อวานซืนอายุ 30 ปี คือทรัมป์ไม่ได้มองคำว่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาแบบเป็นสถาบัน เขามองตัวเขาเอง เขามีอีโก้คิดจะแก้ปัญหาตามแนวทางของตัวเอง ถ้าทำสำเร็จเขาก็ดัง ในเมืองไทยจะมีผู้นำอยู่ 2 อย่าง ผู้นำอย่างทักษิณก็จะไม่พึ่งราชการ เขามีความคิดของเขา ผู้นำอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาและคนอื่นๆ ก็จะส่งไปให้สภาพัฒน์ กระทรวง เวลาเข้าค.ร.ม.ทีก็มีการนำเสนอแล้วบางทีก็มีความขัดแย้งกัน ทำให้ช้าแล้วตัดสินใจไม่ได้ ถ้าชงเรื่องแบบราชการ คนที่ชงเรื่องที่แท้จริงคือ ข้าราชการ C4 และ C5 แล้วก็ไป C8 ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ก็มีแฟ้มที่ส่งเข้าไปในห้อง แล้วในความเป็นจริงก็ไม่ได้อ่านด้วย จากข้อสังเกตส่วนตัว คนที่เป็นผู้นำจะคิดเองก่อน แล้วค่อยให้ราชการเสนอแนวคิดเรื่องต่างๆมา แต่ถ้าชงมาเรื่อยๆ แล้วมีแฟ้มในห้องมากมายเพื่อให้ผู้บริหารอนุมัติ บางครั้งก็ดี เป็นการรอบคอบ บริสุทธิ์ ไม่มีการโกงกินกัน แต่ก็ไม่ค่อยเปลี่ยน ยุคทักษิณ รัฐมนตรีมีความคิดเรื่องโครงการใหม่ๆอยู่เสมอ อาจจะมีปัญหาธรรมาภิบาล แต่ก็ทำงานเชิงรุก ไม่ใช้ Bureaucracy จะไม่รออธิบดีตั้งงบประมาณจากสภาพัฒน์ ปัญหาคือจะพบกันครึ่งทางได้อย่างไร ในประเทศไทย คนที่คิดนอกกรอบตั้งต้นแค่ข้าราชการ C4 และ C5 คนเหล่านี้ก็แค่ Textbook เป็นคนมีความรู้เล็กน้อย แค่เพิ่งเข้ามาทำงาน แต่ขยันหน่อยก็ไปหาข้อมูล แล้วก็ส่งข้อมูลขึ้นมา บางทีอันนั้นกลายเป็นนโยบายก็มี อีกทางหนึ่งคือเบื้องบนคิดหลักใหญ่ก่อนว่า จะไปทางไหน แล้วให้ระดับล่างเสนอเรื่องการเงินมา ไม่ใช่ระดับล่างเสนอมาทั้งหมด ทำให้อยู่ในกรอบ ตอนที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กฎระเบียบเคร่งครัดจึงไม่สามารถทำอะไรได้ ถ้าทำ จะผิดระเบียบ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ถามเขาวันหนึ่งว่า ความสำเร็จในองค์กรขึ้นอยู่กับใคร เรื่องนี้น่าสนใจ ถ้าเป็นผู้นำราชการระดับอธิบดี ถ้าทำงานแบบเดิมคือ มีจริยธรรมถูกต้อง ก็ยอมรับได้ แต่ก็ต้องมีความคิดใหม่ๆ มิฉะนั้นงบประมาณแผ่นดินก็เหมือนเดิมปีที่แล้วได้มาก ปีนี้ก็เพิ่มไป 5% อะไรที่มันไม่สำเร็จ ก็ไม่เห็นลด อะไรที่สำเร็จมากๆก็ควรจะเพิ่ม ก็เลยเป็นปัญหา

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า เป็นความท้าทาย ในเมืองไทย ข้าราชการเป็นตัวแปรสำคัญ ระบบราชการเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญเพราะว่า เมื่อคิดอะไรมาถ้ากลไกนี้ไม่มีการพัฒนาให้มีการคิดแบบบูรณาการ ก็ไม่ไปไหน และก็ยิ่งเตี้ยลงทุกวัน ก็เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างแท้จริง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ยุคพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชามีความตั้งใจสูง แต่เวลาที่เชิญคนเข้าไปอยู่ในสภาปฏิรูป (สนช.) เป็นคนที่คิดคล้ายๆกัน เพราะเป็นคนที่มาจากตำแหน่ง เช่น อธิบดี ทหาร ซึ่งเป็นคนที่คิดอยู่ในกรอบ และมีทีมงานเป็นข้าราชการ ไม่ใช่เรื่องผิด แต่บางครั้งในโลกของการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องมีคนที่คิดต่างบ้าง ทักษิณมีข้อดีคือเป็นนักธุรกิจ แล้วก็ผ่านความล้มเหลวมามาก แลกเช็ค 200,000 ก็มีปัญหาแต่เขาก็ต้องอยู่รอด คนที่เป็นข้าราชการเช้าชามเย็นชามก็อยู่รอด แถมยังไปโกงคนจนอีก อาชีพของเขาคิดจะปรับ Mindset ให้ชอบการเปลี่ยนแปลง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ทำมามากแล้ว และทำทุกวัน มีลูกค้าส่วนใหญ่มาจากราชการและรัฐวิสาหกิจ ก็ดีคือเปลี่ยนได้ในระดับหนึ่ง ส่วนที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ทำนอกจากมันต่อเนื่องและมีประสบการณ์ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง มันไม่พอเพราะว่า ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องพบกันครึ่งทางระหว่างระดับบนกับระดับล่าง ระดับบนก็ต้องมีความคิดเสียก่อนว่าเขาจะทำอะไร เหมือนบทความอันหนึ่งของปีเตอร์ ดรักเกอร์ เขาถามว่า การเป็นผู้นำที่ดี ทุกวันที่เข้าไปนั่งในสำนักงาน ต้องถามว่าอะไรสำคัญที่สุดในวันนี้ และสิ่งนั้นมันสำคัญต่อองค์กรและประเทศหรือไม่ องค์กรที่ตนเองดูแลอยู่จะขับเคลื่อนไปในทิศทางใด ถ้าไม่ได้คิดไปถึงก็เจอแฟ้ม วันนี้กรมบางกรม มีงบประมาณตั้ง 7-8 หมื่นล้านบาท และอธิบดีก็ต้องเซ็นอนุมัติทุกเรื่อง ท่านก็เหนื่อยในการเซ็น ก็เหมือนตอนที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นกรรมการสภาในหลายมหาวิทยาลัย ก็ได้ถามว่าคณบดีมีหน้าที่อะไร ส่วนมากหน้าที่คือจัดตารางสอนกับนําเงินวิจัยที่มหาวิทยาลัยส่งมาไปกระจายให้คนอื่น ถือเป็นเรื่องยากหรือไม่ แต่ถ้าหน้าที่ของเขาคือการที่ต้องไปหาเงินในการทำวิจัยของเขาไม่ใช่หาเงินจากงบประมาณ แตกต่างกันหรือไม่

บทความของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวถึงสีจิ้นผิง อยู่ดีๆก็ได้รับอนุมัติจากรัฐธรรมนูญใหม่จากสภาของจีนให้เป็นประธานาธิบดีโดยไม่มีวาระ คือตอนนี้เป็นมาแล้ว 5 ปี ตามหลักแล้วก็ต้องเป็นอีก 5 ปีแล้วก็หมดวาระ แต่พอวาระที่ 2 ก็ต้องเสนอชื่อคนที่จะสืบทอดตำแหน่งจากเขา ก็ไม่ได้เสนอ ก็รู้แล้วว่าเขาจะเป็นเอง การที่เขาเป็นเองตลอดชีวิตก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือเขาได้อยู่ต่อ ข้อเสียคือถ้าเขาเป็นประธานาธิบดีแบบมีปัญหา ก็จะปลดยาก คุณสมบัติของเขามี 2 อย่างคือ เขามองการบริหารจัดการของประเทศจีนตามบริบทของเขา ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแท้แบบอเมริกาที่มีการเลือกตั้ง เพราะประเทศเขาเป็นคอมมิวนิสต์ เขาบอกว่าพรรคคอมมิวนิสต์ของเขาจะต้องปรับตัวเองให้ทันกับเหตุการณ์ ใช้คำว่า Socialist Characteristic  

หมายความว่า ยังเป็นพรรคคอมมิวนิสต์อยู่แต่ว่าตามแนวคิดของเติ้งเสียวผิงก็คือ หนึ่งประเทศ สองระบบ แต่ข้อเสียคือคนของเขายังไม่ได้รับอนุญาตให้มีสิทธิ์มีเสียง ก็ต้องยอมรับว่า ประเทศจีนเป็นประเทศใหญ่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้ไปศึกษาข้อมูลว่า เฉพาะเรื่องคนเขาพูดอยู่ 3 เรื่อง เวลาที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พูดเรื่องคนเนื่องจากไม่ได้ทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลจึงมองคนเป็นยุทธศาสตร์ สิ่งแรกที่ชอบเขาก็คือ คนของเขาต้องจัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ และการเปลี่ยนแปลงก็มีเร็ว ไม่แน่นอน และทายไม่ได้ นี่เป็นบทเรียนที่เราเคยพูดหลายครั้งแล้ว เวลาจะสอนอะไรก็ต้องให้เขารู้ว่า โลกในอนาคตเป็นโลกที่เร็ว ไม่แน่นอน และทายไม่ได้ ประเด็นสุดท้ายก็คือเรื่อง โดนัลด์ ทรัมป์กับเกาหลีเหนือ ไม่มีใครทายได้ว่า โดนัลด์ ทรัมป์จะไป ข้อสอง ประเทศจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิง เขาเน้นทุนทางจริยธรรม เขาค่อนข้างจะเอาจริงเรื่องความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เขาก็จับคนเข้าคุก มีตำแหน่งใหญ่เท่าใดก็สามารถจับได้ นอกจากนี้ เขาอยากให้คนของเขามีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่เป็นแบบทุนนิยมสามานย์ ต่างคนต่างรวย ไปเรียนด้านการเงินมา เป็นการทำให้สังคมของเขาลดความเหลื่อมล้ำ และก็มีโอกาสสร้างประเทศระยะยาวไปด้วยกัน ไม่ใช่เป็นทุนนิยมที่มีความโลภเหมือนที่เคยเรียนมา บางยุคมีวัตถุนิยม ความเป็นมืออาชีพอาจจะมองว่า คนมีรายได้สูง เรียนหนังสือเก่ง ก็เป็นมืออาชีพได้ เท่าที่ได้สังเกตดูเรื่องความเป็นมืออาชีพ ก็มีหลายอย่างที่น่าสนใจ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เชื่อว่า ความเป็นมืออาชีพของประเทศจีนมองกว้างเพราะมองไปถึงบุคลิกภาพด้วย มองเรื่องการตัดสินใจ คุณธรรม จริยธรรม มองว่าเมื่อเจอวิกฤตแล้วแก้ปัญหาได้ แต่เขาก็ไม่ลืมเรื่องทุนทางจริยธรรมด้วยความเป็นมืออาชีพเหมือนคุณวิชัยพูด มาตรฐานสูงของคนหนึ่ง ถ้านำมาตรฐานสูงไปบวกกับความเป็นมืออาชีพ ในที่สุด ก็จะเห็นคนในอนาคตของไทยและจีนจะไปด้วยกัน คือบทเรียนอันนี้ เวลาที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพูดถึงคุณสมบัติของคนในอนาคต ถ้าใช้คำว่าความเป็นมืออาชีพด้วยก็จะดี เพราะหมายถึงคนทุกระดับ ไม่ใช่ระดับสูงอย่างเดียว ถ้าเราทำให้ทุกคนมีความภาคภูมิใจ มีเกียรติและศักดิ์ศรี มีความภูมิใจในอาชีพของตนเองแล้วทำอาชีพของตัวเองให้ดีที่สุด ก็จะเป็นประโยชน์

คุณวิชัย วรธานีวงศ์กล่าวว่า เรื่องความเป็นมืออาชีพถ้าย้อนกลับไปที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้กล่าวไว้ในครั้งที่แล้ว นั่นคือสิ่งที่ต้องพิสูจน์ความเป็นมืออาชีพในหลากหลายปัจจัยอย่างเช่น กรณีที่ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวถึงสีจิ้นผิง ทำให้เราเห็นว่าความเป็นมืออาชีพเป็นตัวชี้อนาคต เราคงปล่อยให้การบริหารจัดการหรือการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างเรื่องทั่วๆไปไม่ได้ เพราะสถานการณ์วันนี้ต้องการความเป็นมืออาชีพอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นระดับล่างหรือระดับบน ถ้าเราไม่ใช้ความเป็นมืออาชีพและคนอื่นมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า เราก็จะแพ้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า วันนี้ถ้าดูความลึกซึ้งของสีจิ้นผิงจะพบว่า เขามองเรื่องคนกว้าง ไม่ได้มองความสามารถเฉพาะทางอย่างเมืองไทย ถ้าเขาเป็นแพทย์หรือวิศวกร ก็ต้องเป็นมืออาชีพแล้วแต่เขาอาจจะไม่เป็นก็ได้ถ้าเขาขี้โกงหรือโลภ ศาสตร์พระราชากับมืออาชีพน่าจะไปด้วยกัน เพราะมืออาชีพต้องมีเป้าหมายด้วย ยิ่งถ้าเป็นเป้าหมายเพื่อความอยู่รอดของสังคม ไม่ใช่อยู่รอดของคนบางกลุ่ม เหมือนวันนี้ที่มีการทะเลาะกันระหว่างเลือกตั้งกับไม่เลือกตั้ง ถามว่ามีตัวแปรของประเทศอยู่ในปัจจัยหรือเปล่า สีจิ้นผิงก็มีตัวแปรของเขา ถึงเขาจะเป็นผู้นำแต่ก็คิดถึงประเทศของเขาในระยะยาว เขาจะพาประเทศไปอย่างไร ก็ต้องเป็นประเทศที่มีความสมดุล หนึ่งประเทศสองระบบ ต้องเป็นระบบที่ไม่ใช่คนรวยรวยล้นฟ้า ก่อนหน้าการออกอากาศครั้งนี้ไม่กี่วัน ในหนังสือพิมพ์ก็มีข่าวว่า ทำไมบริษัทใหญ่ในประเทศไทยจึงรวย ทั้งๆที่ความร่ำรวยของคนในประเทศมีไม่มาก ความเป็นมืออาชีพของสีจิ้นผิงก็คือ ให้ทุกคนมีส่วนเป็นประชาชนที่ดี อยู่ตรงไหนของสังคมเราก็ไว้ใจเขาได้ว่า เขาจะทำหน้าที่ตรงนั้นและแก้ปัญหาได้ดีที่สุด

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูรูป

https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/289/826/original_Human_Talk_11032018.pdf?1521781321

ที่มา: บทความจากรายการวิทยุ Human Talkประจำวันที่ 11มีนาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 645919เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2018 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2018 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท