อบรมเชิงปฎิบัติการด้านดาราศาสตร์ขั้นต้น จ.มุกดาหาร วันที่สอง


วันที่สอง          

วันที่สองทางผู้จัดอบรมได้จัดให้เป็นฐานการเรียนรู้ ตอนเช้ามี 4 ฐาน และตอนเย็นมีอีก 4 ฐานซึ่งวนไปฐานละประมาณ 40 นาที

   

ฐานที่ 1 : เป็นฐานที่เกี่ยวกับระยะทางและขนาดภายในระบบสุริยะ เพื่อให้เราได้สามารถสังเกตได้ว่าระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์นั้นห่างกันได้เพียงใด  เริ่มแรกนั้น กำหนดให้เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์มีขนาดเท่ากับ 10 เซนติเมตร หลังจากนั้นก็เทียบบัญญัติไตรยางศ์เอาว่าขนาดของโลก ดวงจันทร์ ดาวพฤหัสฯ ระยะระหว่างดวงดาวมีขนาดเท่าได  จากการคำนวณขนาดของดาวศุกร์เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ พบว่า มีขนาดเท่ากับ 0.8 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าเล็กเอามากๆ

อย่างไรก็ตาม จากการคำนวณเทียบบัญญัติไตรยางศ์พบว่าระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวพฤหัสฯ นั้นมีขนาดประมาณ 55 เมตร ซึ่งถือว่าไกลมาก  ฐานนี้สามารถสื่อสารกับนักเรียนถึงขนาดของระบบสุริยะ และที่สำคัญคือระยะทางที่มนุษย์สามารถเดินทางไป-กลับได้ (ดวงจันทร์) จะพบว่าเล็กน้อยมาก มีขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร

ฐานที่ 2 : เป็นฐานเกี่ยวกับดาวหาง โดยได้ทำการทดลองง่ายๆ ที่เกี่ยวกับดาวหางและองค์ประกอบของดาวหาง โดยใช้อุปกรณ์ ดังนี้

               - น้ำแข็งแห้ง

               - น้ำเปล่า

               - สารอินทรี (ใช้ซีอิ๊ว)

               - ดิน

               - แอมโมเนีย                    

ทำการทดลองโดยการใส่ดิน แอมโมเนีย น้ำเปล่า ซีอิ๊ว แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำแข็งแห้งลงไปเป็นลำดับสุดท้ายในถุงพลาสติก จากนั้น ก็รอให้ทั้งหมดแข็งตัว จะได้ก้อนน้ำแข็งที่มีส่วนประกอบคล้ายๆ กับดาวหางดังภาพ

ภาพดาวหางจำลอง

เป็นทั้งหมดแข็งตัวจะได้ก้อนน้ำแข็งที่มีไอออกมา เราสามารถอธิบายหลักการของดาวห่างได้ โดยการสมมติว่าผู้ทดลองเป็นดวงอาทิตย์ แล้วนำก้อนน้ำแข็งใส่จานไว้ จากนั้นก็เป่าก้อนน้ำแข็ง จะมีไอน้ำคล้ายๆ ห่างของดาวห่าง  จากนั้นสามารถอธิบายต่อไปได้ว่า ห่างแก๊สของดาวห่างจะมีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์

   ฐานที่ 3 : เป็นการศึกษาการหมุนตัวของกลุ่มดาวต่างๆ บนทรงกลมท้องฟ้า   

   ฐานที่ 4 : เป็นการศึกษาเกี่ยวกับตำแหน่งของดวงจันทร์

  ได้ทำการทดลองโดยกำหนดให้เราเป็นผู้สังเกตตำแหน่งดวงจันทร์บนโลก มีหลอดไฟดวงหนึ่งแทนดวงอาทิตย์ และมีโฟมทรงกลมอันหนึ่งแทนดวงจันทร์

    จากนั้น ให้เราหมุนดวงจันทร์รอบตัวเรา แล้วสังเกตเงาบนดวงจันทร์ว่ามีลักษณะอย่างไร? ผู้สังเกตพบว่า ข้างขึ้น แสงจะค่อยอาบทางด้านขวามือดวงจันทร์จนค่อยเต็มดวงเมื่อถึงวันพระ จากนั้น จะเป็นข้างขึ้นซึ่งด้านมืดจะค่อยๆ กลืนดวงจันทร์ด้านขวามือจนกระทั่งถึงเดือนดับ เมื่อมาถึงจุดนี้จะครบ 1 เดือนพอดีครับ

   

   ฐานที่ 5 : เกี่ยวกับการตั้งกล้อง           

   ฐานที่ 6 : เกี่ยวกับการดูแผ่นที่ดาว ซึ่งทั้ง 2 ฐานสุดท้ายนี้ต้องได้ลงมือเองครับ

ขอบคุณ

หมายเลขบันทึก: 645557เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2018 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2018 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท