วิชาการว่าด้วยพหุวัฒนธรรม เพื่อประเทศไทย ๔.๐



วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ศ. ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการ ศูนย์พหุวัฒนธรรมศึกษา และนวัตกรรมทางสังคม  สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาคุยเรื่องโครงการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา และนวัตกรรมทางสังคม  ที่ท่านบอกผมหลังผมไปพูดเรื่อง พันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคมในยุคทองแห่งโอกาส ที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ()    ว่าท่านกำลังจะประยุกต์เรื่อง วัฒนธรรมศึกษาเชื่อมโยงกับภาคีหุ้นส่วนสังคมหลากหลายด้าน และอยากขอคำปรึกษาจากผม

หลังจากนั้นท่านหายไปนาน แล้วก็ส่งข้อเสนอโครงการ  ศูนย์ความเป็นเลิศด้านพหุวัฒนธรรมศึกษา และนวัตกรรมทางสังคม มาให้อ่านล่วงหน้า และนัดคุยกันได้ในวันนี้    เป็นการคุยที่ผมตั้งตัวเป็น “นักเรียน” เต็มที่ ด้านการใช้ความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมของไทย ในการสร้างความเข้มแข็งสารพัดด้านให้แก่บ้านเมือง    โดยเฉพาะการก้าวกระโดดสู่สภาพ ประเทศไทย ๔.๐  

วิธีตั้งตัวเป็นนักเรียนที่ดีที่สุดคือฝึกตั้งคำถาม

คำถามที่ดีในกรณีนี้คือคำถามที่ท้าทาย และล่อแหลม  

ผมตั้งคำถามข้อแรกว่า พหุวัฒนธรรมแบบไหน พื้นที่ไหน ที่ท้าทายที่สุด   โดยมีคำตอบเลาๆ ของผมเองว่า ๓ จังหวัดชายแดนใต้    แต่หากจะมองจากมุมว่ามีสีสันที่สุด คงจะตอบว่า ชนเผ่าในพื้นที่สูง (ซึ่งอาจรวมชนเผ่าในภาคอีสาน เช่นผู้ไท ที่เรณูนคร) 

จึงมาถึงคำถามว่า ตีความคำว่า “วัฒนธรรม” โดยเน้นที่ประเด็นไหนของวัฒนธรรม  

ผมติดใจคำว่า “ทุนซ่อนเร้น” ของ ดร. สุเนตร    ซึ่งผมตีความอีกแบบหนึ่ง เพิ่มจากที่ท่านตีความไว้อย่างดีเยี่ยมในเอกสารดังกล่าว   โดยผมตีความเพื่อนำไปสู่การดำเนินการแบบแหวกแนว    ซึ่งท่านจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง    ผมมีหน้าที่ตั้งคำถามและเสนอแนะเพื่อสร้างมุมมองใหม่ๆ    ที่อาจหลุดโลกไปหน่อยก็ได้    

วิจารณ์ พานิช

๑๕ ก.พ. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 645269เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2018 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มีนาคม 2018 07:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท