ช้างค่อม


สมพร สุวรรณเรืองศรีเล่าว่า ช้างค่อมตัวสุดท้าย ไปตายที่ทุ่งระโนด จังหวัดสงขลา จากการสนทนาเขาบอกว่า ซากชิ้นส่วนของช้างค่อมยังมีเป็นหลักฐาน คือเชิงกรานช้างค่อมที่ชาวบ้านมาทำเป็นกระต่ายขูดมะพร้าว

กระต่ายขูดมะพร้าว ทำด้วยกระดูกเชิงกรานช้างค่อม พบที่สถาบันทักษิณคดีศึกษา เกาะยอ

        เมื่อครั้งขุดพบทองที่เขาชัยสนพัทลุงครั้งนั้น ได้ตั้งวงคุยกันถึงเมืองพัทลุง การตั้งเมืองจากคาบสมุทรสะทิงพระ

 แล้วย้ายมาที่วัดพระเกิด อำเภอปากพะยูน พัทลุง แล้วเมืองอีกหลายครั้ง คุยกันถึง ตาสามโมยายเพชรที่มีอาชีพจับ

ช้าง แล้วการเล่าเรื่องช้างค่อมเมืองพัทลุง ครูสมพร สุวรรณเรืองศรีเล่าว่า ช้างค่อมตัวสุดท้าย ไปตายที่ทุ่งระโนด 

จังหวัดสงขลา จากการสนทนาเขาบอกว่า ซากชิ้นส่วนของช้างค่อมยังมีเป็นหลักฐาน คือเชิงกรานช้างค่อมที่ชาว

บ้านมาทำเป็นกระต่ายขูดมะพร้าว ที่บ้านครูพล ขัตยรังสรรค์ ตำบลบ้านขาว และที่บ้านเขาพังไกร ก็ตั้งใจว่าจะชวนครู

สมพร สัญจรตามรอยซากช้างค่อม แล้วผู้เขียนก็ไปพบกระต่ายขูดมะพร้าวที่ทำด้วยกระดูกเชิงกรานช้างค่อม ที่

สถาบันทักษิณคดีศึกษาในห้องรวมกระต่าย และไปพบกระดูกช้างค่อมบางส่วนที่ พิพิธภัณอำเภอระโนด เมื่อค้นหา

ข้อมูลก็พบข้อเขียนของคุณ นาบอน-หลกได้เขียนเรื่องช้างค่อมทะเลน้อยพัทลุงเอาไว้ จึงนำมาประกอบยืนยันว่าช้าง

ค่อมมีอ่ยูในอดีตที่พัทลุงและขออนุญาตินำข้อมูลมาเผยแพร่ต่อในบันทึกนี้  ซึ่งคุณ นาบินหลก เขียนไว้ดังนี้

 "

เมื่อกล่าวถึงช้างในประเทศไทย หลายคนคงนึกถึงช้างตัวใหญ่ๆโตๆ แต่จะมีใครสักกี่คนล่วงรู้บ้างว่า ในอดีตกาลผ่านมานั้น ยังมีช้างอยู่อีกสายพันธุ์หนึ่ง มีขนาดตัวเท่าควายโตๆ หากินอยู่แถบป่าพรุ รอบๆริมทะเลสาปสงขลา เป็นที่รู้จักกันในนามช้างพรุ หรือช้างค่อม หรือช้างแกลบ หลากหลายชื่อ แต่ได้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่ดังกล่าวหลายสิบปีมาแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่า สายพันธุ์ของช้างชนิดนี้ยังคงมีอยู่ในโลก แล้วเรื่องช้างตัวเท่าควายมีความเป็นจริงแค่ไหนกัน ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลบางส่วน ที่พอจะหามาได้ เชิญติดตาม.. สายพันธ์ช้างในโลก

ช้าง

ช้างถือเป็นสัตว์ประจำชาติไทยเรามาตั้งแต่สมัยอดีตกาล ซึ่งในปัจจุบันช้างกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ใกล้จะสูญพันธุ์ เนื่องจากการล่าช้างป่า การจัดการผิดวิธี การใช้งานผิดวิธี การทำลายป่าไม้ เป็นต้น เราจึงควรร่วมมือกันอนุรักษ์ช้างให้อยู่คู่บ้านเมืองเราสืบไป

ช้างมี 2 สกุล

1.Loxodonta africana : ช้างแอฟริกา

แบ่งเป็น 2 ชนิดย่อย
-Loxodonta africana cyclotis : ช้างป่า อาศัยตามป่า มีเล็กแหลม สูง 2.2-2.5 เมตร งาขนาดบางชี้ลงพื้น มีเท้าหน้า 5 นิ้ว เท้าหลัง 4 นิ้ว

-Loxondonta africana africana : ช้างที่ราบ หรือช้างสะวันนา อาศัยอยู่ตามที่ราบและทุ่งหญ้า หูใหญ่เป็นเหลี่ยม สูง 2.85-3.2 เมตร งามีความหนาและชี้ไปด้านหน้า เท้าหน้ามี 4 นิ้ว เท้าหลังมี 3 นิ้ว

2.Elephas maximus : ช้างเอเชีย

แบ่งเป็น 4 ชนิดย่อย
- Elephas maximus bengalensis : ช้างอินเดีย ตัวใหญ่ที่สุด ซึ่งช้างบ้านเราจัดอยู่ในชนิดนี้ ปกติมีเท้าหน้า 5 นิ้ว เท้าหลัง 4 นิ้ว บางตัวมี 4 หรือ 5 นิ้วทั้งหมด

- Elephas maximus maximus : ช้างศรีลังกา แตกต่างจากช้างอินเดีย โดยพบว่า ช้างอินเดียตัวผู้ส่วนใหญ่มีงา มีสีดำ มีรอยย่น มากกว่า กะโหลกเล็กกว่าแต่ช้างศรีลังกามีเพียงร้อยละ 10 ของตัวผู้เท่านั้นที่มีงา

- Elephas maximus sumatranus : ช้างสุมาตรา ใบหูเป็นรูปสี่เหลี่ยม พบในอินโดนีเซีย
- Elephas maximus hirsutus : ช้างมาลายาน เป็นชนิดที่เหลือน้อยลักษณะสำคัญจะมีขนมากกว่าชนิดอื่น ๆ ช้างเอเชียยังคงมีอีก 4 ชนิดย่อยที่สูญพันธุ์ไปแล้วในช่วงยุคกลาง พบในอิรัก อิหร่าน จีน และชวา

นอกจากนี้ยังมีการค้นพบช้างแคระ หรือช้างปิ๊กมี่ พบทั้งในเอเชียและแอฟริกาในไทย พบบริเวณชายแดนจังหวัดพัทลุง มีสีดำแดง สูงไม่เกิน 8 ฟุต มีหัว และเท้าเล็ก ทุกตัว ไม่มีงาช้างแคระที่เป็นช้างแอฟริกา ได้ถูกจัดเป็นชนิดย่อยในปี 1960 ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Elephas africana pumilio สูง 5.8 ฟุต มีชีวิตอยู่เพียง 9 ปี

เรื่องเล่าจากลุงจ่าง ปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่

ลุงจ่าง เล่าว่า ในสมัยนั้น บริเวณรอบ ๆ ทะเลน้อย จะมีช้างอาศัยอยู่มาก เป็นช้างขนาดเล็ก ชาวบ้านเล่าว่า เป็นช้างพันธุ์อินเดีย และเรียกช้างชนิดนี้ว่า ช้างทุ่งบ้าง, ช้างแกลบบ้าง ช้างท้องโนด หรือ ทุ่งโนดบ้าง ช้างกระบ้าง ช้างค่อมบ้าง จึงทำให้เกิดการเรียกชื่อท้องที่บริเวณนี้ว่า "เมืองช้างค่อม" ปัจจุบันช้างเหล่านี้ ถูกล่าจนสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

นอกจากนั้นยังมีภูมินามในจังหวัดพัทลุง ที่บอกให้รู้ว่า สมัยโบราณมีช้างในเมืองนี้มาก เช่น ทุ่งช้างแทง, ม่วงช้างแทง, ห้วยช้างเล่น, หนองช้างเล่น, วังช้างเล่น, หนองช้างเกิด, ทุ่งลานช้าง, หนองช้างตาย, ควนช้างตาย, โรงช้างและคอกช้าง

ตอนเล็ก ๆ ลุงจ่างเล่าว่า จะได้ยินเสียงช้างร้องดัง "แหวก ๆ " พวกเด็ก ๆ เข้าใจกันว่าช้างมันขันได้แบบนก ตอนกลางวันที่อากาศร้อนจัด ช้างพวกนี้มักจะนอนแช่น้ำอยู่ในพรุ หรือ โพระ พอตกเย็น ก็จะเดินเป็นฝูงลงไปอาบน้ำในคลองนางเรียม ช้างจะลงคลุกตัวไปมาอยู่บนโคลนริมฝั่งคลอง จนกลายเป็นบ่อดินขนาดใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า "ทอน" หรือ "โล้ะ" หมายถึง พื้นที่ซึ่งล้ำเข้าไปลึก ๆ หรือที่ลุ่มลึกติดต่อกับทางน้ำไหล อันเป็นที่ที่ช้างนอนนั่นเอง ตกดึก ๆ ราว ตี 2-3 ฝูงช้างก็จะเดินเป็นฝูงกลับไปที่โพระตามเดิม มองเห็นเป็นเงามืดตะคุ่ม ๆ น่ากลัวในยามค่ำคืน บางคืนช้างจะใช้งวงของมันล้วงเอาข้าวเปลือกที่มัดเรียงไว้ในลอมข้าวข้างขนำ ปู่ก็จะใช้ทางโตนดแห้งจุดไฟไล่ช้าง ช้างจะกลัวไฟและวิ่งหนีกลับไปที่โพระ บางครั้งปู่ก็จะเอาก้อนหินก้อนใหญ่ ๆ 5-6 ก้อน มาชุบน้ำมนต์แล้วปลุกเสกให้ขลัง นำไปวางไว้รอบ ๆ คันนา เพื่อป้องกันไม่ให้ช้างป่าเข้ามาเหยียบย่ำต้นกล้า หรือ ขโมยข้าวกินเมื่อใกล้ฤดูเก็บเกี่ยว

สมัยนั้น ชาวบ้านยังใช้ควายคู่ไถนา ข้าวก็เมล็ดใหญ่กว่าข้าวทุกวันนี้ ทำนาปีหนึ่ง ๆ ได้ข้าว 2-3 ลอมข้าว หรือ ราว 6-7 เกวียน สามารถเก็บไว้กินได้ตั้ง 2-3 ปี วัวควายยังราคาถูก ลูกวัวราคาตัวละ 10 บาท วัวโต ๆ ตัวละ 100 บาท เท่านั้น

ตำนานที่บันทึกไว้เกี่ยวกับช้างค่อม

จากสมุดไทยขาวหรือที่เรียกกันว่า “บุดขาว” ลักษณะเป็นสมุดข่อย เขียนด้วยเส้นหมึกลงสี ปัจจุบันเอกสารโบราณฉบับนี้มีสภาพชำรุด เก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ ในชื่อ “แผนที่เมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ. 977 (พ.ศ. 2158)” ในหมวดหมู่ ตำรา (ภาพ) ทะเบียนเล่มที่ 3 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ซึ่งผู้เขียนได้ใช้เป็นเอกสารสำคัญในการศึกษาเรื่องราวต่างๆที่ปรากฏในภาคใต้ โดยเฉพาะในบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งหลังจากที่ได้มีการศึกษาตรวจสอบอย่างละเอียดก็พบว่า ............................................
มีรูปภาพของสัตว์ชนิดต่างๆ ที่นับว่ามีความสำคัญและน่าสนใจแทรกอยู่ ซึ่งรูปภาพของสัตว์ชนิดต่างๆ เหล่านี้
ได้ทำหน้าที่เสมือนเป็นภาพสะท้อนที่ฉายให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทะเลสาบสงขลา ที่ผู้เขียนแผนที่ภาพโบราณได้บันทึกแทรกใส่ลงไว้ในนั้น รูปภาพของสัตว์ชนิดต่าง ๆ ที่ปรากฏ .................
และภาพที่มีความโดดเด่นและมีความน่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ มีรูปส่วนหัวของช้างที่มีงาสองข้าง
แสดงท่าทางแทรกตัวอยู่ในท้องทะเลสาบสงขลา

สำหรับรูปภาพของช้างที่ปรากฏอย่างโดดเด่นในทะเลสาบสงขลานั้น เข้าใจว่าในสมัยที่มีการเขียนแผนที่ภาพนั้นน่า
จะมีการพบเห็นช้างป่าอาศัยอยู่ในบริเวณทะเลสาบสงขลานี้อยู่เป็นจำนวนมาก
และชาวบ้านทั่วไปคงมีโอกาสได้พบเห็นจนเจนตา เนื่องจากตามประวัติความเป็นมาในแถบบริเวณทะเลสาบสงขลา ทุ่งระโนด ต่อไปจนถึงพื้นที่แถบจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราชนั้น พบว่ามีช้างป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีเรื่องราวเล่าขานที่เกี่ยวข้องกับช้างในเชิงสังคมและวัฒนธรรมปรากฏอยู่มากมายเช่นเดียวกัน กล่าวกันว่าช้างที่พบในบริเวณนี้เป็นช้างที่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดใหญ่กว่าควายตัวโตๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ช้างที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไปมากมายหลายชื่อ อาทิ
ช้างแคระ ช้างค่อม ช้างแกลบ ช้างนกยางขี่ ช้างหระ ช้างทุ่ง ช้างพรุ เป็นต้น ช้างที่มีขนาดเล็กเหล่านี้ปัจจุบันได้สูญพันธุ์หมดสิ้นไปจากบริเวณทะเลสาบสงขลาแล้ว จากการออกเก็บข้อมูลและสอบถามชาวบ้านในบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาเมื่อไม่นานมานี้ ได้ข้อสรุปตรงกันว่า ช้างพรุเหล่านี้ได้สูญหายไปจากบริเวณรอบลุ่มทะเลสาบสงขลาเมื่อราวๆ 60-70 ปีมานี้เอง และเท่าที่ทราบในปัจจุบันก็ยังมีผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องของช้างพรุเหล่านี้อยู่ และยังมีกลุ่มคนที่พยายามติดตามศึกษาค้นคว้า
ในเรื่องนี้ต่อ โดยคนส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่า ยังคงมีสายพันธุ์ของช้างพรุหรือช้างแคระเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในผืนป่าแถบ อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ช้างหัวแดง” ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ในขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานใดที่ชัดเจนเพียงพอ ก็คงต้องศึกษาค้นคว้ากันต่อไปว่าช้างหัวแดงที่ผู้ศึกษาเหล่านี้ เชื่อว่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันกับช้างพรุนั้นจะมีมูลความจริงเพียงใด และยังคงหลงเหลือสายพันธุ์อยู่จริงหรือไม่ก็ต้องรอพิสูจน์กัน.

ตะลึง!!!พบช้างแคระบอร์เนียวที่คาดว่าน่าจะสายพันธุ์เดียวกับของไทย

ช้างแคระบอร์เนียว

นักอนุรักษ์พบช้างพันธุ์แคระบนเกาะบอร์เนียว พวกมันเป็นลูกหลานของช้างพันธุ์ชวาที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหตุที่พวกมันยังอยู่และแพร่พันธุ์มาได้จนถึงวันนี้ เป็นเพราะบรรพบุรุษของพวกมันได้ถูกส่งเป็นบรรณาการเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18

การค้นพบครั้งนี้สะท้อนว่า หากเราปล่อยให้ช้างตัวผู้กับตัวเมียอยู่ด้วยกันในถิ่นที่อยู่ที่ไม่มีการรบกวน พวกมันจะสามารถแพร่พันธุ์เพิ่มเป็นจำนวนนับพันตัวเลยทีเดียว ทำให้นักอนุรักษ์มีความหวังมากขึ้นในเรื่องการอนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่

รายงานที่ตีพิมพ์ใน Sarawak Museum Journal บอกว่า การค้นพบนี้บ่งบอกว่า เราสามารถอนุรักษ์พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ไม่ให้สูญพันธุ์ได้ โดยการเคลื่อนย้ายสัตว์ไม่กี่ตัวไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย

ผู้เชี่ยวรายงาน จูไนดี เพน บอกถึงความเป็นมาของพวกช้างแคระบนเกาะบอร์เนียวเหล่านี้ว่า สุลต่านของชวาในอินโดนีเซียเมื่อศตวรรษที่ 18 ได้มอบช้างแคระจำนวนหนึ่งเป็นบรรณาการแด่สุลต่านบนเกาะซูลูของฟิลิปปินส์ สุลต่านของซูลูได้ส่งช้างพวกนั้นไปปล่อยบนเกาะบอร์เนียว ด้วยเหตุผลที่ไม่แน่ชัด ซึ่งเป็นประเพณีของบรรดาผู้ปกครองในเอเชียที่จะส่งช้างเป็นบรรณาการแก่กัน

ช้างแคระบอร์เนียว ซึ่งมีพันธุกรรมแตกต่างจากช้างชนิดอื่นๆ จะโตเต็มที่ด้วยความสูงไม่ถึง 8 ฟุต ขณะที่ช้างเอเชียสายพันธุ์ต่างๆ จะมีความสูง 10 ฟุต พวกมันยังมีเค้าหน้าที่ดูอ่อนเยาว์ มีใบหูใหญ่ มีหางยาว มีนิสัยไม่ดุร้าย และมีรูปร่างอ้วนกลม

ช้างแคระในชวาได้สูญพันธุ์เมื่อปลายศตวรรษที่ 18 แต่พวกที่ถูกส่งไปอยู่ที่เกาะบอร์เนียวได้ออกลูกออกหลานมากมาย

ในอดีตนั้น บว่


อร์เนียวไม่เคยมีช้าง ก่อนหน้านี้นับเป็นปริศนาเรื่อยมาว่า ช้างแคระที่นั่น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยของช้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีที่มาที่ไปอย่างไรบอร์เนียวเป็นเกาะขนาดใหญ่ ซึ่งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน ได้ครองครองดินแดนกันคนละส่วน เกาะนี้ถูกแยกจากเกาะชวาด้วยท้องทะเลเป็นระยะทางอย่างน้อย 400 กม.เพนบอกว่า แค่ช้างวัยเจริญพันธุ์ตัวผู้กับตัวเมียถูกนำไปปล่อยในถิ่นที่อยู่ที่ไม่ถูกรบกวน และมีอาหารเพียงพอ ตามทฤษฎีแล้ว พวกมันจะสามารถเพิ่มประชากรเป็น 2,000 ตัว ได้ภายในเวลาไม่ถึง 300 ปีทุกวันนี้ มีช้างแคระในป่าบอร์เนียวประมาณ 1,000 ตัว ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย.

 (ขอบคุณ ข้อมูลจาก คุณ นาบินหลก(นกบินหลา)              วันเสาร์ ที่ 12 กรกฎาคม 2551 ตำนานช้างค่อมแห่งท้องทุ่งทะเลน้อย Posted by นาบิน-หลก , ผู้อ่าน : 4362 , 12:22:00 น.   หมวด : ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   

สองชี้นนี้พบที่พิพิธภัณ อำเภอระโนด 

(crภาพแผนที่จาก อ.จรูญ  หยูทอง

หมายเลขบันทึก: 645108เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2018 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2020 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตัวของช้างขนาดเล็กน่าสนใจนะคะบัง

ไม่เคยเห็น


ช้างค่อมคงน่ารักนะจ๊ะลุงวอ

คงเหมือนรูปปั้นนะจ๊ะ

สวัสดีคุณแก้ว ตามคำบอกเล่า ช้างแคร ตัวโตประมาณ ความถึก อาศัยอยู่ รอบๆบริเวณทะเลน้อย กับอำเภอระโนด 

ปัจจุบันพอมัซากที่ชาวบ้านเก็บไว้ให้ตามรอยอยู่

น้องมะเดื่อ คยเมืองช้างค่อม จะไปเยี่ยมคนเมือง สามอ่าว 20 มีนาคม 61 นี้

มิตรรักแฟนเพลงคงได้สำราญกัน

จำได้ว่า ดร.บรรจง ทองสร้างของ ม ราชภัฏสงขลาศึกษาเรื่องนี้ครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ขจิต 

เจอ อาจารย์ บรรจง จะได้คุยต่อเรื่องช้างค่อม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท