วิสุทธิ ๗


           วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธ์ ความหมดจด ในศาสนาพุทธกล่าวถึง วิสุทธิ๗ ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับเป็นการชำระให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่า ไตรสิกขาไปโดยลำดับ จนบรรลุจุมุ่งหมายคือ นิพพาน มี ๗ ขั้น คือ 

           -  ศีลวิสุทธิ หรือ ความหดจดแห่งศี ลคือ การถือศีลอย่างไม่งมงาย ละสีลัพัตตปรามาส ด้วยการมีศรัทธาพละสมดุลกับปัญญาพละ ไม่ศรัทธาจนถืออย่างไม่เข้าใจ หรือ มีปัญญามากเกิดความลังเลสงสัย ได้แต่ถือแต่ใจกลับไม่มีศรัทธา

           เพราะการรักษาศีลให้บริสทุธ์ ตั้งใจรักษา ทำให้สมารถปฏิบัติสมาธิกับวิปัสสนา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในคัมภีร์วิสทุธิมรรค ได้กล่าวถึงปาริสุทธิศีล ๔ ซึ่งหมายถึงความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่

           ๑ ปาฎิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต ตลาดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท (คื อศีลและมารยาทที่มีอยุ่ในพระไตรปิฎกนั่นเองฆ 

          ๒ อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ๖ ระวังไม่ให้บาป อกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

          ๓ อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม

          ๔ ปัจจัยสันิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เีก่ยวกับปัจจัยสี่ คื อการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้นไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอย่ากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอย่ากใช้สอย

           - จิตตวิสุทธิ์ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ จิตที่สมดุลเพราะวิริยะพลเอมกับสมาธิพละ ทำให้สมาธิก็สมดุล วิริยะก็สมดุล เป็นปัจจัยให้สติกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างพอดีไม่ไปในอนาคตเพราะวิริยะมีมาก ไม่อยู่ในอดีตเพราะสมาธิมกำลังมากไป เป็นการฝึกอบรมจิตจนบังเกิด ขณิกสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ เพราะสติต่อเนื่องจนนิวรณ์ไม่สามารถเข้าแทรกในจิตได้ อันเป็นปทัฉฐานที่สำคัญ ทำให้เจริญวิปัสสนาได้ง่าย

           - ทิฎฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฎฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห้นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด

           - กังขาวิตรณวิสุทธิ์ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท

            - มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางเหรือมิใช่ทาง จิตรับรุ้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้

            - ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ ๙) รู้ทุกขอริยสัจจ์ทั้ง ๘ ระดับ จึงรู้สมุทัยอริยสัจจ์ทั้ง ๘ จึงรู้นิโรธอริยทั้ง ๘ จึงรู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง ๘ และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม) เมื่อถึงสัจจานุโลมมิกญาณ คือ หมุนธรรมจักรทั้ง ๘ และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้น

           - ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญานทัสสนะ คือการปฏิบัติบริบูรณ์จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือ โคตรภุมิญาณและวิทานะญาณ ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรค หรือมรรคญาณ ความบรรลุเป็นอริยบุคคล เหรือผลญาณ พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติะรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น...https://th.wikipedia.org/wiki/...

          วิสุทธิมรรค เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่งในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับควมสำคัญเที่ยวเท่าขันอรรถกา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผุ้เรียบเรียงขึ้นในภาษาลาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๐ มีเนื่อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗

         มีการแบ่งเนื้อออกเป็น ๒๓ ปริจเฉท ได้แก่ ศีลนิเทศ แสดงถึงการรักษาศีล ธุตังคนิเทศ แสดงถึงวิธีการบำเพ็ญธุดงควัตร กัมมัฎฐานคหณนิเทส แสดงถึงบุพกิจเบื้องต้นก่อนการเจริญ สมถกรรมฐาน ปฐวีกสิณนิเทส แสดงถึงวิธีการเจริญปฐวีกสิณ โดยละเอียด เสสกิณนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญกสิณ ที่เหลืออีก ๙ ประการ อสุภกัมมัฎฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอสุภกรรมฐาน ๑๐ ประการ ฉอนุสสตินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญนุสสติกรรมฐาน ๖ ประการแรก ตั้งแต่พุทธานุสสติ ถึงเทวตานุสสติ อนุสสติกัมมัฎฐานนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอนุสสติกรรมฐานที่เหลืออีก ๔ ประการ พรหมวิหารนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญพรหมวิหารกรรมฐาน ๔ ประการอารุปปนิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ ประการ สมาธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจิรญอาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน อิทธิวิทธนิเทศ แสดงถึงวิธีการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ๑๐ ประการ อันเป็นผลมาจากการเจริญสมถกรรมฐาน อภิญญานิเทศ แสดงถึงอภิญญา ๖ ประการอันเป็นผลจากการเจริญสมถกรรมฐาน ขันธนิเทศ แสดงถึงขันธ์ ๕ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน อายตนธาตุนิเทศ แสดงถึงอายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน อินทริยสัจนเทศ แสดงถึงอินทรีย์ ๒๒ และอริยสัจ ๔ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน ปัญญาภูมินเทศ แสดงถึงปฏิจจสมุปบาท ๑๒ ประการ อันเป็นภูมิของวิปัสสนากรรมฐาน ทิฎฐิวิสุทธิ์นิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนเห็นรูปนามตามความเป็นจริง กังขารวิตรณวิสุทธินเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนสิ้นความสงสัยในสภาวะธรรมเพราะเห็นรูปนามพร้อมเหตุปัจจัย มัคคญาณทัสสนวิสทุธินเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนข้ามพ้นวิปัสสนูปกิเลส ปฎิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนดำเนินไปตามวิถีของวิปัสสนาญาณ ๙ ญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ แสดงถึงวิธีการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนบรรลุอริยมรรค เป็นพระอริยบุคคล ปัญญาภาวนานิสังสนิเทศ แสดงถึงอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน..https://th.wikipedia.org/wiki/...

 

          

หมายเลขบันทึก: 644845เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2018 21:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2018 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท