กิตตินันต์ พิศสุวรรณ
การเดินทางของฉัน.... กิตตินันต์ พิศสุวรรณ

Health and Sanitation


Cr.มาดามฟินนี่ คลินิกสุขภาพเงินและเพื่อน

“……..ฟังสุขภาพเงินเสร็จมาคุยกะCoach PHET (โค้ชเพชร)กับการปรับสุขภาพจิตใจ และเทคนิคการใช้ชีวิตหลังความผิดหวัง……….”

อาชีวอนามันใครคิดว่าไม่สำคัญ.........

........องค์อนามัยโลกWHO เตือน คนสองพันล้านกำลังดื่มน้ำปนเปื้อนอุจจาระ กรณีศึกษา สิงค์โปร 

กับการจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ......

Occupational Ana I think does not matter. The WHO (World Health Organization) 

 warned two billion people are drinking water contaminated with feces on management 

of water resources. Singapore case study.

 

รศ.ดร.กิตตินันต์  พิศสุวรรณ

ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ PINTHONG GORUP

บทความนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนไม่เกี่ยวข้องกับ

บริษัทปิ่นทองกรู๊ปเนื้อหาต่าง ๆผู้เขียนเป็นผู้รับผิด

E-mail : [email protected]

www.economicshuman.com

Vol.2 (24/01/2018)

 

เอเอฟพี – การพัฒนาอย่างเร่งด่วนมีความจำเป็นเพื่อรับประกันการเข้าถึงน้ำสะอาดและสุขาภิบาลทั่วโลก องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุเมื่อวันอังคาร (11) พร้อมเตือนว่า ในปัจจุบันคนเกือบสองพันล้านคนกำลังใช้น้ำปนเปื้อนอุจจาระในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตหลายแสนคนเนื่องจากพวกเขาจำต้องดื่มน้ำปนเปื้อน WHO ระบุ และเรียกร้องให้มีการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้อย่างทั่วถึง ……….“ปัจจุบันคนเกือบสองพนล้านคนกำลังใช้แหล่งน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระ ทำให้พวกเขามีความเสี่ยงเป็นอหิวาตกโรค โรคบิด ไข้รากสาดน้อย และโปลิโอ” มาเรีย เนรา หัวหน้าหน่วยสาธารณสุขของ WHO ระบุในถ้อยแถลง………….” “น้ำดื่มปนเปื้อนถูกประเมินว่าเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงกว่า 500,000 รายในแต่ละปีและเป็ยปัจจัยหลักในโรคเขตร้อนที่ถูกเพิกเฉยหลายโรครวมถึง พยาธิ โรคพยาธิใบไม้ในเลือด และ โรคริดสีดวงตา”  รายงานเมื่อปี 2015 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้รับรองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) เป้าหมายสูงสุดเพื่อการขจัดความยากจนและพัฒนาสวัสดิภาพของมนุษย์รวมถึงการประกาศว่าจะรับประกันการเข้าถึงน้ำละสุขาภิบาลที่สะอาดและเข้าถึงได้อย่างทั่วถึงภายในปี 2030 แต่จากรายงานล่าสุดในวันนี้ (13) ที่เผยแพร่โดย WHO ในนามของ UN-Water หลายประเทศจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ได้หากพวกเขาไม่เพิ่มการลงทุนอย่างเร่งด่วนรายงานดังกล่าวยินดีกับความจริงที่ว่าหลายประเทศมีการเพิ่มงบประมาณประจำปีสำหรับน้ำ สุขาภิบาล สุขอนามัย มากขึ้นร้อยละ 4.9 ในช่วงสามปีที่ผ่านมาอย่างไรก็ตาม ร้อยละ 80 ของประเทศต่างๆ ยอมรับว่า เงินทุนของพวกเขายังคงไม่พอที่จะตอบสนองเป้าหมายที่จะเพิ่มการเข้าถึงน้ำและสุขาภิบาลที่ปลอดภัย “ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เป้าหมายครอบคลุมแห่งชาติในปัจจุบันคือการทำให้สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ซึ่งอาจไม่ได้จัดสรรการบริการที่ปลอดภัยและน่าไว้วางใจอย่างต่อเนื่องเสมอไป” WHO เตือนในถ้อยแถลงในขณะเดียวกันธนาคารโลกประเมินว่า การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขึ้นสามเท่าเป็น 1.14 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ไม่รวมถึงค่าดำเนินงานและค่าบำรุงรักษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG

ชีวิตที่ความต้องการเพิ่มขึ้นของประชากรสิงค์โปร สู่การบริหารทรัพยากรน้ำ

สิงคโปร์ หนึ่งในประเทศที่มีขนาดเล็กและมีพื้นที่น้ำจืดน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการของคนในประเทศ แต่มีการจัดการอย่างเป็นระบบมีระเบียบเพื่อให้มีน้ำใช้ในประเทศอย่างยั่งยืน

สิงคโปร์เป็นเมืองที่มีพื้นที่ขนาดเล็กที่รายล้อมไปด้วยน้ำทะเล มีประชากรหนาแน่นที่สุดในภูมิภาค แต่เคยประสบภาวะขาดแคลนน้ำจืดจนถึงขั้นวิกฤติในปี 1971 รัฐบาลจึงมีมาตรการทำทุกวิถีทางทั้งการเสาะหาแหล่งน้ำจืดที่หลากหลาย รวมทั้งมีการสำรองน้ำไว้เพื่อให้ประเทศมีน้ำใช้อย่างยั่งยืน จนกระทั่งปัจจุบันสิงคโปร์มีแหล่งน้ำหลัก 4 แหล่งด้วยกัน เรียกว่า “Four National Taps” คือ 1. Local Catchment Water: การกักเก็บน้ำจืดในประเทศ 2. Imported Water: น้ำนำเข้าจากมาเลเซีย (แต่สัญญาจะหมดลงในปี 2061) 3. NEWater: เทคโนโลยีการนำน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคแล้วมาใช้ซ้ำโดยผ่านกระบวนการทำให้น้ำสะอาดขนาดที่สามารถบริโภคได้ (ซึ่งรวมถึงการนำน้ำจากห้องสุขามาบำบัดให้เป็นน้ำที่สามารถดื่มได้) 4. Desalinated Water: น้ำที่ได้จากการกำจัดเกลือออกจากน้ำทะเล 

  น้ำทุก ๆ หยดจึงถือว่ามีค่ามาก ดังนั้นทุกหนแห่งที่มีน้ำ สิงคโปร์จะให้ความสำคัญและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกักเก็บน้ำจืดในประเทศ (Local Catchment Water) ซึ่งหมายรวมเอาทุกแหล่งน้ำ ที่ไม่ใช่เพียงแค่เขื่อนกักเก็บน้ำเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงแม่น้ำในประเทศอีกด้วย โดยมีระเบียบและข้อห้ามที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม เช่น ห้ามทิ้งขยะหรือถ่มน้ำลายลงแม่น้ำ ห้ามว่ายน้ำ รวมทั้งเรือที่แล่นไปมาหรือรับส่งนักท่องเที่ยวก็ต้องใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ห้ามใช้น้ำมันที่จะทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำได้ ซึ่งใช้เวลานับสิบปีโดยอาศัยความร่วมมือจากทุกคนช่วยกันดูแลแหล่งน้ำนี้จนใสสะอาดสามารถนำมาใช้อุปโภคได้ในปัจจุบัน

   ส่วนเขื่อนกักเก็บน้ำก็มีความสำคัญมากในสิงคโปร์ หนึ่งในเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่โดดเด่นเรื่องโครงสร้างและระบบการทำงาน และเป็นวิสัยทัศน์ของ ลี กวน ยู (เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน) ที่ชื่อ “Marina Barrage” ซึ่งเป็นมากกว่าแค่เขื่อนกักเก็บน้ำจืด (น้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา) แต่ยังทำหน้าที่เป็นปราการกั้นน้ำเมื่อน้ำทะเลหนุนเพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วยระบบการระบายน้ำและระบบการเตือนภัยที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เมืองที่มีระดับต่ำ รวมทั้งไม่ให้น้ำทะเลเข้ามาปะปนกับน้ำจืดในเขื่อน นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่สันทนาการสำหรับประชาชน เช่น พื้นที่สีเขียวด้านบนสุดสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจหรือทำกิจกรรมของเด็กๆ และในยามที่กระแสน้ำคงที่ ยังเป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมการพายเรือต่างๆ อีกด้วย

น้ำอีกหนึ่งแหล่งที่น่าจับตามองคือ น้ำจาก NEWater ซึ่งเป็นการนำน้ำทิ้งจากบ้านเรือนที่ใช้อุปโภคบริโภคแล้ว (ซึ่งรวมถึงการนำน้ำจากห้องสุขาด้วย) มาผ่านกระบวนการบำบัดแล้วปรับปรุงคุณภาพโดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย จนได้น้ำ NEWater ที่เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานองค์การอนามัยโลกและคุณภาพน้ำจากแหล่งอื่นๆ พบว่าน้ำ NEWater มีคุณภาพดีที่สุด ทั้งนี้ น้ำจากระบบผลิตนี้จะมุ่งเน้นไปที่การอุปโภคและส่งเสริมการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม  โดยจ่ายเข้าระบบเส้นท่อที่แยกเฉพาะ ไม่ปะปนกับน้ำประปาจากโรงงานผลิตน้ำแหล่งอื่น เพื่อส่งไปยังภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการน้ำคุณภาพดีพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ฟอกย้อม อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนตึกสูงและอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลมีมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำ NEWater ด้วยมาตรการทางภาษีที่ยกเว้นการคิดราคาภาษีอนุรักษ์น้ำ “WCT” (Water Conservation Tax) ที่สูงถึง 30% เพราะถือว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ นอกจากนี้ น้ำจากระบบ NEWater ยังถูกผลิตในรูปแบบน้ำบรรจุขวด เพื่อใช้ในกิจกรรมเพื่อสังคม ตลอดจนงานกีฬาและงานพิธีระดับชาติ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในผลลัพธ์ของการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาเรื่องน้ำของชาติอย่างยั่งยืน          น้ำทุกที่ในประเทศสิงคโปร์จึงมีความสะอาดและสวยงามมาก ซึ่งกว่าจะเป็นอย่างทุกวันนี้ได้นั้น ต้องอาศัยความอดทนและปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนอย่างมากและยาวนานมาก มีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ คาดว่าเมื่อสัญญาการนำเข้าน้ำจากมาเลเซียหมดลง สิงคโปร์จะยังคงมีน้ำกินน้ำใช้ต่อไปอย่างแน่นอน

*

[1]    วิทยากรประจำ PINTHONG GOURP THAILAND

      ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำEconomics and Business School  Illinois State University USA

      รองศาสตราจารย์ประจำ School of Accountancy University of Illinois USA

      ศาสตราจารย์ประจำ School of Economics University of London

      ประธานกรรมการบริษัท สำรวจและบ่อน้ำมัน (ประเทศกาต้าร์) จำกัด(หาข้อมูลได้โดยภาษาอาหรับ)

      ประธานกรรมกาบริษัท สำรวจและบ่อน้ำมัน (ประเทศดูไบ) จำกัด(หาข้อมูลได้โดยภาษาอาหรับ)


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง www.pub.gov.sg www.mwa.co.th www.environnet.in.th

http://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/ArchitectLifestyle/River-and-Life-in-Singapore.aspx เข้าไปศึกษาเมือวันที่ 24 มกราคม 2561

 Cr.มาดามฟินนี่ คลินิกสุขภาพเงินและเพื่อน “……..ฟังสุขภาพเงินเสร็จมาคุยกะCoach PHET กับการปรับสุขภาพจิตใจ และเทคนิคการใช้ชีวิตหลังความผิดหวัง……….”

Cr.มาดามฟินนี่ คลินิกสุขภาพเงินและเพื่อน
“……..ฟังสุขภาพเงินเสร็จมาคุยกะCoach PHET กับการปรับสุขภาพจิตใจ และเทคนิคการใช้ชีวิตหลังความผิดหวัง……….”
https://www.youtube.com/result...มาดามฟินนี่ FC

หมายเลขบันทึก: 644218เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2018 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มกราคม 2018 15:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท