ภาวะแห่งจิตในขณะฌาน


           ความสัมพันธ์เป็นอันเดียวกันแห่งธรรมทั้ง ๓ กลุ่ม ตลอดถึงลักษระอื่นๆ อีก ที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับสิ่งเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย ต่อเมื่อเราได้วินิฉัยกันดุถึงภาวะของจิตในขณะแห่งการบรรลุฌาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัญหาข้อท่ว่า อะไรเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น และจิตในขณะนั้น มีการกำหนดอารมณ์อย่างไร ถ้อยคำต่างๆ บางคำ เปลี่ยนความมหาย และกริยาอาการบางอย่างก็เป็นไปในลักษระที่เข้าใจได้ยาก ราวกะว่าเป็นเคล็ดลับจึงต้องทำความเข้เาใจกันใหม่ในความมหายของคำบางคำ และกิริยาอาการบางอย่างในชันี้กันอีกครั้งหนึ่ง

          เป็นที่ทราบกันแล้วว่า จิตเป็นธรรมชาติที่ต้องกำหนดอยู่ทีสิ่งหนึงสิ่งใดเป็นอารมณ์ และอะไรเล่าเป็น อารมณ์ในขณะที่จิตบรรลุฌาน เพื่อความเข้าใจง่าย ควรจะแยกเป็น ๒ ระยะ คือ ขณะที่จิตจะบรรลุฌาน อย่างหนึ่ง ขณะที่จิตตั้งอยู่แล้วในฌาน อย่างหนึ่ง

          สำหรับจิตในขณะที่จะบรรลุฌานโดยแน่นอน ซึ่งเรีกว่า "โคตรภูจิตในฝ่านสมถะ" นั้น พอที่จะกล่าวได้ว่า มีความเป็นอัปปนาหรือฌาน ซึ่งจะลุถึงข้างหน้าเป็นอารมณ์

         ส่วนจิตที่ตั้งอยู่แล้วในฌานนั้น อยุ่ในสภาพที่ไม่ควรจะกล่าวว่ามีอะไรเป็นอารมณ์ แต่ถ้าจะกล่าวก็กล่าวว่า มีองค์แห่งฌานที่ปรากฎชัดเจนโดยสมบูรณ์แล้วนั้นเองเป็นอารมณ์ เพราะมีความรุ้สึกที่เป็นองค์แห่งฌานนั้นปรากฎอยู่ แต่ข้อนี้ยังมิใช้ปัญหาสำคัญในการปฏิบัติ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เอง ปัญหาสำคัญของเราอยู่ตรงที่ว่า

         ในขณะที่จิตลุถึงฌานนั้น มีอะไรเป็นอารมณ์ และมีการเกี่ยวข้องกับอารมณ์นั้น ในลักษณะอบ่างไร ซึงจะได้วินิฉัยสืบไป

         ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า จิตในขณะที่กำลังจะลุถึงฌานนี้ มีการหน่งต่อปัปนาสมาธิ จึงมี ความเป็นอัปปนานั่นเอง เป็นอารมณ์ของการหน่วง นี้ทำให้เห็นได้ว่า มิได้มีการกำหนดอารมณ์นั้น ในฐานะที่เป็นนิมิต ดังที่เคยกระทำกันมาแล้วแต่ก่อน กล่าวคือ ในขณะแห่งบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และแม้ปฏิภาคนิมิต ฉะนั้น จึงถือเป็นหลักอนสำคัญสำหรับการศึกษาในชั้นนี้ว่า่ธรรม ๓ คื อนิมิต ลมหายใจออก และลมหายใจเ้ขา ทั้งสามนี้มิได้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอารมณืแห่งเอกัคคตาจิต หรือแม้จิตที่กำลังจะเป็นเอกัคคตา แต่ถึงกระนั้นธรรมทังสามนี้ ก็ยังคงปรากฎด้วยอกนาจของสติอยุ่นั้นเอง ทั้งจิตก็ไม่ฟุ้งซ่านทั้งความเพียรก็ปรากฎหรือเป็นอยุ่ และ(ุ้ปฏิบัติก็สามารถทำประโยคให้สำเร็จจนลุถึงคุณพิเศษที่ตรประสงคื และนี้คือหัวข้อที่ต้องทำความเข้าใจ หรือที่อยู่ในลักษณะที่พอจะเรียกได้ว่า เป็น "กลเม็ดที่เกี่ยวกับการบรรลุฌาน"

           ผู้ศึกษาพังสังเกตให้เห็น ใจความสำคัญของหลักที่กล่าวแล้ว ซึ่งมีอยุ่ว่าในขณะนี้ นิมิตก็ตาม ลมหายใจออกก็ตาม ลมหายใจเข้าก็ตาม มิได้เป็นอารมณ์ของจิต แต่ก็ยังคงปรากฎอยุ่นี้ ข้อหนึ่ง และอีกข้อหนึ่งคือ แม้มิได้มีการกำหนดสิ่งเหล่านั้นเป็นอารมณื จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน ความพยายามทำก้ปรากฎอยู่ตัวประโยค กล่าวคือตัวการกระทำ ก้ดำเนินไปอยุ่ จนกระทั่งเป็นสมาธิ ดังนี้ นึกดูแล้ว มันจะเป็นไปไดอย่างไรกัน ปัญหาย่อมจะเกิดขึ้นว่า นิมิตและลมหายใจ จะปรากฎแก่จิตได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้ตั้งอยุ่ในฐานะเป็นอามร์ของจิต ความพยายามและความดำเนินไปของภาวนา จะมีได้อย่างไร ในเมื่อจิตสงบไม่มีพฤติหรือความหวั่นไหวแต่อย่างใด นี่แหละ คือความหมาของคำที่กล่าวว่าถ้าเป็นไปได้ ก็ต้องเป็นไปในลัษณะที่เป็นกลเม็ดหรือเป็นเคล็ดลับแต่ที่แท้จริงนั้น หาได้เป็นกลเม็ดหรือเคล็ดลับอย่างใดไม่ มันเพียงอากการของการกระทำที่แยบคายที่สุด ตามแบบของจิตที่ฝึกแล้วถึงที่สุด และเป็นไปได้โดยกฎธรรมดา หรือตามธรรมชาตินั่นเอง ถ้าไ่มีการังเกตหรือการศึกษาที่เพียงพอ ก้ดุคล้ายกับว่าเป็นส่งิที่เป็นไปไม่ได้ การอธิบายสิ่งที่อธิบายด้วยคำพูดตรงๆ ไม่ได้ หรือได้ก้มีความยากลำบากเกินไปนั้น ท่านนิยมให้ทำการอธิบายด้วยการทำอุปมา พอผู้ฟังเข้าใจความหมายของอุปมาแล้ว ก็เข้าใจความหมายของตัวเรื่อง ซึ่งเ็นตัวอุปมัยได้ทันที่ ในที่นี้ก็จำเป็นจะต้องใช้วิธีการอันนั้น กล่าวคื อการทำอุปมาด้วยการเลื่อนไม้อีกตามเคย

           คนๆ หนึ่ง กำลังเลื่อยไม้อยู่ ซึ่งหมายความว่าฟันเลื่อยกำลังกินเหนื้อไม้อยู่สิ่งที่จะต้องสังเกตเพื่อทำความเข้าก็คือ เขามิได้มองตรงไปที่ฟันเลื่อยกินเนื่อไม้เลย เขามิได้สนใจที่ตรงนั้น แต่สติก็ปรากฎอยุ่ชัดเจน ว่าเขากำลังเลื่อยไม้อยู่ ทั้งนี้ก็มิช่อะไรอื่น แต่เป็นเพราะอำนาจของฟันเลื่อยที่กำลังกินเนื้อไม้นั่นเองให้ความรู้สึกแก่เขา พึงสังเกตว่า

          ๑. ทำไมเขาจึงรู้สึกตัวอยุ่ว่าเขากำลังเลื่อยไม้ ทั้งๆ ที่เขามิได้สนใจตรงที่ฟันเลื่อยกำลังกินเนื้อไม้อยู่โดยเฉพาะ

          ๒. ข้อถัดไปก็คือ ฟันเลื่อยย่อมเดินไปเดินมาตามการชักของบุคคลผุ้เลื่อย แต่สิ่งที่เรียกว่ "ความแน่วแน่" ในการเลื่อยก้ยังมีอยู่ ทั้งที่เลื่อยมีอาการ วิ่งไปวิ่งมา ข้อนี้พึงตั้งข้อสังเกตว่า "ความแน่วแน่" มันปรากฎไดอย่าไร ในเมื่อ การเคลื่อนไหวไปเคลื่อนไหวมา ก็ปรากฎอยู่

          ๓. ข้อถัดไปก็คือ ความพยายามกระทำของบุคคลนั้น ก็มีอยู่โดยิได้มีความสนใจตรงที่ฟันเลื่อยกินไม้ หรือมิได้สนใจแม้แต่ในความพยายามที่ตนกำลังพยายาอุ่ แม้สติก็มิได้ปรากฎอย่างเด่นชัดรุนแรงในการควบคุมการพยายาม ความพยายามนันก็ยังเป็นไปได้เต็มตามความต้องการ และ

          ๔. ข้อสุดท้ายที่ควรสังเกตก็คือ แม้ว่าเขาจะหลับตาเสียในขณะนั้นไม้ก็คงขาดไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขาดออกจากกันในที่สุ ซึ่งทำให้กล่าวได้ว่าประโยคได้เป็นไปเอง โยที่บุคคลนั้นมิได้สนใจฟันเลื่อยในการแน่วแน่ต่อการเลื่อยใรความพยายามของตน หรือในอะไรอื่น คงมีแต่สติที่คุมสิ่งต่างๆ อยุ่ตามสควรเท่านันช้น สิ่งต่างๆ ซึ่งชำนิชำนาญ และถูกปรับปรุงมาดีแล้วถึงขั้นนี้ ก็ดำเนินไปได้ถึงที่สุดเอง ทั้ง ๔ ข้อนี้ มีอุปมาฉันใด ภาวะแห่งจิตในการบรรลุฌาน ก็มีอุปมัยฉันนั้น...

            อานาปานสติภาวนา พุทธทาสภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 644210เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2018 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2018 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท