ผลวิจัยชี้ เครื่องมือ EF Guideline สามารถพัฒนาทักษะสมอง (EF) เด็กไทย ได้สูงกว่าค่ามาตรฐาน



3 หน่วยงานพันธมิตรภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ร่วมกันแถลงผลงานวิจัย  การนำ EF Guideline  ไปใช้ในกลุ่มครูปฐมวัยพบว่า ได้ผลเป็นที่พอใจ  สามารถช่วยครูปฐมวัย พัฒนาทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้ สำเร็จ ( Executive Functions (EF) ของเด็กไทย ได้เป็นไปตามคาด

นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะผู้จัดการโครงการ “การพัฒนาองค์ความรู้และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะสมองเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนในประเทศไทย” กล่าวว่า การที่เด็กไทย จะมีทักษะทางสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ ได้นั้น  ต้องประกอบไปด้วย   ความร่วมมือของครูปฐมวัย ผู้บริหารโรงเรียนต้องเอาใจใส่การศึกษาปฐมวัยให้มากขึ้น  และพ่อแม่ ผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ต้องเปลี่ยนความคิด ทัศนคติ ต่อเป้าหมายด้านการศึกษาของลูกหลาน รวมถึงกระบวนการเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก,  ส่วนในระดับนโยบายของประเทศต้องเปลี่ยนความคิดความเข้าใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้ถูกทิศทาง ไม่ตามกระแสค่านิยมที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของเด็ก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดำเนินการวิจัยกล่าวว่า EF Guideline ได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็น “เพื่อน คู่ คิด” ของครูปฐมวัย ใช้ประโยชน์ได้ 2 ทาง คือ ใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์กิจกรรมในแผนการจัดประสบการณ์เดิม และใช้เป็นแนวทางการออกแบบกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้องค์ประกอบแต่ละส่วนเป็นตัวนำทาง ภายใต้ จุดประสงค์หลักสามอย่างคือ เป้าหมาย ,กระบวนการ และ การประเมิน สำคัญ

จากผลงานวิจัยเครื่องมือ EF Guideline ครั้งนี้ พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  เด็กกลุ่มทดลองที่ครูนำ EF Guideline ไปใช้ในการจัดประสบการณ์ในชั้นเรียนนั้น พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยทักษะสมอง EF มากกว่าค่าNorm ของเด็กไทยในทุกภูมิภาค

นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ถึงการนำผลการศึกษาไปประยุกต์ใช้ ได้แก่ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์โดยการใช้ EF Guideline  ครูต้องดำเนินการอย่างทุ่มเทและต่อเนื่อง ถึงจะมีพัฒนาการ,การส่งเสริมการใช้ EF Guideline ให้กับครูระดับปฐมวัยนั้น ต้องปรับให้มีความสอดคล้องกับบริบท สังคม และวัฒนธรรมของโรงเรียน  อีกทั้ง ควรการจัดอบรมการใช้ EF Guideline ให้กับครูที่มีความสนใจในระดับช่วงชั้นอื่น เพื่อขยายองค์ความรู้ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  และจัดให้มีเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ เครื่องมือนี้  เพื่อพัฒนาการใช้ EF Guideline ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #EF Guideline#ef
หมายเลขบันทึก: 644141เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2018 02:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2018 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท