จริยธรรม : คุณค่าแห่งวิชาชีพการพยาบาล


สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง จริยธรรม : คุณค่าแห่งวิชาชีพการพยาบาล

และรับรางวัลหน่วยงานที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ปี 2560

วันที่ 6-8 กันยายน 2560

ณ สภาการพยาบาล อ.เมือง จ.นนทบุรี

……………………………………………………………………………………..

สรุปโดย ผศ.ดร.ทิพยวรรณ นิลทยา

เรื่อง 1 พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล

ความกล้าหาญทางจริยธรรม (moral courage) หมายถึง การที่บุคคลใช้ความมุ่งมั่นทาง

จริยธรรม ในการกระทำอย่างมีจริยธรรม ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหา อุปสรรค และแรงกดดันใดๆก็ตาม

หรือแม้แต่จะรู้ว่าการกระทำนั้นอาจเกิดผลทางลบต่อตนเองก็ตาม

ปัจจัยที่ทำให้มีความกล้าหาญทางจริยธรรม

1.การเลี้ยงดู พื้นฐานของครอบครัว

2.ความเข้มแข็งด้านจิตใจ ความมั่นคงทางอารมณ์

3.การศึกษาและการฝึกอบรมทางด้านจริยธรรม

4.แบบอย่างภาวะผู้นำ

5.บรรยากาศจริยธรรม

6.ความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเผชิญกับประเด็นจริยธรรมได้ โดยมั่นใจว่าสามารถฟันฝ่า

อุปสรรคต่างๆเพื่อให้สามารถลงมือแก้ไขประเด็นจริยธรรมนั้นๆให้สำเร็จได้ (moral efficacy)

 

เรื่องที่ 2 พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาล ตามหลักจริยธรรม (Ethical Principles)

หลักจริยธรรม

1.การทำประโยชน์ พฤติกรรมจริยธรรมตามการทำประโยชน์ คือ มีความรัก ความเมตตา ทำสิ่งที่ดี

เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ องค์กร วิชาชีพ และสังคม

วิทยานิพนธ์:พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลจากประสบการณ์ของผู้ป่วยด้านการกระทำสิ่งที่ดี สิ่งที่

เป็นประโยชน์ พบว่า การดูแลช่วยเหลือเพื่อให้รอดตาย หายป่วย ร้อยละ 90.0 พูดจาดี มีหน้าตายิ้มแย้ม ร้อย

ละ 47.8 เอาใจใส่ถามไถ่อาการ ร้อยละ 37.8 ช่วยเหลือทันทีที่มีปัญหา ร้อยละ 37.8(ถนอม อรัญญา และ

ช่อลดา 2546 )

วิทยานิพนธ์:พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วยด้านการทำประโยชน์:ต่อผู้ป่วยพบว่า ให้ความ

ช่วยเหลือทันทีที่ต้องการ ให้การดูแลอย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ รับฟังปัญหาด้วยความสนใจ เอาใจ

ใส่ ใช้คำพูดและกิริยาที่สุภาพ (ศิริวรรณ อรัญญา และทัศนีย์ 2553)

2.การไม่ทำอันตราย พฤติกรรมทางจริยธรรม ตามหลักการไม่ทำอันตราย คือ ไม่ทำร้าย

ผู้รับบริการ และผู้อื่นทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม ไม่ทำความเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ องค์กร

วิทยานิพนธ์:พฤติกรรมจริยธรรมของพยาบาลจากประสบการณ์ของผู้ป่วย พบว่า ด้านการไม่ทำ

สิ่งที่ไม่ดีหรือเป็นอันตราย ไม่ทำให้เจ็บปวดหรืออันตรายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 94.4(ถนอม อรัญญา และช่อลดา 2546)

วิทยานิพนธ์:พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย ด้านการไม่ทำอันตราย:ต่อผู้ป่วย พบว่า ไม่

ปล่อยให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่ออันตราย ไม่ผูกยึดโดยไม่จำเป็น ไม่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด:อันตราย ไม่ใช้คำพูด/กิริยา

ท่าทางที่ผู้ป่วยสะเทือนใจ/ด้อยศักดิ์ศรี ด้านการไม่ทำอันตราย:ต่อผู้ป่วย พบว่า ไม่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง

ไม่ลงโทษเกินกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน ไม่ทำโยนความผิดให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่มอบหมายงานที่เสี่ยงต่อ

อันตรายโดยไม่มีมาตรการการป้องกัน/ช่วยเหลือ (ศิริวรรณ อรัญญา และทัศนีย์ 2553)

3.การเคารพเอกสิทธิ์ พฤติกรรมจริยธรรม ตามหลักเคารพเอกสิทธิ์ คือ ไม่จำเป็นต้องทำตามหรือ

ให้อิสระผู้ป่วยทุกคน หากบุคคลนั้นไม่อยู่ในสภาพที่จะตัดสินใจด้วยเหตุผล ได้แก่ เป็นเด็กเล็กๆ ป่วยทาง

จิตซึมเศร้า ทุกข์มากและอยากฆ่าตัวตาย ติดยา ไร้ความสามารถ

การยินยอมภายหลังได้รับข้อมูล (Informed Consent)กฎหมายว่าด้วย..การให้ผู้ป่วยได้

ตัดสินใจด้วยตนเอง โดยแสดงเจตนารมณ์ล่วงหน้า ประกอบด้วย พินัยกรรมชีวิต การมอบหมายผู้ตัดสินแทน

กระบวนการให้ข้อมูลเพื่อขอความยินยอมต่อผู้ป่วย ประเมินความสามารถของผู้ป่วย ให้ข้อมูล

ผู้ป่วย ประเมินความเข้าใจของข้อมูล ให้ผู้ป่วยตัดสินใจโดยอิสระ ให้ผู้ป่วยลงนาม / มอบอำนาจ

พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือเจตนาไม่ประสงค์จะขอรับ

บริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเพื่อยุติการทรมานจากการ

เจ็บป่วย

4.ความยุติธรรม พฤติกรรมจริยธรรม ตามหลักความยุติธรรม โดยให้ทุกคนเท่ากันให้ตามความ

ต้องการ ให้ตามความดี ให้ตามการกระทำ ให้ตามความพยายาม ให้ตามคุณค่าในสังคม

วิทยานิพนธ์:พฤติกรรมจริยธรรมของหัวหน้าหอผู้ป่วย ด้านความยุติธรรม:ต่อผู้ป่วย พบว่า ดูแล

เท่าเทียมกันแม้ต่างศาสนาวัฒนธรรม อายุ เพศ ช่วยเหลือโดยไม่คำนึงถึงฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ

การเมือง สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาให้ดูแลที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละคน (ศิริวรรณ อรัญญา

และทัศนีย์ 2553 )

5.การบอกความจริง พฤติกรรมจริยธรรมตามหลักบอกความจริง คือ พูดความจริงไม่โกหก

หลอกลวง ไม่ทำรายงานเท็จ ไม่ปลอมแปลงเอกสาร ไม่ลอกเลียนผลงานผู้อื่น

วิทยานิพนธ์:ประสบการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งในการได้รับความจริงจากทีมสุขภาพ ความรู้สึกของ

ผู้ป่วยมะเร็งต่อการรับรู้ความจริง พบว่า ไม่ตกใจสู้ความจริง ตกใจกลัวเพราะความตายอยู่ใกล้ตัว ทำไม

ต้องเป็นเรา เครียด สับสน กังวลใจห่วงพ่อแม่ (จุฬาวรรณ อรัญญาและวันดี 2547 )

6.ความซื่อสัตย์ พฤติกรรมจริยธรรมตามหลักความซื่อสัตย์ ความลับของผู้ป่วยถูกเปิดเผยได้

จาก ก.การรับ ส่งเวร ข.การพูดคุยกันเองข้างเตียงผู้ป่วย ค.ทางโทรศัพท์ ง.การพูดคุยในที่สาธารณะ-

นินทา จ.ทางคอมพิวเตอร์ ฉ.โดยการบันทึกในแฟ้มผู้ป่วย

          ผู้ป่วยประเภทใดที่ได้รับอันตราย/เสียชื่อเสียง หากความลับถูกเปิดเผย ก.ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV

/Aids ข.ผู้ป่วยทำแท้ง ค.ผู้ป่วยถูกข่มขืน ง.ผู้ป่วยคดี จ.ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจิต

 

 

 

เรื่องที่ 3 พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดจริยธรรม (Ethical concept)

  • การทำหน้าที่แทน (Advocacy)หมายถึง การที่บุคคลกระทำเพื่อปกป้องผู้อื่นหรือช่วยให้ผู้อื่น

 

ได้รับประโยชน์พยาบาลเป็นปากเป็นเสียงแทนผู้ป่วย เพื่อให้การตัดสินใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วย เป็นไปตาม

ความประสงค์ที่แท้จริงของผู้ป่วยอันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย

          รูปแบบการทำหน้าที่แทนผู้ป่วย 1.รูปแบบการพิทักษ์สิทธิ์ 2.รูปแบบที่เน้นการตัดสินใจตามคุณค่า

3.รูปแบบการเคารพความเป็นบุคคล

          สารนิพนธ์:การทำหน้าที่แทนของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย 1.เคารพการตัดสินใจความ

เชื่อของผู้ป่วย/ครอบครัว 2.ประสานงานกับแพทย์เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย/ครอบครัว 3.ปกป้องการละเมิดสิทธิ

ในความเป็นส่วนตัว (สุณี อรัญญา และทัศนีย์ 2552)

          วิทยานิพนธ์:การทำหน้าที่แทนของหอผู้ป่วยตามการรับรู้และประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและ

พยาบาลวิชาชีพใน 3 จว.ชต.การทำหน้าที่แทนของหัวหน้าหอผู้ป่วย 1.การให้ข้อมูล(ถูกต้อง ชัดเจน และ

เพียงพอในการตัดสินใจหรือการกระทำในสิ่งที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย/ผู้ใต้บังคับบัญชา) 2. การ

ช่วยเหลือสนับสนุน(ช่วยเหลือผู้ป่วยตามมาตรฐานวิชาชีพ สนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ) (ทวีพร อรัญญา และทัศนีย์ 2553)

2.ความรับผิดชอบ (Accountability /Responsibility)หมายถึง การที่บุคคลสามารถให้คำตอบ

ได้ ถึงสิ่งที่ตนกระทำ หรือสิ่งที่ตนรับผิดขอบ ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้

3.ความร่วมมือ (Cooperation)หมายถึง ความร่วมมือทั้งในและนอกวิชาชีพ กำหนด

เป้าหมายร่วมกัน คือ การดูแลที่มีคุณภาพ การเข้าถึงและยอมรับคุณค่า และเป้าหมายของแต่ละฝ่าย

4.ความเอื้ออาทร (Caring) หมายถึง Being there  Being with ที่เห็นและเป็นอยู่

 

 

 

เรื่องที่ 4 ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม และกระบวนการตัดสินใจเชิงจริยธรรม

ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม (Ethical Dilemma)เหตุการณ์ที่ต้องการการตัดสินใจ

เลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง จากทางเลือกอย่างน้อยสองทางเลือกที่มีผลดีและผลเสียเท่าๆกัน เป็นการ

ยากที่จะตัดสินใจเลือก เพราะไม่ว่าเลือกทางใดก็อาจจะเกิดผลที่ไม่พึงประสงค์

ประเด็นขัดแย้งทางจริยธรรม (กาญจนาพร,อรัญญา,และวันดี,2543 )

1.ไม่แน่ใจว่าจะไปทางไหนดี

2.บางสิ่งที่ทำไปก็ไม่แน่ใจว่าถูกหรือผิด

3.ต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งที่ใจไม่อยากเลือก

4.เป็นประเด็นที่แก้ไม่ได้เพราะไร้อำนาจ

 

การนำการอบรมไปใช้ประโยชน์

          1.สอนรายวิชากฎหมายจริยธรรมในนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2560

          2.สอนรายวิชากฎหมายจริยธรรมในนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2/2560

 

 

หมายเลขบันทึก: 644136เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2018 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2018 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท