ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาสันสกฤต


๑.๑ ความหมายของสันสกฤต

คำว่า สํสฺกฤต (संस्कृत) แปลว่า "กลั่นกรองแล้ว" ส่วนคำว่า สํสฺกฤตาวากฺ (संस्कृतावाक्) จะใช้เพื่อเรียก "ภาษาที่กลั่นกรองแล้ว" ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นพราหมณ์  ภาษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และส่งผลมาถึงอาณาจักรใแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สันสกฤต :संस्कृता वाक्, สํสฺกฤตา วากฺ; อังกฤษ: Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน  (หรืออินเดีย-ยุโรป)สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรรพ์

เมื่อได้ยินคำว่าสันสกฤต หลายคนคงรู้สึกขึ้นมาทันทีว่ายาก แต่ความยากง่ายนั้นเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ อย่าเพิ่งไปคิดว่ายากหรือง่าย ขอให้ทราบแต่ว่ามีการเรียนภาษาสันสกฤตมาช้านานจนปัจจุบันก็ยังมีการเรียนภาษาสันสกฤต และมีผู้เรียนจบปริญญาตรี โท เอก อย่างต่อเนื่อง     แต่ภาษาสันสกฤตนั้นเกี่ยวข้องกับคนไทย หรือภาษาไทยสักแค่ไหน หลายท่านอาจนึกไม่ออก

เฉลยให้ว่าสำคัญมาก และเกี่ยวข้องมากๆ พูดสั้นๆ ว่า คำศัพท์ในภาษาไทยนั้นมีคำสันสกฤตอยู่เกือบครึ่งเลยทีเดียว ส่วนชื่อบุคคลชาวไทย เป็นภาษาสันสกฤตน่าจะเกินครึ่ง ลองสำรวจชื่อตนเองและเพื่อนๆ ดู ถ้าไม่แน่ใจลองเปิดพจนานุกรมไทย ท่านจะวงเล็บบอกไว้ แล้วท่านจะตะลึง ว่าภาษาสันสกฤตปนอยู่ในภาษาไทยมากถึงเพียงนี้

อันที่จริง ภาษาสันสกฤตเกี่ยวข้องกับคนไทยมาช้านาน มีการใช้คำสันสกฤตตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มจากศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็พบคำว่า ศรีอินทราทิตย์ เป็นศัพท์สันสกฤตล้วนๆ นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าจากนิยายสันสกฤต เช่น รามายณะ มหาภารตะ ปัญจตันตระ และอื่นๆ  จริงอยู่ ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และพุทธศาสนาในประเทศไทยก็ใช้ภาษาบาลี แต่คำที่ใช้ในการศาสนาเองกลับมีศัพท์สันสกฤต เช่น ธรรม กรรม ศาสนา บาตร ศีล กุศล ภิกษุ ฯลฯ สรุปว่า คนไทยกับภาษาสันสกฤตแยกกันไม่ขาดจริงๆ

ในข้อที่ว่าภาษาสันสกฤตมาจากไหน คงต้องอธิบายยืดยาว ไม่เหมาะที่จะเขียนตรงนี้ ขอเล่าสั้นๆ ว่าภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเก่า มีมาก่อนพุทธศาสนา (จึงมีอายุมากกว่า ๒,๕๐๐ ปี) อยู่ในตระกูลที่เรียกว่า อินเดียยุโรป (Indo-European Family) ซึ่งเก่าแก่หลายพันปีก่อน ภาษาในตระกูลนี้มีลักษณะเฉพาะคือ มีการเปลี่ยนเสียงเพื่อบอกความหมาย หรือหน้าที่ของคำ ต่างจากคำในภาษาไทย ไม่มีการเปลี่ยนเสียงแต่อย่างใด. ภาษาในตระกูลนี้ได้แก่ กรีก ละติน เปอร์เซีย เยอรมันโบราณ เป็นต้น

ภาษาพระเวท ซึ่งเก่าแก่มาก เป็นภาษาที่ใช้ในวรรณคดีพระเวทรุ่นเก่าที่สุด และภาษาแบบแผน คือช่วงหลังพระเวท สมัยพุทธกาลลงมา ปรากฏในวรรณคดีส่วนใหญ่ที่เรารู้จัก รามายณะและมหาภารตะก็อยู่ในกลุ่มหลังนี้ อย่างไรก็ตามยังมีการแบ่งกลุ่มภาษาสันสกฤตผสม หรือสันสกฤตในพุทธศาสนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งปรากฏในสมัยหลัง ภาษาแต่ละแบบนั้นมีคำศัพท์และไวยากรณ์ในแนวทางเดียวกัน แต่แตกต่างในส่วนปลีกย่อย ตำราภาษาสันสกฤตเบื้องต้นจึงเริ่มที่ภาษาสันสกฤตแบบแผน ซึ่งมีไวยากรณ์ค่อนข้างแน่นอนตายตัว   ภาษาสันสกฤตอาจแบ่งได้เป็น ๒ แบบใหญ่ๆ คือ

๑. ภาษาสันสกฤตแบบแผน

เกิดขึ้นจากการวางกฎเกณฑ์ของภาษาสันสกฤตให้มีแบบแผนที่แน่นอนในสมัยต่อมา โดยนักปราชญ์ชื่อ ปาณินิตามประวัติเล่าว่าเป็นผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นคันธาระราว ๕๗ ปีก่อนพุทธปรินิพพาน บางกระแสว่าเกิดราว พ.ศ.๑๔๓ ปาณินิได้ศึกษาภาษาในคัมภีร์พระเวทจนสามารถหาหลักเกณฑ์ของภาษานั้นได้ จึงจัดรวบรวมขึ้นเป็นหมวดหมู่ เรียบเรียงเป็นตำราไวยากรณ์ขึ้น ๘ บทให้ชื่อว่า อัษฏาธยายี มีสูตรเป็นกฎเกณฑ์อธิบายโครงสร้างของคำอย่างชัดเจน นักวิชาการสมัยใหม่มีความเห็นว่า วิธีการศึกษาและอธิบายภาษาของปาณินิเป็นวิธีวรรณนา คือศึกษาและอธิบายตามที่ได้สังเกตเห็นจริง มิได้เรียบเรียงขึ้นตามความเชื่อส่วนตัว มิได้เรียบเรียงขึ้นตามหลักปรัชญา คัมภีร์อัษฏาธยายีจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นตำราไวยากรณ์เล่มแรกที่ศึกษาภาษาในแนววิทยาศาสตร์และวิเคราะห์ภาษาได้สมบูรณ์ที่สุด] ความสมบูรณ์ของตำราเล่มนี้ทำให้เกิดความเชื่อในหมู่พราหมณ์ว่า ตำราไวยากรณ์สันสกฤตหรือปาณินิรจนานี้ สำเร็จได้ด้วยอำนาจพระศิวะ อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์เชื่อว่าการวางแบบแผนอย่างเคร่งครัดของปาณินิ ถือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาษาสันสกฤตต้องกลายเป็นภาษาตายอย่างรวดเร็วก่อนเวลาอันควร  เพราะทำให้สันสกฤตกลายเป็นภาษาที่ถูกจำกัดขอบเขต (a fettered language) ด้วยกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์ที่เคร่งครัดและสลับซับซ้อน ภาษาสันสกฤตที่ได้ร้บการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ให้ดีขึ้นโดยปาณินิ นี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เลากิกภาษา" หมายถึงภาษาที่ใช้กับสิ่งที่เป็นไปในทางโลก

๒. ภาษาสันสกฤตผสม

ภาษาสันสกฤตผสม (Buddhist Hybrid Sanskrit or Mixed Sanskrit) เป็นภาษาสันสกฤตที่นักวิชาการบางกลุ่มได้จัดไว้เป็นพิเศษ เนื่องจากมีความแตกต่างจากภาษาพระเวทและภาษาสันสกฤตแบบแผน (ตันติสันสกฤต) ภาษาสันสกฤตแบบผสมนี้คือภาษาที่ใช้บันทึกวรรณคดีสันสกฤตทางพระพุทธศาสนา  ทั้งในนิกาย สรรวาสติวาท และ มหายาน ภาษาสันสกฤตชนิดนี้คาดว่าเกิดขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๓-๔ นักปราชญ์บางท่านถือว่าเกิดขึ้นร่วมสมัยกับตันติสันสกฤต คือในปลายสมัยพระเวทและต้นของยุคตันติสันสกฤต โดยปรากฏอยู่โดยส่วนมากในวรรณกรรมของพระพุทธศาสนามหายาน อาทิ พระสูตร เช่น ลลิตวิสฺตร ลังฺกาวตารสูตฺร ปฺรชฺญาปารมิตา สทฺธรฺมปุณฺฑรีกสูตฺร  และศาสตร์อันเป็นคำอธิบายหลักพุทธปรัชญาและตรรกวิทยา เช่น มธฺยมิกการิกา อภิธรฺมโกศ มหาปฺรชฺญาปารมิตาศาสฺตฺร มธฺยานฺตานุคมศาสฺตฺร เป็นต้น

ภาษาสันสกฤต ๓ ชั้น

ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาเก่าแก่ การใช้ภาษาและลักษณะของภาษาแตกต่างไปตามท้องถิ่นและยุคสมัย หากพิจารณาตามลักษณะทางคำศัพท์และไวยากรณ์ อาจแบ่งเป็น ๓ ยุค อย่างคร่าวๆ คือ

๑. ภาษาพระเวท (Vedic Sanskrit) น่าจะอยู่ราว ๕๐๐-๑๐๐๐ ปีก่อนคริสตกาล  เป็นภาษาที่พบได้ในคัมภีร์ฤคเวท สังหิตา, มันตระในพระเวทต่างๆ รูปไวยากรณ์มีความหลากหลาย ตามสำนัก และท้องถิ่น มีลักษณะเด่นคือการเน้นเสียง (accent) ของคำ และมาลา (Mood) บางอย่างที่ไม่ปรากฏในยุคหลัง

๒. ภาษาสันสกฤตแบบแผน (Classical Sanskrit) อยู่ในช่วงปลายสมัยพระเวทลงมา  ไวยากรณ์มีแบบแผน รัดกุม มีการแต่งไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตแบบแผนมากมาย ส่วนหนึ่งก็เพื่อจัดระเบียบ หรือหารูปแบบที่ชัดเจน คัมภีร์ไวยากรณ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด น่าจะเป็นตำราแปดเล่มของปาณินิ

ด้วยความเป็นระบบระเบียบนี้เอง ภาษาสันสกฤตแบบแผนจึงอาจจะศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากทุกอย่างเป็นไปตามกฎกติกา (พร้อมกับข้อยกเว้น) ทำให้มีการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือสังเคราะห์ไวยากรณ์อย่างหลากหลาย (การเขียนกฎไวยากรณ์ของภาษายุคอื่นทำได้ยาก และยุ่งยากกว่ามาก)

สำนักเรียนส่วนใหญ่จึงให้เรียนภาษาสันสกฤตแบบแผน ก่อนจะไปเรียนภาษาสันสกฤตแบบอื่น เอกสาร ตำราไวยากรณ์ และพจนานุกรม ภาษาสันสกฤตส่วนใหญ่จะใช้ภาษาสันสกฤตแบบแผนเป็นหลัก

๓.ภาษาสันสกฤตผสม (Buddhist Hybrid Sanskrit หรือ Mixed Sanskrit) พบในราว ๔ ศตวรรษก่อนคริสตกาล โดยมากใช้บันทึกคัมภีร์พุทธศาสนา ฝ่ายมหายาน มีลักษณะโครงสร้างหลักแบบเดียวกับภาษาสันสกฤตแบบแผน แต่มีรูปแบบปลีกย่อยเพิ่มเติม มีรูปศัพท์หลายรูปที่คล้ายกับบาลี และแตกต่างจากสันสกฤตแบบแผน จนบางครั้งเรียกว่าภาษาสันสกฤตแบบไม่สมบูรณ์ (Broken) เช่น ภิกฺโษสฺ (ของภิกษุรูปหนึ่ง) ในภาษาสันสกฤตแบบแผน (อุ การานต์), แต่ภาษาสันสกฤตผสมอาจใช้ ภิกฺษุสฺย (โดยใช้แนวเทียบกับอะการานต์) เป็นต้น. ภาษาสันสกฤตผสมจึงไม่มีแบบแผนที่ตายตัว วรรณคดีในพุทธศาสนาที่ใช้ภาษาสันสกฤตแบบแผนก็มี เช่น งานเขียนอัศวโฆษ หรือนาคารชุน

ภาษาสันสกฤตแต่ละแบบไม่ได้แยกขาดจากกันเสียทีเดียว และระยะเวลาก็ไม่สามารถระบุได้เด็ดขาด พอจะประมาณได้คร่าวๆ ตามเวลาที่แต่งคัมภีร์ต่างๆ เท่าที่พบและรอดมาจนถึงปัจจุบันเท่านั้น.

๑.๒ เรียนภาษาสันสกฤตเพื่ออะไร

คงตอบง่ายๆ ว่า เพื่ออ่านหนังสือภาษาสันสกฤต ซึ่งมีจำนวนมหาศาล ทั้งวรรณคดีในศาสนา (ฮินดู พุทธ ไชนะ) วรรณคดีเพื่อความบันเทิง เช่น บทละคร หรือกาวยะทั้งหลาย นอกจากนี้ยังมีตำราวิชาการอีกมาก ทั้งด้านการแพทย์ ดาราศาสตร์ โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์จำพวกพืช สัตว์ แร่ธาตุ ฯลฯ

แม้ภาษาสันสกฤตจะถือว่าเป็นภาษาที่ไม่ใช้ในชีวิตประจำวัน (เรียกว่าภาษาที่ตายแล้ว, แม้จะมีคนจำนวนหนึ่งยังใช้อยู่บ้าง) แต่เรายังได้ประโยชน์จากการเรียนภาษาสันสกฤต ทั้งเพื่อการอ่าน ทำความเข้าใจ ศึกษาเปรียบเทียบกับภาษาและวรรณคดีของไทย รวมทั้งเป็นแนวทางในการศึกษาทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติ เพื่อทำความเข้าใจที่มา และความหมายของคำศัพท์อย่างลึกซึ้งได้ด้วย

สำหรับในรายวิชานี้ การเรียนภาษาสันสกฤตมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนาคัมภีร์ในศาสนาของพุทธมหายานแต่งด้วยภาษาสันสกฤต คัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดของพุทธมหายานคาดว่าแต่งขึ้นช่วง พ.ศ. ๖๐๐  (หลังจากที่มีการบันทึกพระไตรปิกฏเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่นับจากที่การถ่ายทอดพระไตรปิฏกทำด้วยมุขปาฐะมาตั้งแต่ต้น (นับ พ. ศ. ๑))  แต่ละคัมภีร์ในพุทธมหายานจะปรากฏชื่อผู้รจนาคัมภีร์นั้นไว้ สามารถหาได้ว่าคัมภีร์นั้นใครเป็นผู้แต่ง

พระพุทธเจ้าสอน-เผยแผ่ พุทธศาสนา  เป็นภาษามคธ (เป็นภาษาชาวบ้าน)  ซึ่งปัจจุบันก็ คือ บาลี    ทั้งนี้ เพราะทรงต้องการเผยแผ่ธรรมวินัยของพระองค์แด่ชนทุกชั้น  ไม่เลือกไม่แบ่งชั้น-วรรณะ การบันทึกในเบื้องต้นจึงน่าจะบันทึกเป็นบาลี   ซึ่งต่อมามีผู้รู้มาแปลเป็นสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้เฉพาะในวรรณสูงๆ เข่น พราหมณ์ กษัตริย์  การเรียนคัมภีร์พระเวทย์ ก็เรียนเป็นสันสกฤต คนวรรณต่ำซึ่งมักจะไม่รู้สันสกฤตจึงไม่มีสิทธิเรียน

ความจริงภาษาที่บันทึกพระธรรมวินัยยุคแรก ๆ มิใช่มีแต่ภาษาบาลี แต่โดยทั่ว ๆ ไปเราทราบกันเพียงว่า นิกายเถรวาทหรือหินยาน ได้ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาคัมภีร์ แล้วเชื่อมต่อไปว่าภาษานี้เก่าแก่เป็นภาษาของชาวมคธ เรียกว่า มคธภาสาบ้าง มาคธีภาสาบ้าง มูลภาษาบ้าง๑ ตันติภาสาบ้าง เชื่อว่าพระพุทธเจ้า เป็นคนอินเดียเหนือ ตรัสรู้และเสด็จจาริกไปประกาศพระศาสนาในบริเวณแคว้นมคธ คือ รัฐพิหารปัจจุบัน และแคว้น อื่น ๆ ราวเจ็ดชนบท สรุปรวมก็อยู่ในอินเดียตอนเหนือคือรัฐพิหารและอุตตรประเทศในปัจจุบัน

ปัญหาว่า ภาษาบาลี คือภาษาอะไร? และเป็นภาษาของคนพื้นเมืองในแคว้นใดแน่ ก็ยังไม่มีคำตอบที่พอใจของทุกคนได้ เช่นบางท่านบอกว่า บาลีก็คือภาษาปรากฤต ชื่อไปศาจี ซึ่งผู้คนแถบเทือกเขาวินธัย พูดกัน บางท่านว่าคงพัฒนามาจากภาษาของชาวบ้านแคว้นอุชเชนี (หรือ อุชเชน) ในรัฐมัธยมประเทศhttp://www.mcu.ac.th/mcutrai/images/clear.gifบางท่านว่า ภาษาบาลีคือภาษาของชาวบ้านแคว้นกาลิงคะ (แคว้นโอริสสาและอานธระปัจจุบัน) เป็นสถานที่ ๆ คณะพระมหินทเถระ เมื่อจะเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในศรีลังกา หลังสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น หรือคณะชาวพุทธอื่น ๆ ได้พากันมาลงเรือกันที่นั่น แต่มีอีกมติหนึ่งแย้งว่า ภาษาบาลีคือ ภาษาเศารเสนี ตระกูลหนึ่งของภาษาปรากฤตเพราะมีเกณฑ์การออกเสียงและสกดคำเหมือนกัน เป็นต้นhttp://www.mcu.ac.th/mcutrai/images/clear.gifถ้าสรุปแบบกำปั้นทุบดิน ภาษาบาลีก็คือภาษาบาลีหรือภาษามคธ แต่รูปแบบปัจจุบันกับภาษาดั้งเดิมน่าจะไม่เหมือนกันทั้งหมด คงต้องมีการพัฒนากันอยู่บ้างเมื่อนำมาบันทึกคำสอน หรือมาใช้เป็นภาษาคัมภีร์

มีหลักฐานยืนยันว่า นอกจากภาษาบาลีที่นิกายเถรวาทใช้เป็นเป็นภาษาคัมภีร์บันทึกการสอนแล้วนิกายสรวาสติวาท ซึ่งมีความความเก่าแก่ไล่เลี่ยกับเถรวาท ได้บันทึกคำสอนไว้ด้วยภาษาสันสกฤต นิกายสัมมีติยะ ใช้ภาษา อปพรหมศา ขณะที่นิกายมหาสังฆิกะใช้ภาษาปรากฤต

เมื่อพูดถึงภาษาสันสกฤต มีปัญหาอีกเหมือนกัน เช่น ทำไมพระพุทธศาสนานิกายนี้จึงใช้ภาษาสันสกฤตบันทึกคำสอน ในเมื่อพระพุทธเจ้าก็ทรงให้พระสงฆ์เรียนภาษาพระพุทธพจน์ด้วยภาษของตนไม่ยกกล่าวโดยฉันท์ ดูเหมือนพระพุทธเจ้าต้องการให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งประชาชนทุกชั้นวรรณะมีสิทธิเท่าเทียมกันให้การแสวงหาความรู้ ไม่เหมือนกับศาสนาพราหมณ์ หรือฮินดู ซึ่งใช้ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาคัมภีร์ ศึกษากันอยู่เฉพาะชั้นสูง ปิดกั้นมิให้คนในวรรณะต่ำ เช่น ศูทรและจัณฑาลได้ศึกษาเล่าเรียน

ข้อนี้อาจเนื่องด้วยความจำเป็นในการปรับตัวของพระพุทธศาสนา ให้โดดเด่นจนสามารถครองใจคนชั้นสูงของสังคมได้http://www.mcu.ac.th/mcutrai/images/clear.gifภาษาสันสกฤตที่พระพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทใช้นี้ ก็เป็นภาษาสันสกฤตแบบพุทธ คือ สันสกฤตพันทาง (Hybrid Sanskrit) หรือสันสกฤตผสมกับภาษาบาลี (Mixed Sanskrit) มิใช่สันสกฤตมาตรฐาน (Classical Sanskrist) ถ้าเราศึกษาเปรียบเทียบดุดี ๆ กับภาษาบาลีก็คงพอจะเข้าใจ

ส่วนพระไตรปิฏกของฝ่ายมหายาน บันทึกเป็นภาษาสันสกฤต  เพราะไปคัดลอกมาจากฉบับที่แปลแล้วโดยสมณเสวียนจัง (พระถังซัมจั๋งในตำนานไซอิ๋ว) เป็นศาสนาฑูตแต่มี การตัดเติมเพื่อให้เข้ากันได้กับสังคมชาวจีนซึ่งนับถือ เทวดา เซียน ผีเพื่อประโยชน์ในการเผยแผ่พุทธศาสนา

สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพราะอิทธิพลของภาษาที่นิยมใช้ในแต่ละภูมิภาค และแนวคิดทางปรัชญาของอินเดีย ที่อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ยังคงอยู่อย่างแข็งแกร่ง ในช่วงของการสังคายนาครั้งที่ ๔   การนับครั้งสังคายนาที่รู้กันทั่วไป ก็คือ การสังคายนาครั้งที่ ๒ และที่ ๓ ซึ่งทำในอินเดียอันเป็นของฝ่ายเถรวาท กับอีกครั้งในอินเดียภาคเหนือ  ซึ่งพระเจ้ากนิษกะทรงอุปถัมภ์ อันเป็นการสังคายนาผสมรวมเป็น ๔ ครั้ง      แต่ฝ่ายเถรวาทมิได้รับรู้และรับรองเข้าอันดับในการสังคายนาครั้งที่ ๔ นี้  เพราะเป็นการสังคายนาของนิกายสัพพัตถิกวาท ซึ่งแยกออกไปจากเถรวาททำผสมกับฝ่ายมหายาน เพราะการสืบสายศาสนาแยกกันออกคนละทาง ทั้งการสืบต่อ สั่งสอน อบรม ไม่ติดต่อเกี่ยวข้องกัน ตลอดจนภาษาที่รองรับคัมภีร์ทางศาสนาก็ใช้ต่างกัน ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสันสกฤต บางครั้งก็ปนปรากฤต   ส่วนฝ่ายเถรวาทก็ใช้ภาษาบาลี คือ ของเถรวาทหรือศาสนาพุทธ แบบที่ไทย พม่า ลังกา เขมร ลาวนับถือใช้ภาษาบาลี ส่วนของฝ่ายมหายานหรือศาสนาพุทธ แบบที่ญี่ปุ่นและเกาหลีนับถือใช้ภาษาสันสกฤต  ในสมัยที่ตำราภาษาสันสกฤตสาบสูญ ก็มีเฉพาะคัมภีร์ที่แปลเป็นภาษาจีนและภาษาธิเบตเป็นหลัก แล้วมีผู้แปลภาษาอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นอีกต่อหนึ่ง[1] 

อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวถึงเถรวาท ก็มิได้มีเพียงเถรวาทกลุ่มที่ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาบันทึกคัมภีร์ อย่างที่ยอมรับนับถือกันในไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา แต่ยังมีเถรวาทสายอื่นๆ ที่ใช้ภาษาปรากฤต และภาษาสันสกฤต  ที่ใช้กันอยู่ในพระพุทธศาสนนา เช่น สรรวาสตวาทิน มูลสรรวาสติวาทิน มหีสาสกะ   มาหาสางกิหะ ธรรมคุปตะ ฯลฯ ในส่วนที่เรียกว่ามหายาน ก็มิได้มีเพียงพวกเดียว แต่มีหลายกลุ่มหลายพวกแยกส่วนกัน ตามความคิดทางปรัชญาบ้าง ความเชื่อส่วนอื่นๆบ้าง ลางครั้งก็เรียกว่าฝ่ายเหนือ เพราะเจริญทางเหนือของอินเดียไปจนถึงจีนถึงมองโกเลีย ส่วนเถรวาทบาลีมักเรียกกันว่าฝ่ายใต้ ด้วยเหตุที่มาจากทางใต้ของอินเดีย 

ประวัติการใช้ภาษาสันสกฤตในพุทธศาสนาปรากฏครั้งแรกในการทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ซึ่งทำเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ราว ๖๔๓ ปี (บางแห่งว่า ๖๙๖ ปี) การสังคายนาครั้งนั้นมีพระเจ้ากนิษกะเป็นองค์อุปถัมภ์ โดยการแนะนำของพระปารัศวะ ในนิกายสรวาสติวาทิน การสังคายนามีขึ้นที่ทำที่วัดกุณฑลวันวิหาร แคว้นกัศมีร์ (บางแห่งว่าที่วัดกุวนะ เมืองชาลันธร) มีการประชุมสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระปารัศวะเป็นประธาน (แต่หนังสือบางเล่มกล่าวว่า พระวสุมิตรเป็นประธาน) เพื่อป้องกันการสูญหายของพระธรรมวินัย เพื่อกำจัดความขัดแย้งภายในคณะสงฆ์ ๑๘ นิกาย

ในการสังคายนาครั้งนี้ได้มีการจารึกคัมภีร์พระไตรปิฎกเป็นภาษาสันสกฤตครั้งแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นครั้งแรกที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร จารึกลงในแผ่นทองแดงแล้วบรรจุลงในพระเจดีย์ แล้วสร้างสถูปใหญ่รักษาไว้อย่างมั่งคง หลังจากนั้นพระองค์สั่งพระธรรมทูคออกเผยแพร่สู่เอเชียกลาง จนพุทธศาสนาเจริญอย่างรวดเร็ว 

 ในยุคนี้ วรรณกรรมสันสกฤตของฝ่ายศาสนาพราหมณ์มีบทบาทโดดเด่นมาก วรรณกรรมต่างๆที่ใช้ภาษาสันสกฤตจารึกจะได้รับความสนใจและน่าเชื่อถือในวงวิชาการยุคนั้น และยุคต่อๆมา พุทธศาสนามหายานต้องเผชิญกับปัญหานี้จึงได้เขียนงานวรรณกรรมต่างๆโดยภาษาสันสกฤต ภูมิหลังของภาษาสันสกฤตก็มีที่มาที่เกี่ยวข้องกับคัมภีร์พระเวทอยู่แล้ว จึงทำให้เป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้นต่อวรรณกรรมทั้งหลาย            อีกประการหนึ่งของการจารึกคัมภีร์โดยใช้ภาษาสันสกฤต อาจเนื่องด้วยความจำเป็นในการปรับตัวของพระพุทธศาสนา ให้โดดเด่นจนสามารถครองใจคนชั้นสูงของสังคมได้ มหายานจึงใช้ภาษาสันสกฤตในการจารึกคัมภีร์ มหายานเป็นพวกก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลง มองพระพุทธพจน์ในแง่ปรัชญา วิพากษ์วิจารณ์ความหมายพระพุทธพจน์ไปในแง่ต่าง ๆ ตามความคิดของบุคคลแต่ละบุคคล ปรับปรุงธรรมวินัยไปตามกาลเทศะ เพื่อความเหมาะสมแก่ประชาชนและสิ่งแวดล้อม ส่วนเถรวาท ยึดมั่นอยู่ในธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าตามแบบเดิมตั้งแต่ครั้งปฐมสังคายนา ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ยกพระธรรมวินัยไว้ในฐานะอันสูงส่งและศักดิสิทธิ์ แม้พระไตรปิฎกก็ไม่เปลี่ยนแปลง คงรักษาของเดิมซึ่งเป็นภาษามคธเอาไว้เป็นหลักเป็นธรรมนูญของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ใครจะแปลเป็นภาษาอะไรก็แปลไป แต่ไม่ทิ้งของเดิมคงรักษาของเดิมภาษามคธเป็นหลัก

มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่าคัมภีร์ของมหายานเขียนขึ้นด้วยภาษาสันสกฤต แต่ก็มิใช่สันสกฤตแท้ หากเป็นภาษาสันสกฤตที่ปะปนกับภาษาปรากฤตตลอดจนบาลีและภาษาท้องถิ่นอื่นๆ คัมภีร์เหล่านี้สันนิษฐานว่า เป็นพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้าง คำสอนพระโพธิสัตว์บ้าง ทวยเทพต่างๆ บ้าง 

๑.๓ อิทธิพลภาษาสันสกฤตในภาษาไทย

ในบรรดาภาษาต่างประเทศที่มีอิทธิพลต่อภาษาไทยมากที่สุด คือ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต คำยืมในภาษาไทยที่ยืมมาจากทั้งสองภาษานี้ เป็นคำที่มีใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาบาลีเข้ามาทางศาสนาพุทธ ส่วนภาษาสันสกฤตเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์และวรรณคดีเรื่องมหาภารตะและรามายณะ

ลักษณะคำไทยที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีหลักสังเกตดังนี้

  • มักเป็นคำหลายพยางค์ เช่น กษัตริย์ พฤกษา ศาสนา อุทยาน ทัศนะ ฯลฯ
  • ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐา ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้

๒.     ตัวสะกดมักไม่ตรงตามมาตรา เช่น เทวัญ เนตร อากาศ พิเศษ อาหาร ฯลฯ

๓.     นิยมมีตัวการันต์ เช่น กาญจน์ เกณฑ์ มนุษย์ สัมภาษณ์ อาทิตย์ ฯลฯ

๔.   ประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ภ ศ ษ ฤ ฤๅ เช่น พยัคฆ์ อัชฌาสัย กฎ ปรากฏ สัณฐา ครุฑ วัฒนา เณร โลภ ศึกษา บุรุษ ฤทัย ฯลฯ ยกเว้น ฆ่า เฆี่ยน ฆ้อง ศอก ศึก เศิก เศร้า ทั้งหมดนี้เป็นคำไทยแท้ 

อ้างอิงข้อมูลจาก

[1] (คัดลอกบางตอนจาก : การสาธยายพระไตรปิฎกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐, กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, หน้า ๒๗ และ ๓๐)

https://th.wikipedia.org/wiki/... เข้าถึงข้อมูล  ๒๐  ธันวาคม  ๒๕๖๐

ธวัชชัย  ดุลยวิจิตร, ภาษาสันสกฤตง่ายนิดเดียว , https://www.gotoknow.org/blog/... เข้าถึงข้อมูล ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐

ผศ.ดร.อภิชาญ  ปานเจริญ , เอกสารประกอบการสอน ภาษาสันสกฤต ๑, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. ๒๕๒๒

หมายเลขบันทึก: 644127เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2018 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มกราคม 2018 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท