เชื่อมโยงกิจวัตรสู่ธุรกรรมทางธุรกิจ


ประสบการณ์ที่พบและการวิเคราะห์เรื่องราวของผู้ใช้ที่ดีและเหมาะสม เป็นปัจจัยสำเร็จของการออกแบบสินค้าหรือบริการในยุคนี้

สมัยนี้จะคิดจะทำอะไรก็คงต้องนึกถึงผู้ใช้เป็นหลัก (Customer Centric) หนึ่งในวิธีการพิจารณาความจำเป็นและแนวโน้มที่จะได้รับการตอบสนองจากผู้ใช้ที่ดี คือ การวิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience) ในแง่ของเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ลูกค้าจะต้องเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ (Customer Journey) ก็สามารถช่วยเพิ่มมิติของการพิจารณาเช่นกัน กล่าวได้ว่า ประสบการณ์ที่พบและลำดับเรื่องราวของผู้ใช้ที่ดีที่เหมาะสม เป็นปัจจัยสำเร็จของการออกแบบสินค้าหรือบริการในเชิงคุณภาพนั่นเอง แล้วอะไรหละ ที่สามารถเชื่อมโยงกิจวัตรประจำวันของพวกเขาเหล่านั้นสู่โอกาสทางธุรกิจได้ ผมขอยกตัวอย่างอะไรที่ดูง่ายๆ และมีอยู่แล้ว ดังนี้

บทความ (Article) - เรื่องราวข่าวสารที่ติดตาม รับรู้ในชีวิตประจำวันมีหลากหลายรูปแบบ บทความก็เป็นทั้งต้นทางให้ช่องทางสื่อสารอื่นนำไปสื่อความต่อ และเป็นปลายทางที่ให้ผู้อ่านมารับข่าวสารได้โดยตรง

งาน (Job) - ทุกคนต้องการเงิน ต้องกินต้องใช้ และงานคือคำตอบหากไม่นับโชคลาภที่ได้มาแบบฟรีๆ แท้จริงแล้วทุกคนทำกิจกรรมที่เกิดงานอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ไม่นิยมนับกิจกรรมที่ไม่ได้เงินว่าเป็นงานเท่านั้นเอง

เหตุการณ์ (Event) - ทุกคนต้องผ่านสิ่งที่เรียกว่าเหตุการณ์ มันเป็นองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมรอบตัวที่เราต้องพบเจอ ตอบยากว่าเราผ่านมาแล้วเท่าไร แล้วต้องเผชิญอีกมากเพียงใด แต่ถ้าจับเหตุการณ์สำคัญที่มีนัยต่อคุณค่าของการใช้ชีวิตและบริหารจัดการมันได้ ผมก็ตอบไม่ได้อีกเช่นกันว่ามูลค่าที่มีต่อคุณจะเพิ่มมากขึ้นสักเท่าไร แต่เข้าใจใช่ไหมว่ามันจะเพิ่ม

สนับสนุน (Support) - ทุกคนเกิดมาย่อมมีจุดแข็งกับจุดอ่อน ขณะที่ช่วงเวลาหนึ่งบางคนมีปัญหา บางคนมีทางออก แต่ไม่ใช่ทุกครั้งที่ทุกคนจะมีทั้งสองสิ่งตรงข้ามที่คู่กันนี้ ในช่วงเวลาเดียวกัน เพื่อหักล้างให้ชีวิตราบรื่น ทำอย่างไรให้คนมีทางออกมาช่วยคนมีปัญหา หรือนำพาจุดแข็งของคนๆ หนึ่งมาเติมเต็มจุดอ่อนของอีกคนหนึ่ง

แบบสำรวจ (Poll) - ความคิดเห็นจากผู้คนมีอยู่ทั่วไป การดึงประเด็นเพื่อสกัดความคิดเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่ควรได้รับการสนับสนุน ด่านแรกของการกระชากความคิดเห็นจากผู้คนคงหนีไม่พ้นการตั้งคำถามที่ดีอย่างเป็นระบบ

ผลผลิต (Product) - ซึ่งก็ได้แก่ สินค้าและบริการต่างๆที่จับต้องได้หรือไม่ได้ไม่ว่ากัน แต่จะมีประโยชน์ อยู่ถูกที่ถูกเวลาได้อย่างไร เป็นงานที่ท้าทายจากอดีต ปัจจุบัน รวมถึงอนาคต

โครงการ (Project) - กิจกรรมอะไรที่มีความต่อเนื่อง ส่งต่อผลลัพธ์ระหว่างทางไปสู่เป้าหมายร่วมกัน มีเวลาเริ่มต้น เวลาสิ้นสุด ก็นับได้ว่าเป็นการดำเนินโครงการ ใช้ได้ทั้งกับงานเป็นทีมหรือประยุต์ใช้เป็นการส่วนตัวก็เก๋ไก๋ใช่เล่น ความสนุกของมันอยู่ที่การได้เล่นแร่แปรธาตุกับเงินทุน คน งาน และทรัพยากรต่างๆอย่างครบครัน

ทั้งนี้ จงอย่าลืมว่าประสบการณ์ที่พบและการวิเคราะห์เรื่องราวของผู้ใช้ที่ดีและเหมาะสม เป็นปัจจัยสำเร็จของการออกแบบสินค้าหรือบริการในยุคนี้ กิจวัตรที่ยกมาข้างต้นก็คงต้องใช้หลักเดียวกันเพื่อให้เกิดคุณภาพที่ดีต่อไป


อ้างอิง : Thanakrit.net

หมายเลขบันทึก: 644014เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2018 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2018 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท