OELE ไม่ใช่ OLE



หนังสือ ศาสตร์และศิลป์ของการสอน () สื่อภาพใหญ่ว่า O กับ E ใน OLE (Objective, Learning Experience, Evaluation) เป็นสิ่งเดียวกัน    ไม่ใช่แยกกันอย่างที่เข้าใจผิดกันมานาน   

 O เป็นภาพเชิงนามธรรม   ต้องการภาพที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมจับต้องได้ คือ E  ที่เขียนเป็นตารางหรือ rubric บอกว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังมีกี่ด้าน แต่ละด้านมีระดับความเข้มข้นอย่างไร     แล้วทั้งครูและศิษย์ใช้เป็นแนวทางของการเรียนการสอน   

L ยุคศตวรรษที่ ๒๑ ต้องเป็น activity-based learning ตามด้วย reflection    ซึ่งสามารถหยิบเอาประเด็นจาก E rubric มาทำ reflection ได้    และในช่วง L มีการนำเอา E rubric มาใช้ตรวจสอบติดตามผลการเรียนรู้ ที่เรียกว่า formative assessment   สำหรับครูใช้ผลของ FA ในการให้ constructive feedback แก่ศิษย์ทั้งชั้น และเป็นรายคน

E ตัวสุดท้ายใน OELE คือ summative evaluation   เพื่อบอกว่านักเรียนแต่ละคนบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่    บรรลุในระดับใด

ตามอุดมกาณ์ของการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ นักเรียนทุกคนต้องบรรลุในระดับ mastery   และต้องไม่ใช่แค่บรรลุผลลัพธ์ด้านวิชาเท่านั้น    ต้องบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ ครบทั้ง ๔ หมวดคือ ด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ด้านความรู้  ด้านสมรรถนะ  และด้านบุคลิกหรือคุณลักษณะ   

วิจารณ์ พานิช

๘ ม.ค. ๖๑


 

หมายเลขบันทึก: 644008เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2018 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2018 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท