กิจกรรมบำบัดสู่ภูมิคุ้มกันทางใจ


ภูมิคุ้มกันทางร่างกายเชื่อว่าทุกคนได้รับตั้งแต่เกิด แต่ภูมิคุ้มกันทางจิตใจนั้น คงไม่มีวัคซีนตัวไหนที่จะมาสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีไปกว่าการฝึกจิตใจให้พร้อมรับกับสถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน โดยสามารถฟื้นฟูสภาพจิตใจได้เร็ว ไม่จมอยู่กับความทุกข์เหล่านั้นนานเกินไป และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต  ซึ่งสิ่งนี้ เรียกว่า “Resilience Quotient” หรือภูมิคุ้มกันทางจิตใจ

สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่ดีนั้นสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เนื่องจากภูมิคุ้มกันทางจิตใจ นั้นสามารถสร้างได้ด้วยหลัก I have I can และ I am ตามช่วงวัยดังนี้ 
1.ช่วงก่อนเข้าเรียน คือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนเข้าเรียน จะต้องทำให้เด็กมี I have คือ ต้องให้เขารู้สึกว่ามีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีชีวิตอยู่ อย่างเวลากลัวก็ต้องมีคนปลอบ
 2.ช่วงเข้าโรงเรียน จะต้องสอนเขาด้วย I can คือฉันสามารถควบคุมทุกอย่างได้ เช่น คุมการขับถ่ายเองได้ คุมมัดกล้ามเนื้อได้ คือ เดินได้ วิ่งได้ ผูกเชือกรองเท้าเองได้ เป็นต้น 
 3.ช่วงวัยรุ่น ต้องสอนด้วย I am คือ ฉันเป็นใคร มีความสามารถหรือไม่สามารถเรื่องใด มีจุดเด่นเรื่องอะไร คือต้องรู้จักตัวเอง
       
       เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายๆที่ไม่คาดฝันขึ้นการที่จะฟื้นฟูจิตใจได้เร็วจะต้องอาศัยหลัก 4 ปรับ 3 เติม คือ
 1.ปรับอารมณ์ ให้รับรู้ว่าเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง แล้วเรามีอารมณ์แบบใด โดยต้องรีบปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติ
 2.ปรับความคิด เช่น บางคนสูญเสียครอบครัว อาจจะรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ตรงนี้ต้องปรับความคิดว่า เราจะต้องเป็นตัวแทนของคนในครอบครัวที่จะดำเนินชีวิตต่อไปแทนพวกเขา 
3.ปรับพฤติกรรม เช่น หันมาทำหรือดูแลในสิ่งที่พ่อแม่ครอบครัวยังทำไม่สำเร็จ และ
 4.ปรับเป้าหมายของชีวิต เช่น หากสูญเสียคนรักที่กำลังจะแต่งงานด้วย หากยังต้องการที่จะมีครอบครัว ก็ต้องตั้งเป้าหมายใหม่ว่ายังมีคนอื่นอีกที่ยังสามารถมาสร้างครอบครัวร่วมกับตนได้ 

ส่วน 3 เติม ได้แก่
 1.เติมศรัทธา โดยอาศัยสิ่งยึดเหนี่ยวต่างๆ ทางจิตใจ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา 
2.เติมความสัมพันธ์ คือ เมื่อเวลาทุกข์ก็มีคนคอยช่วยเหลือเป็นกำลังใจ และ 
3.เติมใจให้เข้มแข็ง

นอกจากจะมีหลักเหล่านี้แล้วการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ตามวัย ก็มีผลต่อภูมิคุ้มกันทางใจอีกด้วย เพราะผู้ที่มี EQ ตามวัยจะเกิดความสงบนิ่งและมีสติที่จะคิดแก้ปัญหาและหาทางออกให้กับตัวเอง ถ้าหากผู้ที่เกิดวิกฤตทางจิตใจหรือผู้มีภูมิคุ้มกันทางใจต่ำ มีกำลังใจไม่พอในการฟื้นฟูจิตใจให้กลับมาเป็นเช่นเดิม คนรอบข้างหรือคนใกล้ชิดจะต้องช่วยเติมพลังใจให้เขาด้วยเช่นกัน
   
สรุปคือ RQ เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคลที่ทำให้สามารถรับมือกับหตุการณ์ร้ายๆที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันได้ มีองค์ประกอบสำคัญ อยู่ 3 เรื่อง คือ อึด-ฮึด-สู้ กล่าวคือ
อึด คือ มีความเข้ม แข็งทางจิตใจ สามารถทนทานต่อภาวะกดดันได้ดี จัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม ควบคุมอารมณ์ได้ยิ้มสู้กับทุกสถานการณ์

ฮึด คือ มีศรัทธาและกำลังใจท่ีดี เชื่อว่าส่ิงเลวร้ายต่างๆ จะผ่านพ้น ไปได้ สามารถให้กำลังใจ ตัวเองและได้รับกำลังใจจากคนรอบข้าง

สู้ คือ สามารถต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคอย่างชาญฉลาด มีทักษะในการแก้ไขปัญหาดี สามารถหาทางออกได้

อ้างอิง
http://www.happyhomeclinic.com...
 
http://www.manager.co.th/QOL/V...   


หมายเลขบันทึก: 643411เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2017 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท