TRIPS-PLUS มาตรฐานที่เพิ่มขึ้นในทรัพย์สินทางปัญญา


มารู้ที่มากันก่อนดีกว่า
          TRIPS-PLUS  เป็นปรากฎการณ์ที่สะท้อนให้เห็นซับซ้อนขึ้นว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูงได้ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญามากว่ามาตรฐานขั้นต่ำของความตกลง TRIPs  เพื่อสนับสนุนการค้าของตนและเพื่อเป็นการตอบสนองกับการพัฒนาในยุคดิจิตอล  และประเทศเหล่านี้ได้พยายามริเริ่มให้มีการเพิ่มมาตรฐานการคุ้มครองแก่สิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาให้สูงขึ้น  ไม่ว่าจะโดยการบัญญัติไว้ในความตกลงระดับทวิภาคี  ภูมิภาค หรือพหุภาคีก็ตาม  แต่ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายก็ได้คัดค้านการให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระดับสูง  เนื่องจากความไม่พร้อมทางด้านเศรษฐกิจ  ประกอบกับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยยังได้ประโยชน์ในการลดหย่อนผ่อนปรนในการปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งความตกลง TRIPsได้[1]             ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นแนวหน้าของประเทศที่พัฒนาแล้วในการแสวงหาความคุ้มครองแก่สิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาในระดับสูงจากประชาคมโลกโดยพยายามสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นใหม่  เพื่อขยายมาตรฐานขั้นต่ำของความตกลง TRIPs ที่เรียกว่า TRIPS-PLUS  Provisions เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว  ความตกลงระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาคทั้งหลายที่สหรัฐอเมริกาได้ทำขึ้น  จะมีบทบัญญัติเรื่อง TRIPS-PLUS  คือให้ความคุ้มครองแก่สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระดับสูงทั้งสิ้น  ซึ่งประกอบไปด้วย  การขยายความคุ้มครองแก่ลิขสิทธิ์  เครื่องหมายทางการค้า  และสิทธิบัตร  การกำหนดให้ประเทศคู่ภาคีต้องให้สัตยาบันแก่ความตกลงระหว่างประเทศที่คุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นภาคีอยู่ด้วย  การจำกัดมาตรการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา            TRIPS-PLUS คือนโยบายและกระบวนการสร้างนโยบายซึ่งมีพันธกรณีเพิ่มขึ้นจากมาตรฐานขั้นต่ำของความตกลง TRIPs  มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ  ปรากฎอยู่ในความตกลงเขตการค้าเสรี สนธิสัญญาทวิภาคีว่าด้วยการลงทุน  ความตกลงการร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิจัย  ความตกลงช่วยเหลือและพัฒนาเทคนิค  เนื่องจากความตกลงเหล่านี้ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนและเป็นการเจรจาที่อิสระไม่จำดัดภายใต้องค์การการค้าโลก  ประเทศที่พัฒนาแล้วจึงมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา  ดังนั้นมาตรฐานทางทรัพย์สินทางปัญญาลักษณะนี้อนาคตอาจเป็นมาตรฐานอย่างใหม่ของการคุ้มครองสิทธิในทางทรัพย์สินทางปัญญาของโลกก็เป็นได้  


[1] อรพรรณ  พนัสพัฒนา,ประเด็นใหม่เรื่องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี,วารสารกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
หมายเลขบันทึก: 64273เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2006 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท