กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเป็นเพียงแค่พิธีกรรมหรือไม่?


กระบวนการรับฟังความคิดเห็นเป็นเพียงแค่พิธีกรรมหรือไม่?

Capture 

อ.รัฐพล:
รัฐบาลเปลี่ยนไปเรื่อยๆ กระบวนการรับฟังก็เปลี่ยนไป
เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป

งานรับฟังความคิดเห็น จัดปีละหนึ่งครั้ง
ไปจดบันทึก เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอระดับประเทศ เสนอคณะอนุกรรม เป็นภาระเยอะ 

"น่าเบื่อ" ต้องเสียเวลา ต้องไปฟังข้อเสนอ หลายเรื่องน่าสนใจ หลายเรื่องเป็นข้อเสนอที่ไม่ต้องจัดรับฟังก็ได้

มีความสลับซับซ้อน หลายมิติ หลายมุม ข้อมูลได้มาอย่างสะเปะสะปะ ไม่มีการรวบรวมหมวดหมู่อย่างเป็นระบบ 

กระบวนการสมัชชา พยายามทำให้เป็นระบบระเบียบมากขึ้น ข้อเสนอถูกจัดเป็นระบบระเบียบ

เมื่อเป็นพิธีกรรมไม่ทำได้ไหม "ไม่ได้" สปสช.ถูกออกแบบออกมาเป็นการจัดการเชิงระบบ 

"การปะทะความรู้สึกอย่างไร" ความต้องการของประชาชนมีสูงกว่าที่จะรองรับได้ เมื่อไม่ได้ตามความต้องการ ความขัดแย้งก็ก็เกิดขึ้น เช่น มีบัตรเดียวไปได้ทุกที่ อยากได้รับบริการที่มากขึ้น ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่มีความต้องการเกินความจำเป็น

"ถ้าคุณอธิบายให้มันเข้าใจง่ายไม่ได้คุณก็เข้าใจมันไม่ดีพอ"
"มีแต่คนบ้าเท่านั้นที่จะทำสิ่งเดิมซ้ำๆ แต่กลับหวังผลลัพธ์ที่แตกต่าง"
อัลเบิรต์ ไอสไตล์
"ถ้าเราไม่สามารถอธิบายกระบวนการรับฟังอย่างง่ายๆ ให้ประชาชนเข้าใจได้ง่าย นั่นสะท้อนว่าเรายังไม่เข้าใจมันมากพอ"

"เราอยากเปลี่ยนจากภาระเป็นการพาไปสู่เป้าหมาย"
"ความน่าเบื่อเปลี่ยนไปสู่ความน่าหลงใหล" ทั้งหมดนี้ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยาก
"ทำให้ไม่ซับซ้อน เป็นระบบระเบียบมากขึ้น"
"กระบวนการรับฟังความคิดเห็นอยากให้เป็นกระบวนการ R&D" ผ่านกระบวนการคิด การฟังที่หลากหลายรูปแบบ 

อ.กรรณิการ์
"การเข้าถึงการรักษาของแรงงานข้ามชาติที่ญี่ปุ่น"
"เกษตรกรรวมตัวกัน เนื่องจากพื้นที่อยู่ไกล ไม่สามารถเข้าถึงการรักษา มีคลินิคเล็กๆ ตามจุดต่างๆ ทุกสามเดือนจะมีการประชุมร่วมกับโรงพยาบาล มีตัวแทนประชาชนมาร่วมแสดงความคิดเห็น ว่ามีอะไรต้องปรับปรุง เช่น พยาบาลยิ้มน้อยไป"
"โรงพยาบาลเกิดจากการสร้างร่วมกัน ประชาชนจะรู้สึกความเป็นเจ้าของสูง อยากจะเห็นโรงพยาบาลที่ดีขึ้น ถ้ามีอะไรที่ปรับปรุงได้อีกนิดมันก็จะดีขึ้น"
"การรับฟังความคิดเห็น มันดูเป็นพิธีกรรม และดูเหมือนน่าเบื่อแต่เมื่อไปดู พรบ.จะเห็นว่าเบื้องหลังมีทุกเรื่องอยู่นิ่งไม่มีการพัฒนาไม่มีการรับฟังความคิดเห็นคุณจะตาย จึงต้องมีการพัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมของผู้คน เรื่องราวคือส่วนหนึ่งของฉัน ฉันเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราว"

"บัตรทอง ทำอย่างไร เมื่อเราเห็นเป็นพิธีกรรม เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ สร้างการรับฟังเป็นเรื่องที่สามารถเป็นเกราะป้องกันนำสู่การพัฒนา เสียงได้ยินมากขึ้น เรื่องพื้นๆ ยังต้องฟัง เรื่องที่รับฟังต้องนำไปสู่ประเด็นการแก้ปัญหาและการพัฒนา" 

"เมื่อเปิดเวทีการรับฟังจะเห็นความต้องการที่เกินความจำเป็นมาจากฐานของความไม่เข้าใจหรือเปล่า การคืนข้อมูลและการอธิบายเป็นเรื่องที่เราจะต้องทำ" "ประเด็นไหนที่ทำไม่ได้ เราจะต้องอธิบายอย่างไร"

"ลักษณะเด่นของวิธีการของสมัชชา คือ การให้เสนอประเด็น เสนอวาระ"
"ข้อเสนอต้องมีพื้นฐานข้อมูลสนับสนุน และนำไปสู่การพัฒนา และชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ" (อาจนำไปสู่การเกิด PDCA) 

ทำให้เห็นกระบวนการพัฒนา ไม่เป็นพิธีกรรม 

อ.ปรีดา
"พิธีกรรมรับฟังความคิดเห็น คล้ายเป็นพิธีทางไสยศาสตร์ไหม"
"กฏหมายกำหนดไว้ คนเป็นคนเขียน ตั้งใจให้เกิดอะไร จึงเขียนกฏหมายนี้ ต่อมากฏหมายมากำหนดเรา"
"การรับฟังความคิดเห็นคล้ายจัดงานเลี้ยง เราก็มารับฟัง(มาร่วมบุปเฟ่ต์) ได้ระบาย เสร็จแล้วก็กลับบ้าน ที่เหลือไม่กี่คนก็ร่วมผิดชอบ"
"จะทำอย่างไร ไม่ให้เป็นภาระคนใดคนหนึ่งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำอย่างจึงจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม" 
"สมัชชา มาร่วมกันคิด ไม่ต้องรอใคร แต่มาช่วยกันคิด"
"ถ้าจะเจอปัญหาเรื่องเสียดทาน ความเป็นกัลยาณมิตรจะช่วยคลี่คลาย ทำอย่างไรลดแรงเสียดทาน ลดแรงปะทะ"
"การคุยกันและรับฟังกันทำให้เกิดการมีส่วนร่วม "
"หลายสิ่งหลายอย่างอาจจะไม่ง่าย ในเขตกำหนดความคิด เรามองเรื่องนี้อย่างไร ส่วนกลางมองปัญหาอย่างหนึ่ง ส่วนเขตมองปัญหาอีกอย่างหนึ่ง"
"การรับฟังความคิดเห็นต้องเป็นอะไรมากกว่าการมานั่งชิมอาหาร แล้วติ แล้วแยกย้าย

บทสรุป
"เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความหลงใหล
เกิดการมีส่วนร่วม ที่มาจากความศรัทธา"

ปุจฉา-วิสัชนา
2-3 ตุลาคม 2560


<p></p>

คำสำคัญ (Tags): #KMUC#KM Hearing
หมายเลขบันทึก: 641594เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017 11:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017 11:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท