ประวัติพระอภิธรรม ๒


            พระอภิธัมมิตถสังคหะคืออะไร ประมาณ ปี พ.ศ. ๑๒๐๐ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่นหนึ่มีนามว่ พระอนุรุทธเถระ เป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองทัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรมอยุ่ทีสำนักวัดตุมูลโสมาราม ประเทศลัก จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญืทางพระอภิธรรมท่านหึ่ง ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผุ้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎกซึ่งเป้นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ่งมากนั้นให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจำ ด้วยความมุ่งเหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกาพรอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎกท้ง ๗ คัมภีร์ มาเป็นหลักการเรียบเรียบพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

            อภิธรรมถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์วึ่งรวบรวมเนื้อความของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันแปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรมแบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท กล่าวคือ

          ปริเฉทที่ ๑ จิตตสังคหวิภาค แสดงเรื่อง ธรรชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งดดย่อและโยพิสดาร ทำให้เข้ใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิ อกุศลจิด วิบาก จิต กิริยาจิต มหัคคตจิต แลโลกุตรจิต

          ปริเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิเพื่อปรุงต่างจิต มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ทุกประเภท เจตสิกฝ่ายกุศล และเจติกฝ่ายอกุศล

          ปริเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค แสดงการนำจิตและเจตสิกมาสัมพัน์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความรู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว(เหตุ)  หน้าที่ของจิต(กิจ) ทางรับรู้ของจิต(ทวารูป สิงที่จิตรู้(อารมณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ)

           ปริเฉที่ ๔ วิถีสังคหวิภาค แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิตที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ  เมื่อศึกษาปริเฉทนี้แล้วจะทำให้รู้กระบวนการทำงานของจิตทุกประเภทบุญบาปได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถี จิตนี้เองก่อนที่จะเกิดจิตบุญหรือจิตบาป มีจิตขณะหนึงเกิดก่อน คอยเปิด ประตูให้เกิดจิตบุญเหรือจิตบาป จิตดวยนี้เกี่ยข้องกับ โยนิโสมนสิการ หากเราเข้าใจก็จะมีประโยชน์การป้องกันมิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้

               ปริเฉทที่ ๕ วิธีมุตตสังคหวิภาค แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย (จิตุ) และขณะ เกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่วถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภุมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ ขณะเวลาใกล้จะตายภาวะจิตเป็นอย่างไร ครวางใจอย่าไรจึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี พระพุทธองค์ทรงอธิบยไว้อย่างชัดเจนว่าตายแล้วต้องเกิดทันที มิใช่ ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบาย เรื่องของกรรม ลำดับแห่งการให้ผลของกรรมไว้อยางละเอียดลึกซึ้ง

            ปริเฉทที่ ๖ รูปสังคหวิภาค และนิพพาน แสดงองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์และสิ่งีชิวิตทั้งหลาย คือ เรืองของรูป ร่างกาย (รูปธรรม) และอธิบายถึงสมุฎฐาน(เหตุ) ในกการเกิดรูปต่าง ไว้อย่างละเอียดพิสดาร

            ปริเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค แสดงธรรมฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ ในสภาวะความเป็นจริงแล้วกุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสับเปลี่ยนกันอยู่ตลาดเวลา ส่นจะเกิดจิตชนิดไหนมากน้อยเพียงใดน้นย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรมและจริยธรรมของแต่ละบุคคล

            ปริเฉท ๘ ปัจจยวังคหวิภาค ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย

             ปริเฉทที่ ๙ กล่าวถึงความแตกต่างของสมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน 

             - อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ม.มหาจุฬาฯ หน้า ๒๐

หมายเลขบันทึก: 641329เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2017 08:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท